แสนสิริ เผยผลวิจัย ตลาดอาคารสูงยังรุ่ง"อพาร์ตเมนต์" ตัวชูโรงมั่นคงสุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--5 มี.ค.--แสนสิริ ฝ่ายวิจัยแสนสิริสำรวจตลาดอาคารสูงช่วงที่ผ่านมาพบว่าตลาดอพาร์ตเมนต์และอาคารสำนักงานยังมีแนวโน้มสดใส ดูจากความต้องการที่ปรับตัวสูงขึ้นในขณะที่คอนโดมิเนียมและห้างสรรพสินค้ายังทรงตัวไม่ต่างจากช่วงที่ผ่านมาสรุปผลวิจัยชี้ชัดภาพรวมตลาดไม่น่าห่วง นางสาววิรานี ปัจจักขภัติ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายวิจัย บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โดยภาพรวมของตลาดคอนโดมิเนียมยังคงทรงตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้จำนวน Supply ในตลาดมีการขยายตัวค่อนข้างต่ำโดยมีห้องชุดใหม่จากโครงการที่สร้างแล้วเสร็จเข้าสู่ตลาดในช่วงครึ่งหลังปี 2543 ทั้งสิ้น 870 ยูนิต จาก 3 โครงการ ทำให้จำนวน Supply รวมในพื้นที่หลักของเขตกรุงเทพมหานคร เพิ่มขึ้น 80,724 ยูนิต จาก 417 โครงการ โดย 20% ของจำนวน Supply รวมอยู่ในเขตถนนศรีนครินทร์ และในจำนวนนี้เป็นห้องชุดที่เหลือขายในตลาดทั้งสิ้น 3,860 ยูนิต หากไม่รวมยูนิตที่หยุดการก่อสร้าง ซึ่งลดลงจากประมาณ 4,200 ยูนิต ในเดือนมิถุนายน 2543 ผลวิจัยยังชี้ชัดอีกว่า ย่านพหลโยธินเป็นย่านที่มีจำนวนห้องชุดเหลือมากที่สุดประมาณ 1,728 ยูนิต ในขณะที่ย่านพญาไทมีจำนวนห้องชุดเหลืออยู่น้อยที่สุดประมาณ 162 ยูนิต ทั้งนี้ ประมาณ 500 ยูนิต จากจำนวนยูนิตเหลือขายทั้งหมดเป็นยูนิตที่เจ้าของโครงการนำออกให้เช่าแทนที่จะขาย เนื่องจากการปล่อยเช่าสามารถสร้างรายได้ในระยะยาวให้แก่เจ้าของโครงการได้ดีกว่าขายขาดในบางพื้นที่ เช่น สุขุมวิท และ CBD นอกจากนั้นยังคงมีห้องชุดที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและมีแผนที่จะสร้างเสร็จภายในปี 2544 จำนวน 520 ยูนิต จาก 5 โครงการ ทั้งนี้ 174 จาก 520 ยูนิตใหม่นี้จะอยู่บนถนนศรีนครินทร์ ซึ่งจากการสำรวจไม่พบโครงการที่เริ่มการก่อสร้างใหม่ และมีแผนที่จะสร้างแล้วเสร็จหลังจากช่วงปี 2544 แต่อย่างใด ด้านปริมาณการขายในช่วงครึ่งหลังของปี 2543 ลดลงถึง 24% จากช่วงครึ่งแรกสืบเนื่องมาจากการขาดแคลนห้องชุดที่มีคุณภาพดีในตลาด โดย 6 พื้นที่หลักของกรุงเทพมหานครสามารถขายห้องชุดได้ทั้งสิ้น 675 ยูนิต เมื่อเทียบกับ 886 ยูนิตในช่วงครึ่งแรกของปี ทั้งนี้การขายโดยผ่านวิธีการประมูลมีส่วนช่วยได้เป็นอย่างดี จากการสำรวจพบว่า 100 ยูนิต จาก 3โครงการ ถูกขายผ่านวิธีการประมูลในช่วงครึ่งหลังของปี 2543 ทั้งนี้ ย่านสุขุมวิทยังคงเป็นย่านที่มีความต้องการห้องชุดสูงที่สุด ด้วยยอดขายสูงสุดหลายช่วงติดต่อกัน โดยในช่วงครึ่งหลังของปี 2543 สามารถขายได้ทั้งสิ้น 218 ยูนิต ทำให้ยอดขายลดลงประมาณ 28% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก และ 32 จาก 218 ยูนิตเป็นการขายผ่านการประมูล นอกจากนี้ในเขตพหลโยธิน และพระราม 3 มียอดขายประมาณ 150 และ 111 ยูนิต ในขณะที่พื้นที่ CBD ย่านเพลินจิต และสาทร มียอดขาย 79 และ 88 ยูนิต ทั้งนี้ ราคาห้องชุดในช่วงครึ่งหลังของปี 2543 ค่อนข้างทรงตัว โดยย่านที่มีราคาเฉลี่ยสูงสุดยังคงเป็นเขต CBD เฉลี่ยที่ 52,645 บาทต่อตารางเมตร โครงการส่วนมากในเขต CBD เสนอขายอยู่ที่ประมาณ 48,000 - 68,000 บาทต่อตารางเมตร ในขณะที่โครงการซึ่งขาดการดูแลที่ดีเท่านั้นที่ราคาของห้องชุดที่ขายผ่านการประมูลจะมีราคาต่ำกว่าการขายแบบปกติมาก ส่วนในย่านสุขุมวิท ราคาขายเพิ่มขึ้น 6% โดยอยู่ที่ 40,242 บาทต่อตารางเมตรและราคาต่ำสุด - สูงสุดพบที่ 23,800 และ 58,727 บาทต่อตารางเมตร ทั้งนี้เนื่องจากยูนิตที่เสนอส่วนลด 50% ได้หมดจากตลาดไปแล้ว จากการสำรวจพบว่า แนวโน้มของตลาดคอนโดมิเนียมยังคงทรงตัวในระดับปัจจุบัน ตลาดยังต้องการห้องชุดพักอาศัยอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามการขาดแคลนห้องชุดที่มีคุณภาพดีอาจมีผลทำให้ผู้ซื้อชะลอการซื้อทำให้ปริมาณการขายของตลาดลดลงในช่วงต่อไป และคาดว่าราคาจะทรงตัว ณ ราคาปัจจุบัน ตลาดเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ภาพรวมของตลาดเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2543 ได้ปรับตัวดีขึ้นอีก ทั้งๆที่มี Supply ใหม่เพิ่มเข้ามาถึง 593 ยูนิต จาก 4 โครงการ หรือประมาณ 6% ส่วนอัตราการครอบครองก็ยังทรงตัวอยู่ที่ 71% เท่ากับช่วงครึ่งปีแรก และนับว่าเป็นการทรงตัวในระยะที่สามจากการเปรียบเทียบทุกๆ หกเดือน ปัจจุบันมีจำนวนเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์หลักๆ ในเขตกรุงเทพมหานครทั้งหมด 9,090 ยูนิต จากจำนวนโครงการทั้งสิ้น 79 โครงการ สุขุมวิทยังคงเป็นพื้นที่ที่ได้รับความนิยมสูงสุด และเป็นเขตเดียวที่มีการเพิ่มขึ้นของอัตราการครอบครองอีก 4% จาก 79% ในช่วงครึ่งปีแรกของ 2543 ขึ้นไปเฉลี่ยที่ระดับ 83% ในจำนวนนี้โครงการเกรดเอจะมีความสามารถในการทำตลาดได้ดีกว่าโครงการที่มีคุณภาพและการบริหารงานต่ำกว่า โดยมีอัตราการครอบครองเฉลี่ยที่ 88% ขณะที่โครงการที่มีคุณภาพต่ำกว่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 77% เมื่อเทียบกับเขต CBD ที่นับว่าเป็นเขตพื้นที่หลักเช่นกัน อัตราการครอบครองเฉลี่ยจะอยู่ที่ 72% ลดลง 1% จากช่วงครึ่งปีแรก และเช่นกันในจำนวนนี้นับเป็นอัตราการครอบครองของโครงการเกรดเอ 77% ในขณะที่เกรดต่ำกว่าทำได้อยู่ที่ 60% สำหรับอัตราค่าเช่านั้น พบว่ามีการขึ้นลงน้อยมากเช่นเดิมคือไม่เกิน 10% โดยที่โครงการเกรดเอในเขตสุขุมวิทมีค่าเช่าเฉลี่ยที่ 843 บาทต่อตารางเมตร ลดลงจาก 903 บาทในช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากโครงการที่เปิดตัวใหม่เสนอราคาต่ำกว่าราคาตลาดมาก แต่อย่างไรก็ตามครึ่งหนึ่งของโครงการเกรดเอทั้งหมดนี้สามารถขึ้นค่าเช่าได้ ในขณะที่อัตราการครอบครองก็เพิ่มขึ้นด้วย สำหรับโครงการเกรดต่ำกว่ามีค่าเช่าเฉลี่ยที่ 445 บาท ลดลง 1% จาก 440 บาท และนับว่ายังต่ำกว่าค่าเช่าของโครงการเกรดเออยู่ถึงเกือบ 50% ส่วนในเขต CBD นั้น อัตราค่าเช่าของทั้งโครงการเกรดเอและเกรดต่ำกว่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณ 1-2% โดยเฉลี่ยที่ 814 และ 602 บาทต่อตารางเมตร แนวโน้มของตลาดเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ในปี 2544 นี้ คาดว่าจะยังคงปรับตัวในทางบวกต่อไป เนื่องจากจะมี Supply ใหม่เพิ่มขึ้นไม่เกิน 5% ซึ่งทำให้อัตราการครอบครองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะที่สถานการณ์ของอัตราค่าเช่าค่อนข้างที่จะมั่นคง คือขึ้นลงไม่เกิน 5% เช่นเดิม ตลาดอพาร์ตเมนต์ อพาร์ตเมนต์นับเป็นตลาดที่มีความมั่นคงที่สุด เมื่อเทียบกับตลาดอาคารสูงรูปแบบอื่นๆ โดยช่วงครึ่งปีหลังของ 2543 นั้น มีจำนวนยูนิตใหม่เข้าสู่ตลาดทั้งสิ้น 167 ยูนิต จาก 4 โครงการใหม่ คิดเป็นอัตราการขยายตัวของ Supply ประมาณ 4% จากช่วงครึ่งแรกของปี และทำให้ ณ เดือนธันวาคม 2543 จำนวนอพาร์ตเมนต์ในพื้นที่หลักๆ ในเขตกรุงเทพมหานครมีทั้งหมด 10,006 ยูนิต จาก 345 โครงการ โดยที่ประมาณ 71% ของจำนวนอพาร์ตเมนต์ทั้งหมดนี้อยู่ในเขตสุขุมวิท ทั้งนี้ สุขุมวิท 55 ยังคงเป็นซอยที่มีจำนวนอพาร์ตเมนต์ตั้งอยู่มากที่สุดในเขตถนนสุขุมวิท นอกจากนี้ยังคงมียูนิตที่อยู่ระหว่างก่อสร้างและมีแผนการที่จะเข้าสู่ตลาดภายในปี 2545 ประมาณ 340 ยูนิต จาก 12 โครงการ โดยประมาณ 127 ยูนิต จาก 5 โครงการคาดว่าจะเข้าสู่ตลาดราวช่วงครึ่งแรกของปี 2544 และที่เหลืออีก 163 ยูนิต จาก 6 โครงการ จะเข้าสู่ตลาดในช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งนี้ประมาณ 290 จาก 340 ยูนิตใหม่นี้จะอยู่บนถนนสุขุมวิททั้งสิ้น โดยที่เหลืออีก 50 ยูนิต จาก 2 โครงการจะอยู่ในเขต CBD ในช่วงครึ่งปีหลังของ 2543 ตลาดอพาร์ตเมนต์มีการเติบโตขึ้นมาก ด้วยอัตราการครอบครองที่เพิ่มขึ้นถึง 7% มาอยู่ที่เฉลี่ย 91% เทียบกับ 84% ในเดือนมิถุนายน 2543 โดยที่ย่านสุขุมวิทยังคงเป็นย่านที่มีความนิยมสูงสุดอย่างต่อเนื่อง ด้วยอัตราการครอบครองสูงสุดถึง 91% เพิ่มขึ้น 3% จากช่วงเดือนมิถุนายน 2543 ในขณะที่มีจำนวน Supply มากที่สุด ทั้งนี้ ห้องประเภทสามห้องนอนจะเป็นที่นิยมมากที่สุดในเขตสุขุมวิท ส่วนในเขต CBD ซึ่งนับว่าเป็นพื้นที่หลักเช่นกัน ก็มีอัตราการครอบครองอยู่ในระดับสูงที่ 88% เพิ่มขึ้นจาก 83% ในช่วงเดือนมิถุนายน โดยที่ห้องประเภทสองห้องนอนก็ยังคงเป็นที่นิยมมากกว่าประเภทอื่นๆ นอกจากนั้น อัตราการครอบครองในเขตพหลโยธิน และถนนนางลิ้นจี่ ก็เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนมิถุนายน 2543 เช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นจาก 55% เป็น 68% ในเขตพหลโยธิน และจาก 80% เป็น 85% ในเขตนางลิ้นจี่ อัตราค่าเช่าเฉลี่ยต่อเดือนต่อตารางเมตรของทั้งตึกเก่าและตึกที่ดูแลดีในสุขุมวิท ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากช่วงเดือนมิถุนายน 2543 ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 215 และ 286 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ตามลำดับ ขณะที่ในพื้นที่ CBD ค่าเช่าเฉลี่ยต่อเดือนของทั้งตึกเก่าและตึกที่ดูแลดีมีการปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 3% และ 1% จากช่วงเดือนมิถุนายน 2543 ตามลำดับ ซึ่งเฉลี่ยปรับตัวจาก 222 บาท และ 324 บาท ในเดือนมิถุนายน มาอยู่ที่ 229 บาท และ 327 บาทในเดือนธันวาคม ตามลำดับ ส่วนในเขตถนนนางลิ้นจี่ และ พหลโยธิน ค่าเช่ายังคงปรับตัวลดลงประมาณ 1% และ 2% โดยมาอยู่ที่ 340 และ 255 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ตามลำดับ แนวโน้มในอนาคตของธุรกิจอพาร์ตเมนต์ยังคงความสดใสอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าปริมาณความต้องการห้องพักจะยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยที่จะมีจำนวนห้องพักใหม่เข้าสู่ตลาดในจำนวนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม จากภาวะการแข่งขันของตลาดในย่านสุขุมวิท คาดว่าจะส่งผลให้อัตราการครอบครองเฉลี่ยและค่าเช่าเฉลี่ยในเขตนี้จะยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากอัตราเฉลี่ยในช่วงครึ่งหลังของปี 2543 มากนัก ตลาดอาคารสำนักงาน ภาพรวมของตลาดอาคารสำนักงานในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2543 ปรับตัวดีขึ้นอีก Supply ใหม่เข้ามาในตลาดน้อยมาก ซึ่งพบว่าต่ำที่สุดในระยะสิบปีที่ผ่านมา คือมีเพียง 5,000 ตารางเมตรเท่านั้น ซึ่งทำให้อัตราการครอบครองในเขตกรุงเทพมหานครในช่วงดังกล่าว ขยับเพิ่มขึ้นอีก 3% อยู่ที่เฉลี่ย 67%นับเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งที่สามในระยะเวลาเปรียบเทียบทุกๆ หกเดือน โดยปัจจุบันมีพื้นที่อาคารสำนักงานทั้งหมดในเขตกรุงเทพมหานครรวมทั้งสิ้น 6.461 ล้านตารางเมตร จากจำนวนโครงการทั้งหมด 321 โครงการ ในจำนวนนี้ ประมาณว่าเป็นพื้นที่ว่างที่ไม่ได้ครอบครองประมาณ 2.17 ล้านตารางเมตร ซึ่งนับว่าลดลงติดต่อกันเรื่อยมาอีก 6% ในช่วงครึ่งปีหลัง 2543 นี้ ประมาณว่ามีพื้นที่ซึ่งถูกครอบครองเพิ่มขึ้นอีก 138,000 ตารางเมตร ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับจำนวนที่เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก การขยายตัวของธุรกิจทางด้าน IT ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนทำให้เพิ่มขึ้น พื้นที่ที่ได้รับความนิยมสูงสุดยังคงเป็นเขต CBD โดยเฉพาะพื้นที่ในอาคารเกรดเอบนช่วงถนนสีลมและสาทร ที่มีการลดค่าเช่าอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าเพียง 1-2% ก็สามารถดึงดูดผู้เช่าได้เพิ่มขึ้น 4% โดยมีอัตราการครอบครองเฉลี่ยที่ 68% และมีค่าเช่าเฉลี่ยที่ 379 บาทต่อตารางเมตร และปัจจัยสำคัญที่บ่งบอกถึงแนวโน้มที่เป็นบวกอีกอย่างหนึ่งคือความสามารถในการทำตลาดของอาคารเกรดเอบนช่วงถนนเพลินจิตวิทยุ คือในช่วงครึ่งปีหลังนี้ ค่าเช่าของอาคารเหล่านี้เริ่มคงที่ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 393 บาท หลังจากที่ลดลงติดต่อกันตั้งแต่กลางปี 2540 โดยในขณะเดียวกันอัตราการครอบครองก็เพิ่มขึ้นอีก 2% อยู่ที่ 63% สำหรับอาคารเกรดบีนั้น มีค่าเช่าเฉลี่ยอยู่ที่ 291 บาท และอัตราการครอบครองเฉลี่ยที่ 70% บนช่วงถนนสีลมสาทร สำหรับช่วงถนนเพลินจิตวิทยุนั้น มีค่าเช่าเฉลี่ยอยู่ที่ 358 บาท พบว่าลดลงมากที่สุดที่ 5% โดยที่อัตราการครอบครองเฉลี่ยที่ 56% เท่ากับช่วงครึ่งปีแรก สำหรับตัวเลขบริษัทที่จดทะเบียนเพิ่มขึ้นจากกระทรวงพาณิชย์นั้น พบว่าปี 2543 มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 17% โดยมีจำนวนรวม 15,011 บริษัท ซึ่งเพิ่มจาก 12,842 ในปี 2542 สำหรับตัวเลขบริษัทปิดกิจการ ถึงแม้จะเพิ่มขึ้น แต่ก็มีเพียง 2% จาก 4,211 ในปี 2542 เป็น 4,315 ในปี 2543 แนวโน้มของตลาดในส่วนนี้ คาดว่าจะมีการปรับตัวในทางบวกเช่นกัน Supply ที่จะเข้ามาในตลาดใหม่ภายในสองปีข้างหน้านี้ลดน้อยลงมาก ซึ่งมีเพียง 164,000 ตารางเมตรเท่านั้น ในขณะที่มีการคาดการว่าจะมีจำนวนบริษัทเปิดใหม่เพิ่มขึ้นอีก อย่างไรก็ตามพื้นที่ว่างซึ่งยังมีอยู่ถึงสองล้านตารางเมตรจะทำให้อัตราค่าเช่าลดลงอย่างต่อเนื่องอีกประมาณไม่เกิน 5% ตลาดศูนย์การค้า สภาพรวมของตลาดศูนย์การค้าถือว่ายังคงทรงตัวอยู่ในทิศทางบวก ถึงแม้ว่าอัตราการครอบครองพื้นที่เฉลี่ยจะลดลงร้อยละ 2 อยู่ที่ร้อยละ 87 เทียบกับครึ่งปีแรกของ 2543 ซึ่งเป็นผลมาจาก อัตราค่าเช่าพื้นที่เฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้นมากถึงร้อยละ 8 คือจาก 1,063 บาท/ตารางเมตร อยู่ที่ 1,143 บาท/ตารางเมตร ปัจจุบันในเขตกรุงเทพมหานครมีพื้นที่ศูนย์การค้าทั้งหมด 3.712 ล้านตาราเมตร ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว ตัวเลขอุปทานที่เพิ่มเข้ามาในตลาดได้มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2542 เป็นต้นมา ซึ่งอุปทานส่วนที่เพิ่มเข้ามาโดยมากจะเป็นพื้นที่ขายในรูปแบบของ Discount Store ในขณะที่การเพิ่มขึ้นของพื้นที่ขายแบบธรรมดายังจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ ซึ่งในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2000 มีแต่โครงการที่เป็นประเภท Discount Store เข้ามาสู่ตลาดถึง 4 โครงการ คือ คาร์ฟูพระรามสี่ โลตัสหลักสี่ บิ๊กซีหัวหมาก และบิ๊กซีสมุทรปราการ รวมพื้นที่ที่เข้ามาเพิ่มโดยประมาณได้ 65,000 ตารางเมตร ถึงแม้ว่าอัตราการครอบครองพื้นที่โดยเฉลี่ยจะลดลง แต่ในส่วนของโครงการหลักๆยังคงรักษาระดับการครอบครองพื้นที่ได้ดังเดิมหรืออาจมากขึ้นกว่าเดิมด้วย ในขณะที่โครงการรายย่อยจะถูกโจมตีอย่างรุนแรงโดย Discount Store ที่กำลังมีการแข่งขันกันสูงมาก การค้าในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมานั้น มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นสมัยใหม่มากขึ้น ผู้คนนิยมจับจ่ายใช้สอยในที่ที่มีสินค้าหลากหลาย เพื่อช่วยในการประหยัดเวลา สอดคล้องกับโลกธุรกิจในยุคปัจจุบัน ถ้าจำแนกศูนย์การค้าออกเป็นประเภทนั้นพบว่าทุกประเภทของศูนย์การค้าต่างก็เผชิญกับอัตราการครอบครองพื้นที่ที่ต่ำลง ร้อยละ 2-5 เทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2000 โดยที่ Specialty Store คือแบบเดียวที่ยังรักษาระดับไว้ได้เท่าเดิมคือร้อยละ 88 อัตราค่าเช่าโดยทั่วไปต่ำลงเล็กน้อย โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ ร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2000 มีเพียงสองพื้นที่เท่านั้นที่ปรับราคาค่าเช่าขึ้นไปอยู่สูงกว่าเดิมค่อนข้างคือ ราชดำริ และ สุขุมวิท ซึ่งอยู่ที่ 1,262 และ 1,353 บาทต่อตารางเมตรตามลำดับ เนื่องจากเป็นแหล่งการค้าย่านใจกลางเมืองและยังได้รับผลกระทบทางบวกจากรถไฟฟ้าอีกด้วย แต่ถ้าแบ่งตามประเภทของโครงการแล้ว อัตราค่าเช่าถูกปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในทุกรูปแบบของศูนย์การค้า จากการศึกษาโครงการศูนย์การค้าต่างๆ ประมาณ 20 โครงการที่ตั้งอยู่ในขอบเขตของสถานีรถไฟฟ้านั้นพบว่า รถไฟฟ้ายังคงเป็นปัจจัยบวกที่กระตุ้นให้ตลาดมีความคึกคักมากขึ้น ซึ่งศูนย์การค้าในย่านใจกลางเมืองนั้นสามารถที่จะปรับราคาค่าเช่าให้เพิ่มสูงมากขึ้นถึงร้อยละ 35 โดยเฉลี่ย แต่ในทางตรงกันข้าม ศูนย์การค้าที่มีการใช้พื้นที่ร่วมกับสำนักงานหรือที่อยู่อาศัยนั้น ผลบวกของรถไฟฟ้ายังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร Discount Store ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2543 ได้มีโครงการประเภท Discount Store เข้ามาสู่ตลาด 4 โครงการ ทำให้พื้นที่รวมของตลาด Discount Store เพิ่มสูงขึ้นถึง 537,796 ตารางเมตร หรือคิดเป็น 39 โครงการทั่วทั้งเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล การเพิ่มเข้ามาของโครงการ Discount Store ใหม่ๆ จะเริ่มลดลง แต่กระนั้นก็ยังจะทำให้มีจำนวนโครงการเพิ่มสูงขึ้นอีกเป็น 45 โครงการ (631,796 ตารางเมตร) ในสิ้นปี 2545 แนวโน้มของตลาดในอนาคตจะปรับตัวไปในทางบวกมากขึ้น สำหรับศูนย์การค้าแบบครบวงจรอุปทานที่จะเพิ่มเข้ามาในตลาดยังอยู่ในอัตราที่สูง โครงการในแบบของ Discount Store จะเริ่มเข้ามาสู่ตลาดน้อยลง สภาวะตลาดจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากชีวิตประจำวันของผู้บริโภคที่เร่งรีบมากขึ้น ดังนั้นการค้าแบบ One-stop Shopping จะมีบทบาทค่อนข้างมาก โดยรวมแล้ว อัตราค่าเช่าเฉลี่ยของศูนย์การค้าโดยทั่วไปจะอยู่ในระดับที่ต่ำลงเล็กน้อยเพื่อรักษาระดับการครอบครองพื้นที่ไม่ให้ต่ำลงมากกว่าเดิม ภาพรวมของตลาดศูนย์การค้าถือว่ายังคงทรงตัวอยู่ในทิศทางบวก ถึงแม้ว่าอัตราการครอบครองพื้นที่เฉลี่ยจะลดลงร้อยละ 2 อยู่ที่ร้อยละ 87 เทียบกับครึ่งปีแรกของ 2543 ซึ่งเป็นผลมาจาก อัตราค่าเช่าพื้นที่เฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้นมากถึงร้อยละ 8 คือจาก 1,063 บาท/ตารางเมตร มาอยู่ที่ 1,143 บาท/ตารางเมตรปัจจุบัน ในเขตกรุงเทพมหานครมีพื้นที่ศูนย์การค้าทั้งหมด 3.712 ล้านตาราเมตร ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว ตัวเลขอุปทานที่เพิ่มเข้ามาในตลาดได้มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2542 เป็นต้นมา ซึ่งอุปทานส่วนที่เพิ่มเข้ามาโดยมากจะเป็นพื้นที่ขายในรูปแบบของ Discount Store ในขณะที่การเพิ่มขึ้นของพื้นที่ขายแบบธรรมดายังจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ จากการศึกษาโครงการศูนย์การค้าต่างๆประมาณ 20 โครงการ ที่ตั้งอยู่ในขอบเขตของสถานีรถไฟฟ้านั้นพบว่า รถไฟฟ้ายังคงเป็นปัจจัยบวกที่กระตุ้นให้ตลาดมีความคึกคักมากขึ้น ซึ่งศูนย์การค้าในย่านใจกลางเมืองนั้นสามารถที่จะปรับราคาค่าเช่าให้เพิ่มสูงมากขึ้นถึงร้อยละ 35 โดยเฉลี่ย แต่ในทางตรงกันข้าม ศูนย์การค้าที่มีการใช้พื้นที่ร่วมกับสำนักงานหรือที่อยู่อาศัยนั้น ผลบวกของรถไฟฟ้ายังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่วิภาวริศ เกตุปมา เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์อาวุโสบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)โทรศัพท์ 201-3328 โทรสาร 201-3904E-mail address: [email protected] จบ-- -สส-

ข่าวบริษัท แสนสิริ จำกัด+วิรานี ปัจจักขภัติวันนี้

แสนสิริโชว์แบรนด์แกร่ง ยอดจองหุ้นกู้ล้น ตอกย้ำการเติบโตยั่งยืน ภายใต้แผน "Dynamic Growth"

นักลงทุนให้การตอบรับหุ้นกู้แสนสิริล้น ตอกย้ำถึงความสำเร็จจากการเดินหน้าตามแผน "Dynamic Growth" เติบโตแข็งแกร่ง สะท้อนความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อบริษัทฯ ความมั่นคงทางการเงิน และแผนการขยายธุรกิจที่ชัดเจนและยั่งยืน ยันเดินหน้าตามแผน เปิด 29 โครงการ มูลค่ารวม 52,000 ล้านบาท พร้อมรักษาสภาพคล่องที่ เหมาะสมรองรับได้ทุกสถานการณ์ นายวิชาญ วิริยะภูษิต ประธานผู้บริหารสายงานการเงิน บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRIผู้ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทย เปิดเผยว่า แสนสิริได้

Hidden Gem กลางเมือง บนทำเลที่ดินหายาก Ra... แสนสิริเปิดตัว "WIDEN by Sansiri" (ไวด์เด็น บาย แสนสิริ) มูลค่าโครงการ 3,100 ลบ. — Hidden Gem กลางเมือง บนทำเลที่ดินหายาก Rare Location "นางลิ้นจี่" คอนโด...

เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ... ภาคก่อสร้างไทยยืนแกร่ง ย้ำมาตรฐานความแข็งแรง ปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นภาคอสังหาฯ ไทย — เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา สร้างความต...