ผู้ส่งออกไทยตื่นตัวร่วมสัมมนา U.S. Trade Polic เพื่อปรับกลยุทธ์การค้า

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--28 ก.ย.--กรมการค้าต่างประเทศ

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ตามที่กรมการค้าต่างประเทศ ได้ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน จัดสัมมนาเรื่อง “U.S. Trade Policy : Implications for Thai Exports ” ระหว่างวันที่ 18 -19 กันยายน 2550 ณ ห้องบางกอกคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ โดยได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกา (DOC) มาเป็นวิทยากรร่วมบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ฉบับใหม่ เช่นการให้สิทธิพิเศษทางการค้า (GSP) กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (IPR) มาตรการ AD และ CVD แก่ผู้ส่งออกไทยที่สนใจและมีการเปิดคลินิกให้คำแนะนำในการทำธุรกิจกับสหรัฐฯ สรุปผลการสัมมนาได้ ดังนี้ 1. ภาพรวมของการค้าสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญอันดับหนึ่งของไทย มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน ในปี 2549 สูงถึง 30.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าป้อนสหรัฐฯ เป็นอันดับที่ 18 สินค้าที่มีศักยภาพของไทยเป็นสินค้าเกษตร ได้แก่ กุ้งแช่เย็น/แช่แข็ง อาหารทะเล ข้าว เป็นต้น ปัจจุบันสหรัฐฯ ได้ให้สิทธิพิเศษฯทางการค้า (GSP) แก่ไทย ซึ่งได้ต่ออายุไปจนถึง 31 ธันวาคม 2551 ไทยใช้สิทธิ GSP เป็นอันดับ 3 รองจากแองโกล่า และอินเดีย โดยในปี 2549 สหรัฐฯ ตัดสิทธิ GSP สินค้าของไทย 3 รายการ คือ อัญมณีและเครื่องประดับที่ทำด้วยโลหะมีค่า เม็ดพลาสติก และโทรทัศน์สี ซึ่งสหรัฐฯ จะเปิดโอกาสให้ยื่นคำร้องขอคืนสิทธิได้ภายในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2550 สำหรับนโยบายการค้าสหรัฐฯ ฉบับใหม่ เน้นให้ความสำคัญกับการจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) ซึ่งปัจจุบันได้ทำแล้วเสร็จจำนวน 15 ฉบับ กับ 20 ประเทศ และล่าสุดได้ลงนามกับเกาหลีใต้ และอยู่ระหว่างรอผลการอนุมัติจากสภาอีก 2 ฉบับ คือเปรู และปานามา ในส่วนของไทยได้เริ่มจัดทำเขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯ มาตั้งแต่ปี 2547 และได้หยุดชะงักการเจรจาไปเมื่อต้นปี 2549 ซึ่งสหรัฐฯ คาดว่าน่าจะเจรจาต่อได้ เมื่อไทยจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่แล้วเสร็จ ส่วนประเด็นการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (U.S. Intellectual Property Rights (IPR) Policy) สหรัฐฯ ถือว่าเป็นขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของทุกประเทศ การปลอมแปลงและละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปีละ 200 -250 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สหรัฐฯ จึงดำเนินนโยบายการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเคร่งครัด 2. ระบบมาตรฐานของสหรัฐฯ เป็นระบบมาตรฐานสมัครใจโดยจะพัฒนาตามเงื่อนไข ของตลาด ซึ่งสหรัฐฯ มีหน่วยงานกำหนดมาตรฐานอยู่หลายแห่งและยังได้ร่วมมือกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของไทยด้วย การกำหนดมาตรฐานสินค้าเป็นการให้ความคุ้มครอง และสร้างความมั่นใจแก่ประชาชน และอาจเป็นการกีดกันทางการค้าได้อีกทางหนึ่งด้วย 3. พิธีการศุลกากรของสหรัฐฯ ปัจจุบันได้พัฒนาโครงการ Custom –Trade Partnership Against Terrorism ขึ้น เพื่อป้องกันภัยจากการก่อการร้าย ที่อาจมาพร้อมกับการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากคู่ค้ากว่า 6,000 แห่ง ส่งผลให้จำนวนการสุ่มตรวจ ณ ด่านนำเข้าลดลง และได้จัดตั้งศูนย์กลยุทธ์การค้า โดยแบ่งตามประเด็นการค้าและสินค้าหลักที่สำคัญ คือ Chicago ดูแลด้านภาษี , Dallas ดูแลด้านโควต้า สาธารณสุขความปลอดภัยอาหาร การติดฉลากสินค้าและแหล่งกำเนิดสินค้า , Los Angeles ดูแลด้านทรัพย์สินทางปัญญา , New York ดูแลด้านสิ่งทอ , Florida ดูแลด้านมาตรการ AD/CVD นอกจากนี้ ได้จัดตั้งคณะทำงานด้านการตรวจสอบสินค้าเกษตร ณ ด่านนำเข้าเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของศัตรูพืชที่อาจติดมากับสินค้านำเข้าด้วย 4. U.S. Antidumping, Countervailing Duty and Safeguard Measures ได้ชี้แจงกระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินมาตรการ AD , CVD และ Safeguard ของสหรัฐฯ รวมถึงการพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ การประเมินความเสียหาย การคำนวณอากร การไต่สวนและการเตรียมหลักฐานเมื่อมีการฟ้องร้องเกิดขึ้นพร้อมยกตัวอย่างกรณีปัญหาการค้าไทยในขณะนี้ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่าผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ได้รับประโยชน์จากการสัมมนาเป็นอย่างมาก นอกจากจะได้รับทราบถึงแนวนโยบายการค้าใหม่ของสหรัฐฯ กระบวนการขั้นตอนในการดำเนินมาตรการ AD , CVD และsafeguard รวมถึงพิธีการศุลกากรของสหรัฐฯแล้ว ยังได้ทราบถึงขั้นตอนการดำเนินธุรกิจการค้ากับสหรัฐฯ อย่างถ่องแท้จากคณะวิทยากรดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตามหาก ผู้ส่งออก ผู้สนใจ ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถค้นหาได้จาก http://www.ustr.gov/ www.usitc.gov/ รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อสำนักส่งเสริมและพัฒนาสิทธิประโยชน์ทางการค้า โทรสายด่วน 1385 โทร. 0 2547 4872 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.go.thnb e-mail : [email protected]

ข่าวกระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกา+กรมการค้าต่างประเทศวันนี้

ไทยยูเนี่ยน เปิดบูธต้อนรับ กระทรวงพาณิชย์ นำคณะรัฐมนตรีสปป.ลาว เยี่ยมชมนวัตกรรมอาหารทะเลยั่งยืนในงาน ThaiFex Anuka Asia 2025

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU นำโดยนายชู ชง ชาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ด้านกิจการกลุ่มบริษัท และนางสาวเพียรภัค อรุณไพโรจน์ ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายการตลาด แผนกการตลาดต่างประเทศ ให้การต้อนรับนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นำคณะรัฐมนตรีจากสปป.ลาว นายมะไลทอง กมมะสิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า นายไชชะนะ ไชยะกอน อธิบดีกรมเจรจาและร่วมมือเศรษฐกิจสากล และนางมะนีวอน วงไช อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ พร้อมคณะผู้แทนหอการค้าไทย ร่วมชมและชิมนวัตกรรมอาหารทะ

กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดสัม... กรมการค้าต่างประเทศ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เสริมพลัง SMEs เกษตรนวัตกรรมไทยสู่สากล — กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "เสริมพลัง...

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 นายชัยวุฒิ ธน... ดีอีเอส ลงนามข้อตกลงการรับทุน พัฒนาภูเก็ตสู่ "เมืองอัจฉริยะ" — เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐก...

สหรัฐอเมริกายกเลิกตอบโต้การอุดหนุนเส้นด้ายและผ้าผืนจากไทย

กรุงเทพฯ--9 มี.ค.--กรมการค้าต่างประเทศ สหรัฐฯ ยกเลิกมาตรการตอบโต้การอุดหนุนสินค้าด้ายและผ้าผืน จากไทยโดยสิ้นเชิงแล้ว มีผลตั้งแต่มกราคม ค.ศ. 2000 เป็นต้นไป หลังจากใช้มาตรการนี้ต่อไทยถึง 24 ปี ด้วยการใช้เงื่อนไขในความตกลง SA ไทย-สหรัฐฯที่เข้มงวด...