ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ ม.รามคำแหง จะเปิดสอนปริญญาโท สาขาวิชาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--21 มิ.ย.--ม.รามคำแหง ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ ม.รามคำแหง จะเปิดสอนปริญญาโท สาขาวิชาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ รายละเอียดดังนี้คือ หลักสูตรและปรัชญาการเรียนการสอน หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต หลักสูตรสาขาวิชาสถิติศาสตร์ ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติศาสตร์ ชื่อปริญญา : วิทยาศาสตรบัณฑิต ( สถิติศาสตร์ ) อักษรย่อ วท.บ. (สถิติศาสตร์) หลักสูตรสาขาสถิติศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บัณฑิตสาขาวิชาสถิติสามารถทำการสำรวจ วิจัย และสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลได้ นอกจากนี้ยังสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อประยุกต์ใช้งานตามต้องการ และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปอื่น ๆ เพื่อประกอบวิชาชีพในอนาคต หลักสูตรสาขาวิชาการวิจัยดำเนินงาน ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยดำเนินงาน ชื่อปริญญา : วิทยาศาสตรบัณฑิต ( การวิจัยดำเนินงาน ) อักษรย่อ วท.บ. (การวิจัยดำเนินงาน ) หลักสูตรสาขาการวิจัยดำเนินงาน เนื่องจากการบริหารงานของภาครัฐและเอกชนได้พัฒนาเข้าสู่ลักษณะการตัดสินใจโดยอาศัยหลักเกณฑ์เชิงปริมาณมากขึ้น การวิจัยดำเนินงานได้อาศัยความรู้ด้านคณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์ และบริหารธุรกิจ ดำเนินการสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์ และวิเคราะห์โครงสร้างที่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้สนับสนุนการตัดสินใจเพื่อดำเนินงานภายในองค์การ เช่นระบบการผลิต ระบบสินค้าคงคลัง ระบบการขนส่ง ระบบแถวคอย ตลอดจนการควบคุมโครงการและการจัดการให้ดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์การ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ) ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ชื่อปริญญา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ) อาจารย์ผู้สอนและคุณวุฒิ ศ. สุทธิชัย โง้วศิริ , M.S.(Statistics), Oregon State University, Oregon, U.S.A. รศ.ศรี วรกุลสวัสดิ์ , พบ.ม. (สถิติประยุกต์) , สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ รศ.พันทิพา สุนทรารชุน , Master of Experimental Statistics, North Carolina State University ,North Carolina, U.S.A. รศ.มนตรี พิริยะกุล , พบ.ม. (สถิติประยุกต์) , สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ รศ. ดร. รสสุคนธ์ หังสพฤกษ์ , Ph.D. (Statistics) , University of Georgia, Georgia, U.S.A. รศ. ชูศรี พันธุ์ทอง , พบ.ม. (สถิติประยุกต์) , สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ผศ. สุวัฒน์ ศรีวิทยารักษ์ , M.S. (Management Science) , Fairleigh Dickinson University, U.S.A. ผศ. ดร.รัชนี ภูวพัฒนะพันธุ์ , Dr.rer.nat.(Applied Mathematics), University of Innsbruck, Austria. ผศ. สุมิตรา เรืองพีระกุล , พบ.ม. (สถิติประยุกต์) , สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ อ. มณีรัตน์ จรุงเดชากุล , พบ.ม. (สถิติประยุกต์) , สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ อ. จุฑารัตน์ วรประทีป , พบ.ม. (สถิติประยุกต์) , สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ อ. ชำนาญ เจริญรุ่งเรือง , พบ.ม. (สถิติประยุกต์) , สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กำหนดการเรียนการสอน ภาควิชาสถิติมีกำหนดการเรียนการสอนตามที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงกำหนด โดยแบ่งเวลาศึกษาในปีการศึกษาหนึ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติคือ ภาค 1 และภาค 2 ใช้เวลาเรียนภาคละ 18 สัปดาห์ และภาคฤดูร้อนใช้เวลา 8 สัปดาห์ เปิดดำเนินการเรียนภาคการศึกษาที่ 1 ในเดือนมิถุนายนของแต่ละปี เปิดดำเนินการเรียนภาคการศึกษาที่ 2 ในเดือนพฤศจิกายนของแต่ละปี เปิดดำเนินการเรียนในภาคฤดูร้อน ในเดือนเมษายนของแต่ละปี ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร ผู้เข้าศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ปรับปรุง พ.ศ. 2540 ทั้ง 2 สาขา สามารถสำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน 6 ภาคการศึกษาปกติและใช้เวลาศึกษาได้อย่างมากไม่เกิน 8 ปีการศึกษา ตามข้อ 13 แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยรามคำแหงว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2537 คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา ผู้ที่จะเข้าศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต ปรับปรุง พ.ศ. 2540 ทั้ง 2 สาขา ต้องมีคุณสมบัติตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยรามคำแหงว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2537 ข้อ 6 และมีคุณวุฒิตามข้อบังคับ มหาวิทยาลัยรามคำแหงว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2539 ข้อ 5 จำนวนนักศึกษา มีนักศึกษาที่เข้ารับการศึกษาในแต่ละสาขาวิชาปีละประมาณ 100 คน และมีผู้ที่สำเร็จการศึกษาในแต่ละสาขาปีละประมาณร้อยละ 70 ห้องเรียน : STB 102, STB104, STB 105, STB 108, SCL 311, SCL 312 ห้องเรียนและห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์ : STB 104, STB 105, SCL 311, SCL 312 อุปกรณ์การสอน มีเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อเป็นระบบเครือข่ายท้องถิ่น และระบบ internet พร้อมทั้งเครื่องแสดงข้อมูล เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ เครื่องฉายวิดีโอ เครื่องแสดงภาพเสมือนจริง และเครื่องฉายภาพสไลด์ สถานที่ที่ติดต่อ ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถ. รามคำแหง บางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240 โทรศัพท์ (066) - 02-310-8396-8 , โทรสาร (066) - 02 - 318-9758 , E-mail : [email protected] จบ-- -นศ-

ข่าวคณะวิทยาศาสตร์+ภาควิชาสถิติวันนี้

THANARA นวัตกรรมความงามผสานไมโครไบโอมฟื้นฟูสุขภาพผิวด้วย 4P-Biotics สูตรเฉพาะจากออล-ดีเอ็นเอ

อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ คิดค้นสูตรดูแลผิวจากไมโครไบโอมและเทคโนโลยี 4 P-biotics สร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์เซรั่มและโลชั่นกันแดด แบรนด์ THANARA หนุนสมดุลไมโครไบโอมบนผิวหน้า เพื่อสุขภาพผิวดี อ่อนเยาว์ ใส ไร้สิว ผิวสุขภาพดี สวย ใส ดูอ่อนกว่าวัย - ใคร ๆ ก็ปรารถนา การที่จะได้มาซึ่งผิวสุขภาพดีนั้น นอกจากจะ "สวยจากภายใน" ด้วยการดูแลเรื่องอาหารการกิน น้ำดื่ม การพักผ่อน อารมณ์ และการออกกำลังกายให้สมดุลและเพียงพอแล้ว การดูแลผิวจากภายนอกก็สำคัญ ซึ่งในเรื่องนี้ "จุลินทรีย์ตัวดี" ช่วยได้ "ไมโครไบ

อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศ... เปิดตัวตำราอาหาร "สุขภาพดี วิถีสำรับไทย" จับคู่เมนูเด็ด อร่อยคงเอกลักษณ์ ครบถ้วนโภชนาการ — อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และทีมงานจ...

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับ นักศึกษาคณะว... นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ม.แม่โจ้ เข้าชมโรงงานดั๊บเบิ้ล เอ กระดาษจากไม้ปลูกเกษตรกรไทย — ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ...

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ขอแสดงควา... ชีววิทยา ม.พะเยา สุดเจ๋ง! คว้า 1 ใน 5 ทีม นวัตกรรมสร้างสุข ได้รับเงินต่อยอดจาก NIA — คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ขอแสดงความยินดีกับนิสิตสาขาวิชาชีววิท...

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567 — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ขอแสดงควา... นิสิต คณะวิทยาศาสตร์ ม.พะเยา คว้านักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น เวทีระดับชาติ YTSA#20 — คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ขอแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่งกับ นางสา...

บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำก... SNPS ต้อนรับนิสิตจุฬาฯ ถ่ายทอดองค์ความรู้ "นวัตกรรมสมุนไพรเพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน" — บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SNPS ให้การต้อ...