มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์

09 Aug 2000

กรุงเทพฯ--9 ส.ค.--ปชป.

นายอาคม เอ่งฉ้วน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรสหกรณ์ได้แถลงข่าวภายหลังการมอบวุฒิบัตรผู้ควบคุมฟาร์มให้กับสัตว์แพทย์ 227 ราย

นายอาคม เอ่งฉ้วน กล่าวว่า ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยในการบริโภคอาหารเพื่อการดำรงชีพมากขึ้น ประกอบกับระเบียบการค้าโลกแนวใหม่ภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ที่ประเทศสมาชิกสามารถนำมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชมาใช้เป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้าเพื่อปกป้องชีวิตหรือความปลอดภัยของผู้บริโภค ทำให้สินค้าเกษตรและอาหารของไทยได้รับผลกระทบมากขึ้น เนื่องจากการปนเปื้อนของส่งต่างๆ เช่น ยาสัตว์ตกค้าง หรืออาจมีเชื้อจุลชีพที่เป็นอันตรายปนเปื้อน มีรายงานการตรวจพบสาร SALBUTAMOL ตกค้างในเนื้อสุกร รายงานการพบสาร ALFATOXIN .ในน้ำนม ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่เกษตรกรผู้ผลิตยังขาดปัจจัยการผลิต ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องดานการจัดการและวิทยาการสมัยใหม่และอีกปัญหาจากฟาร์มที่การเลี้ยงสัตว์อย่างหนาแน่น และขาดการจัดการที่ดี ปัญหามลภาวะจากฟาร์มไม่ว่าจะเป็น กลิ่น เสียง หรือผลเสียจากมูลสัตว์ที่ก่อความเดือดร้อนให้กับชุมชน ดังนั้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรทำการผลิตสินค้าเกษตรที่ได้คุณภาพมาตรฐานปลอดภัยต่อการนำไปบริโภค และสร้างความมั่นใจให้กับประเทศผู้นำเข้าสินค้าจากไทย ผมจึงนโยบายเร่งรัดการผลิตเนื้อสัตว์ไร้สารปนเปื้อนแก่กรมปศุสัตว์เป็นการเร่งด่วน

ผลจากการดำเนินงานตานโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมปศุสัตว์ได้เล็งเห็นว่า ผู้บริโภคเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จะได้เนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพถูกสุขอนามัยได้นั้น ต้องเริ่มต้นจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพตั้งแต่ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่มีการจัดการฟาร์มที่ดี ทั้งด้านสุขอนามัย และการจัดการสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการผลิตสัตว์จึงได้กำหนดมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทย เป็นประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน รวม 3 เรื่องได้แก่

  • มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ
  • มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกร
  • มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงโคนม และการผลิตน้ำนมดิบ

นายอาคม กล่าวต่อไปว่าจากนโยบายเร่งด่วนที่ให้กรมปศุสัตว์รับไปดำเนินการ บัดนี้กรมปศุสัตว์ได้จัดเตรียมบุคลากรของกรมปศุสัตว์โยสามารถจัดฝึกอบรมผู้ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มทั้งหมด 12 รุ่น จำนวน 132 คน ให้ไปดำเนินการตรวจรับฟาร์มแก่ผู้ประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการ และในขณะเดียวกันก็ได้จัดฝึกอบรมสัตว์แพทย์ควบคุมฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ สุกร โคนมและการผลิตน้ำนมดิบของประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 227 คน โดยผู้ผ่านการฝึกอบรมจะได้รับใบอนุญาตควบคุมฟาร์มให้ไปทำหน้าที่ควบคุมดูแลด้านสุขภาพสัตว์ และสุขอนามัยในฟาร์มรวมถึงการใช้สารเคมี และยาปฏิชีวนะต่างๆ ในการเพิ่มผลผลิตที่ส่งผลกระทบทางด้านสาธารณสุขในเรื่องปัญหาสุขอนามัยของผู้บริโภค การพัฒนาฟาร์มเลี้ยงสัตว์จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของเกษตรกรและผู้ประกอบการเป็นสำคัญ ขณะนี้ปี 2543 มีผู้ประกอบการที่มีความสมัครใจเข้าร่วมโครงการนี้ จำนวนทั้งสิ้น 902 ราย

นายอาคม กล่าวว่า นโยบายเรื่องคุณภาพมาตรฐาน และปลอดภัยต่อการบริโภค กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2542 โดยกรมปศุสัตว์มีหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบ กำกับดูแล

1. การสร้างสถานภาพปลอดโรคปาก และเท้าเปื่อยในพื้นที่เขตปศุสัตว์เขต 2 ตามขั้นตอนการรับรองสถานภาพ จากองค์การโรคระบาดสัตว์แห่งโลก (OIE) โดยมีพื้นที่เป้าหมายเร่งด่วนการจัดทำเป็นพื้นที่ปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย เพื่อการส่งออก ที่อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีน

2. อนุญาตให้มีการทดลองฆ่าสัตว์แปรรูปอำเภอ บางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ดำเนินการโดยชุมนุมสหกรณ์การปศุสัตว์ภาคตะวันออก จำกัด ร่วมกับกรมปศุสัตว์

3. การสร้างห้องปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยโรคปากและเท้าเปื่อยประจำภูมิภาค ภายใต้ความร่วมมือด้านเทคนิคชั้นสูงจาก OIE เพื่อให้มีศักยภาพการตรวจวินิจฉัยโรคปากและเท้าเปื่อย

4. การตรวจสอสบและออกหนังสือรับรองคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ และโรงงานผลิตภัณฑ์สัตว์

5. ควบคุมคุณภาพห้องปฏิบัติการน้ำนมของศูนย์รวบรวมน้ำนมและสหกรณ์โคนม--จบ--

-ยก-