กทม.จัดกิจกรรมการนิเทศและติดตามงานแก่ผู้ปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--5 เม.ย.--กทม. กทม.ปรับปรุงระบบติดตามการปฏิบัติงานโครงการต่าง ๆ ด้านการพัฒนาชุมชนทั้ง 50 เขต ใหม่ ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม อนามัย จิตใจ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่ วันนี้ (4 เม.ย.45) เวลา 09.30 น. ที่โรงแรมโซลทวินทาวเวอร์ เขตปทุมวัน นพ.ประพันธ์ กิติสิน รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบงานพัฒนาชุมชน กิจกรรมการนิเทศและติดตามการดำเนินงานด้านการพัฒนาชุมชน ครั้งที่ 1/2545 พร้อมมอบนโยบายการพัฒนาชุมชนให้กับผู้ร่วมโครงการฯ โดยมี นางผ่องลักษณ์ วาสิกศิริ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชน นายสมภพ ระงับทุกข์ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชน นายวันชัย ถนอมศักดิ์ ผู้อำนวยการกองวิชาการและแผนงาน สำนักพัฒนาชุมชน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการนิเทศจาก 50 เขต จำนวน 174 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิธีเปิดและรับมอบนโยบาย รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า คำว่า “เมือง” จะน่าอยู่ได้ ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลายประการและ ทุกฝ่ายต้องร่วมมือร่วมใจกันดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองน่าอยู่ ทั้งนี้ จากแนวคิด โครงการ “เมืองน่าอยู่” ( Healthy Cities) กรุงเทพมหานครได้เริ่มดำเนินการทดลองใน 3 เขตนำร่อง ตั้งแต่ปี 2537 เพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคมและคนจนเมือง รวมทั้งสำนักพัฒนาชุมชนได้จัดทำโครงการที่เกี่ยวข้องกับชุมชนดังนี้ โครงการชุมชนนำร่องน่าอยู่ , โครงการชุมชนรักษ์คลอง และโครงการสีเขียวเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อม สำหรับ โครงการชุมชนนำร่องน่าอยู่ นั้น สำนักพัฒนาชุมชนได้คัดเลือกชุมชนต่าง ๆ จาก 50 เขต ที่เข้าหลักเกณฑ์ 3 ด้าน คือ ด้านสุขภาพกายและจิตของประชาชน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการประกอบอาชีพและความมั่นคงด้านเศรษฐกิจของประชาชน รวมทั้งเป็นชุมชนที่มีทรัพยากรสนับสนุนตามแนวทาง “เมืองน่าอยู่” ผลปรากฏว่ามีชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนพลับพลา เขตวังทองหลาง , ชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา เขตหนองจอก และชุมชนเล็กเที่ยง เขตพระโขนง ซึ่งตนได้ไปตรวจเยี่ยมชุมชนทั้ง 3 ชุมชนมาแล้ว มีความพึงพอใจในความน่าอยู่ของชุมชนอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้เห็นว่าประชาชนในชุมชน มีความรักใน ท้องถิ่น ร่วมแรงร่วมใจกันปรับปรุงและพัฒนา ทำให้ชุมชนของตนเองน่าอยู่ ซึ่งยังมีชุมชนในกรุงเทพฯ อีกมากที่ต้องได้รับการพัฒนาในแบบเดียวกันนี้ และต้องปรับปรุง เพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของชุมชนดีขึ้น รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของชุมชนรักษ์คลอง เป็นโครงการที่เน้นคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณริมคลอง ให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ได้มีการกำหนดชุมชนนำร่องเป้าหมายในการดำเนินการ กลุ่มเขตละ 1 ชุมชน ยกเว้น กลุ่มเจ้าพระยา และกลุ่มกรุงธนใต้ ซึ่งมีกลุ่มเขตละ 2 ชุมชน โครงการชุมชนสีเขียว เป็นโครงการเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อม แก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมของชุมชน และเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้แก่ชุมชน โดยให้ทุกเขตจัดทำชุมชนนำร่องทั้ง 50 เขต นอกจากนี้ตนยังมีนโยบายให้ฝ่ายพัฒนาชุมชนทุกสำนักงานเขตขยายผลของทั้ง 3 โครงการออกไปเพื่อให้เกิดการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ในช่วงครึ่งปีหลังของปีงบประมาณ 2545 อย่างน้อยเพิ่มขึ้นเขตละ 1 ชุมชน โดยมีสำนักพัฒนาชุมชนให้การสนับสนุน ซึ่งหากชุมชนของกรุงเทพมหานครทุกชุมชนในสังคม กลายเป็นชุมชนน่าอยู่ ก็จะเป็นองค์ประกอบหนึ่งหรือเป็นแรงผลักดันที่จะทำให้กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นมหานครใหญ่ กลายเป็นเมืองน่าอยู่ได้ และจะต้องมีการติดตามโครงการทั้ง 3 อย่างใกล้ชิด เพื่อคงความน่าอยู่ให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ส่วนในเรื่องของการกำจัดลูกน้ำยุงลาย , กองทุนชุมชน , นโยบาย “หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” , ยาเสพติดและศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน สำนักพัฒนาชุมชนจะเป็นผู้ติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายที่มอบไว้ในอีก 6 เดือนต่อไป อนึ่งการนิเทศและติดตามงานถือเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงานการติดตามซึ่งเป็นเครื่องมือพื้นฐานเบื้องต้น กล่าวคือ การปรับปรุงการบริหารงานโครงการ หรือโครงการทั้งหลายจะสำเร็จลุล่วงบรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่กำหนดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการติดตามงาน ดังนั้นสำนักพัฒนาชุมชนจึงจัดกิจกรรมการนิเทศและติดตามการดำเนินงานด้านการพัฒนาชุมชนขึ้น โดยใช้เวลา 2 วัน ในวันที่ 4-5 เม.ย.45 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมการนิเทศทั้งสิ้น 174 คน ประกอบด้วย คณะผู้บริหารสำนักพัฒนาชุมชน , หัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชน , นักพัฒนาชุมชนระดับ 3-5 จาก 50 สำนักงานเขต และเจ้าหน้าที่ดำเนินการ เพื่อรับทราบนโยบายจากผู้บริหาร กทม. อีกทั้งสร้างความเข้าใจและประสานแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างสำนักพัฒนาชุมชนและผู้ปฏิบัติงานของเขต รวมทั้งการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของเขต ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้งานเป็นไปตามเป้าหมาย นโยบาย และแผนงานที่กำหนดไว้ให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน

ข่าวผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร+โรงแรมโซลทวินทาวเวอร์วันนี้

กทม. แจงประกวดราคาคัดเลือกซ่อมรถดับเพลิง 18 คัน ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ โปร่งใส และรอบคอบ

นายสุริยชัย รวิวรรณ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) กทม. กล่าวกรณีมีข้อสังเกตการประกวดราคาด้วยวิธีประกวดราคาแบบคัดเลือก จ้างเหมาซ่อมรถดับเพลิงพร้อมบันไดสูงไม่น้อยกว่า 13 เมตร ยี่ห้อสไตเออร์ จำนวน 18 คัน พบความผิดปกติที่ส่อไปในทางทุจริตว่า กรณีดังกล่าวสืบเนื่องจากบริษัท เทพยนต์ แอโรโมทีฟ อินดัสตรีส์ จำกัด ได้ทำหนังสือร้องเรียนถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน

นางสาวสุชิรา ศิลานนท์ ผู้อำนวยการเขตวัฒนา... เขตวัฒนาเร่งรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำลำรางสาธารณะใน ซ.ปรีดีพนมยงค์ 20 ตามคำพิพากษาศาลปกครอง — นางสาวสุชิรา ศิลานนท์ ผู้อำนวยการเขตวัฒนา กทม. กล่าวกรณีศาล...

นายอนุชิต พิพิธกุล ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ... กทม. คุมเข้มร้านอาหาร-หาบเร่แผงลอยไม่ปล่อยทิ้งไขมัน-น้ำเสียลงคลองและท่อระบายน้ำ — นายอนุชิต พิพิธกุล ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ (สนท.) กทม. กล่าวถึงมาตรการเพิ...

นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ... กลุ่มบริษัทบางจาก ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด ที่ศูนย์กีฬาเบญจกิติ — นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยืนแล...

ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ตอกย้ำเจต... ผู้บริหารเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมแสดงความยินดีเป็นส่วนหนึ่งของภาพประวัติศาสตร์ สมรสเท่าเทียม — ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ตอกย้ำเจตนารมย์ในการสนับสน...