ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น ทั่วเอเชียร่วมมือกวาดล้างซอฟต์แวร์เถื่อนยึดของกลางรวมกว่า 45,000 ชุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--22 ม.ค.--ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น ชื่นชมผลงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ทั่วภูมิภาคเอเชีย ทั้งในประเทศสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน อินเดียและประเทศไทย ในช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินคดีกับผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายใน 13 เมืองใหญ่ทั่วภูมิภาคเอเชีย และยึดของกลางจำนวนกว่า 45,000 ชุด รวมทั้งซอฟต์แวร์ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็วๆ นี้ ในชุด Windows XP, Office XP และ Windows NT Server ของไมโครซอฟท์ด้วย การดำเนินการดังกล่าวรวมถึงการปราบปรามในประเทศไทย ซึ่งกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ ได้ตรวจค้นร้านค้าปลีกซอฟต์แวร์ 10 แห่ง และจับกุมร้านค้าปลีก 9 แห่งพร้อมยึดของกลางซีดีซอฟต์แวร์เถื่อนอีกกว่า 23,000 แผ่น จากจำนวนการรายงานเบาะแสและจำนวนซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายที่ถูกยึด แสดงให้เห็นว่าอัตราการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในภูมิภาคเอเชียยังคงอยู่ในระดับสูงและเป็นปัญหาสำคัญของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ การสำรวจล่าสุดซึ่งกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (Business Software Alliance – BSA) จัดทำขึ้นระบุว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคเดียวที่มีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมา อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ในภูมิภาคเอเชียในปี 2542 อยู่ในระดับ 51% ซึ่งนับว่าสูงเมื่อเทียบกับอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ทั่วโลกในปีเดียวกันซึ่งอยู่ในระดับ 37% คิดเป็นมูลค่าความเสียหายของทั้งอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์รวมประมาณ 41,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับประเทศไทยมีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ในปี 2544 ที่ผ่านมาสูงถึง 79 % คิดเป็นมูลค่าความเสียหายของทั้งอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์รวมประมาณ 57 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของภูมิภาค นอกจากนี้ กลุ่ม ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งดำเนินธุรกิจอยู่ได้โดยการจำหน่ายสินค้าผิดกฎหมายเอง ก็นับได้ว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคม มร. ทอม โรเบิร์ตสัน ทนายความ ประจำฝ่ายกฎหมาย บริษัท ไมโครซอฟท์ เอเชีย กล่าวว่า “การปราบปรามและจับกุมซอฟต์แวร์ที่ไม่มีลิขสิทธิ์ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมานั้น เป็นการเตือนผู้กระทำผิดกฎหมายได้อย่างชัดเจนว่าการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ทั้งการผลิตและจำหน่ายนั้น เป็นการเอาชื่อเสียงและธุรกิจมาเสี่ยง และยังอาจจะได้รับโทษหนัก เช่น ปรับ และจำคุกได้” ไมโครซอฟท์ ได้จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการจำแนกซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมายและซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือ “How To Tell ” ขึ้นและเผยแพร่บนเว็บไซต์ http://www.microsoft.com/piracy เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์สำรวจและระบุได้ว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้อยู่นั้น เป็นซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์หรือไม่ อันเป็นการปกป้องผู้บริโภคและคู่ค้าของไมโครซอฟท์จากการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมกันนี้ ไมโครซอฟท์ยังได้เตือนอีกด้วยว่า ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายนั้นอาจไม่สมบูรณ์ ขาดคุณสมบัติสำคัญ ๆ หรือมีไวรัส อีกทั้งผู้ที่ใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายยังจะไม่ได้รับการบริการด้านเทคนิค การรับประกันการใช้งาน และการอัพเกรดซอฟต์แวร์จากบริษัทฯ มร. โรเบิร์ตสันกล่าวเสริมว่า “ผู้ละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์นั้น นอกจากจะเอาเปรียบผู้บริโภคแล้ว ยังทำลายการสร้างสรรค์ และเอาเปรียบนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไม่ให้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ดี ๆ ที่มีประโยชน์ต่อไปในอนาคตได้ หากภูมิภาคเอเชียยังต้องการที่จะสร้างเศรษฐกิจแบบพึ่งพาความรู้ (Knowledge based economy) ให้แข็งแกร่งนั้น จะต้องตระหนักถึงความสำคัญและปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา จึงจะทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคนี้เติบโตได้เป็นอย่างดี” ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น ก่อตั้งขึ้นในปี 2518 ปัจจุบันเป็นผู้นำด้านซอฟต์แวร์ บริการ และเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและองค์กร โดยมีผลิตภัณฑ์และบริการหลากหลายที่จะทำให้ผู้ใช้ได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุดจากซอฟต์แวร์ชั้นนำโดยไร้ขีดจำกัดทั้งในด้านเวลา สถานที่ หรือประเภทของอุปกรณ์ใช้งาน--จบ-- -สส-

ข่าวไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น+ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์วันนี้

ศาลฏีกายืนยันคำพิพากษาคดีละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์ สั่งปรับ 240,000 บาทพร้อมจำคุก แต่ให้รอลงอาญา 2 ปี

กรุงเทพฯ--17 เม.ย.--Pr & Associates ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยผลการตัดสินของศาลฎีกาที่ยืนยันตามการวินิจฉัยของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้ได้ยกอุทธรณ์ของบริษัท นิยมไทย ไฮเทค ตัวแทนจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งถูกไมโครซอฟท์เป็นโจทก์ฟ้องในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2543 ศาลฏีกาเห็นชอบกับคำตัดสินของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งระบุว่า จำเลย ตั้งใจที่จะละเมิดลิขสิทธิ์ของไมโครซอฟท์จริง โดยขายเครื่องพีซีซึ่งติดตั้งซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์ที่

ไมโครซอฟท์เสนอการจัดซื้อและอัพเกรดซอฟต์แวร์รูปแบบใหม่ที่ง่ายกว่าเดิม เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในทุก ๆ ด้าน

กรุงเทพฯ--11 พ.ค.--โอกิลวี่ พับลิค รีเลชั่นส์ เวิลด์วายด์ ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น เสนอรูปแบบใหม่ในการซื้อลิขสิทธิ์และการอัพเกรดซอฟต์แวร์ที่ง่ายและตอบสนองความต้องการของลูกค้าองค์กร...

ไมโครซอฟท์ฟ้องดีลเลอร์ของเอเทค คอมพิวเตอร์ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

กรุงเทพฯ--4 ก.ย.--โอกิลวี่ พับลิค รีเลชั่นส์ เวิลด์วายด์ ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น ฟ้อง บริษัท นิยมไทย ไฮเทค จำกัด ตัวแทนจำหน่ายคอมพิวเตอร์ของเอเทค คอมพิวเตอร์ ฐานละเมิดลิขสิทธิ์โดยการติดตั้งซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์วินโดวส์ 98 และ ออฟฟิศ...

ร้านคอมพิวเตอร์สามแห่งเจอข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

กรุงเทพ--24 มี.ค.--ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น กำชับเตือนเจ้าของและผู้จัดการร้านคอมพิวเตอร์มิให้แนะนำให้พนักงานขายเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้วิธีการจูงใจลูกค้าให้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งซอฟต์...

"สายด่วนไมโครซอฟท์" หนุนประชาชนร่วมศึกต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

กรุงเทพ--10 พ.ย.--ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น ริเริ่มเปิดตัวแผนปฏิบัติการใหม่ในประเทศไทยที่สนับสนุนให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นในการรณรงค์ต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ โดยบริษัทฯ ได้ประกาศตั้ง...

ไมโครซอฟท์สวนกระแสเศรษฐกิจ จัดโปรโมชั่นสำหรับผู้ซื้อ "MOLP" ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์รวม

กรุงเทพ--19 ก.ย.--บริษัท ไมโคซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ไมโครซอฟท์จัดโปรโมชั่นมอบข้อเสนอพิเศษ สำหรับผู้ที่ซื้อแพ็คเกจลิขสิทธิ์การใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะองค์กร "MOLP" รับส่วนลดและข้อเสนอพิเศษจำนวนมาก เมื่อซื้อภายในเดือนกันยายน...

ตลาดหลักทรัพย์ฯ รับ 4 หลักทรัพย์ใหม่ DRx อ้างอิงหุ้น Alphabet, Microsoft, Nvidia และ DR อ้างอิงหุ้น Baidu เริ่มซื้อขาย 21 มิ.ย. นี้

ตลาดหลักทรัพย์ฯ รับตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ 4 หลักทรัพย์ใหม่ เปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนไทยเข้าถึงหุ้นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ระดับโลกที่มีการเติบโตสูง ...

วีเมด ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากชินฮัน-กีอุม-ไมโครซอฟท์

บริษัท วีเมด (Wemade) ซึ่งมีคุณเฮนรี ชาง (Henry Chang) ดำรงตำแหน่งซีอีโอ สามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุน 6.6 หมื่นล้านวอน (ราว 46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จากบริษัท ชินฮัน แอสเซท แมเนจเมนท์ (Shinhan Asset Management), กีอุม ซีเคียวริตีส์ (Kiwoom Securities) และ ...