ปฏิวัติวงการสตอเรจ ด้วยสุดยอดเทคโนโลยี iSCSI เจ้าแรกของวงการไอที

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--12 มิ.ย.--ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) ไอบีเอ็มพัฒนาสตอเรจเน็ตเวิร์กสายพันธุ์ใหม่เชื่อมอินเทอร์เน็ต โซลูชั่นพลักแอนด์เพลย์สตอเรจที่ผ่านการทดสอบแล้ว พร้อมใช้ เพื่อช่วยรักษาข้(Embedded image moved to file: pic05122.pcx) ไอบีเอ็มประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ IBM TotalStorage IP Storage 200i* ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่เรียกว่า iSCSI (SCSI Over IP) เทคโนโลยีใหม่ที่ใช้งานง่ายและเป็นระบบเปิด ช่วยลดความซับซ้อนจากการทำงานด้วยโซลูชั่นพลักแอนด์เพลย์ ในระบบเน็ตเวิร์กสตอเรจหรือ Storage Area Networks (SANs) เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและปลอดภัยในการบริหารและจัดการข้อมูลที่สำคัญ “เทคโนโลยีของสตอเรจเป็นหัวใจและเบื้องหลังความสำเร็จของระบบอีบิสิเนส เป็นระบบเน็ตเวิร์กที่สำคัญที่ควรจะทำงานร่วมกับเครื่องมืออื่นได้ มีระบบเปิด และมีความเป็นศูนย์รวม” ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย ผู้จัดการผลิตภัณฑ์อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าว“ไอบีเอ็มต้องเป็นที่หนึ่งในอุตสาหกรรมสตอเรจเน็ตเวิร์กที่ให้คุณค่าแก่อุตสาหกรรมนี้ให้ได้มากที่สุด” สถาบันวิจัย ฟอร์เรสเตอร์ กล่าวว่า ตลาดสตอเรจเป็นตลาดใหม่ที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีประมาณการว่าในปี 2003, 75% ของเงินลงทุนด้านสารสนเทศจะเกี่ยวเนื่องกับสตอเรจหรือส่วนสำรองข้อมูล และอีก 25% ของเงินลงทุนยังเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนเซิร์ฟเว่อร์ โดยผู้บริหารระบบสารสนเทศจะหันมาพัฒนาระบบสตอเรจเน็ตเวิร์กให้เป็นระบบเปิด สามารถสำรองข้อมูลจำนวนมากมายได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ติดขัดเหมือนปัจจุบันญ iSCSI เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้คำสั่ง SCSI (Small Computer Systems Interface) ที่ใช้กับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นั้น สามารถส่งคำสั่งโดยผ่านอินเทอร์เน็ตโปรโตคอลหรือ TCP/IP ได้ ในอนาคตอันใกล้นี้ องค์กร IETF (Internet Engineering Task Force) จะประกาศให้โปรโตคอล iSCSI เป็นโปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานต่อไป ด้วยเทคโนโลยีของ iSCSI ทำให้วันนี้ลูกค้าสามารถมี Storage Area Network (SAN) ใช้งานได้บนระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์กภายในองค์กรหรือแลน ทำให้ลูกค้าได้รับประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลเหมือน SAN แต่การเชื่อมต่อสามารถต่อเข้ากับเครือข่ายแลนได้ทันที โดยไม่ต้องสร้างเครือข่ายเฉพาะอย่างเช่น SAN อย่างไรก็ตาม iSCSI ยังทำงานร่วมกันกับเครือข่ายไฟเบอร์ของ SAN ได้เป็นอย่างดี ไอบีเอ็มเป็นบริษัทแรกที่เปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยี iSCSI สู่ตลาดที่เรียกว่า IBM TotalStorage IP Storage 200i ผลิตภัณฑ์นี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้เกิดประโยชน์หลายอย่างเช่น เป็นที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่, สามารถใช้งานสตอเรจร่วมกันได้, การบริหารจัดการทำได้ทั้งแบบรีโมทและจากศูนย์กลางโดยผ่านเว็บบราวเซอร์ IBM TotalStorage IP Storage 200i (Model 100 และ 200) พร้อมวางตลาดในวันที่ 29 มิถุนายน 2544 ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.storage.ibm.com เผยแพร่โดย บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ คุณชูจิตต์ วัฒนล้ำเลิศ โทร. 273-4306 อีเมล์: [email protected] กฤษณา ศิลประเสริฐ โทร. 273-4639 อีเมล์: [email protected] จบ-- -อน-

ข่าวพลักแอนด์เพลย์+ผลิตภัณฑ์ใหม่วันนี้

ซีเอ็ด จับมือ บ้านหมอละออง เปิดตัวยาดมสมุนไพร 'พี่ชาย SIZE BIG' ดึง 'ชาย-ชาตโยดม' เสริมลุคมั่นใจสายสมุนไพรยุคใหม่

"ซีเอ็ด" ร่วมกับแบรนด์สมุนไพรไทยชื่อดัง "บ้านหมอละออง" เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุด "ยาดมพี่ชาย SIZE BIG" อย่างเป็นทางการ ชูจุดเด่นเรื่องขนาดใหญ่จุใจ และกลิ่นหอมสมุนไพรแท้สูตรเฉพาะ ที่ผสานคุณค่าจากสมุนไพรไทยหลากชนิด เพื่อเติมความสดชื่นได้ยาวนานยิ่งขึ้น ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าสุขภาพ พกง่าย ใช้คล่อง และมั่นใจในมาตรฐานความปลอดภัย "ยาดมพี่ชาย SIZE BIG" ได้รับการพัฒนาโดยทีมวิจัยของบ้านหมอละออง ภายใต้แนวคิด "ชายใช้ ชายมั่นใจ" ที่มุ่งเน้นการผสมผสานภูมิปัญญาสมุนไพรไทยเข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่น

ยัปป์ทีวี เปิดตัวแพลตฟอร์มวิดีโอกราฟในงานเอ็นเอบี โชว์ ประจำปี 2566

บริการ API แบบพลักแอนด์เพลย์สำหรับการสตรีมวิดีโอสดและแบบออนดีมานด์ ยัปป์ทีวี (YuppTV) ผู้ให้บริการคอนเทนต์จากเอเชียใต้ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต (OTT) ประกาศเปิดตัว วิดีโอกราฟ (Videograph) แพลตฟอร์มที่ให้บริการ API แบบพลักแอนด์...

"เคลย์ตัน" จับมือ "พลักแอนด์เพลย์" เป็นสะพานเชื่อมสู่เว็บ3

เคลย์ตัน ฟาวน์เดชัน (Klaytn Foundation) อีโคซิสเต็มบล็อกเชนสาธารณะในระดับองค์กร จะร่วมมือกับพลักแอนด์เพลย์ (Plug and Play) หรือ PNP แพลตฟอร์มนวัตกรรมระดับโลกที่เชื่อมโยงสตาร์ทอัพ, องค์กร, ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (VC), รัฐบาล และมหาวิทยาลัย...

ไวรัสตัวหนอน โซทอบ และ เอสบอท

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ไวรัสตัวหนอน โซทอบ และ เอสบอท ได้คุกคามจุดอ่อนในการให้บริการของไมโครซอฟท์ วินโดว์ พลักแอนด์เพลย์ (PnP) เพื่อสร้างช่องโหว่ด้านหลังของระบบคอมพิวเตอร์ และทำให้ผู้บุกรุกจากระยะไกลสามารถเจาะผ่านไปยังคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีการป้องกันที่ดี ระหว่างการวิเคราะห์...