เอทีเอสแนะนำสถาบันผู้ให้การรับรอง มาตรฐานอุตสาหกรรม TQS

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--7 ส.ค.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง เอทีเอสไอเดินหน้าผลักดันการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (TQS) ประกาศเปิดตัวสถาบันผู้ให้การรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (Thai Quality Software Certifier) "สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" (สวท.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งมีหน้าที่และบทบาทสำคัญในการให้บริการวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้บริการภาครัฐและเอกชน รวมทั้งรับรองระบบคุณภาพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยสามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น นายอนุกูล แต้มประเสริฐ อุปนายก สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (เอทีเอสไอ) กล่าวถึงการดำเนินการจัดตั้งมาตรฐานอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (Thai Quality Software หรือ TQS) ว่าการจัดตั้งมาตรฐานอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย เป็นหนึ่งในโครงการหลักที่ทางสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยผลักดันให้เกิดขึ้น เพื่อยกระดับซอฟต์แวร์ไทยให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการสร้างความสามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศในอนาคต โดยขณะนี้ TQS ได้รับการอนุเคราะห์จากสวท. ในการรับรองเกณฑ์มาตรฐานในจุดเริ่มต้น ซึ่งต่อไปมาตรฐานดังกล่าวจะเป็นมาตรฐานกลางที่เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ของประเทศ ภายใต้ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) อีกทั้งสมาคมฯ ได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐในการผลักดันให้ TQS เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานกลางในการจัดซื้อจัดจ้างซอฟต์แวร์ของภาครัฐ ซึ่งก่อนหน้านี้ทางสมาคมฯได้รับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการและฝึกอบรมเพื่อเป็นจำนวนมากกว่า 50 ราย โครงการ TQS เป็นหนึ่งในโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการชุบชีวิตธุรกิจไทย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยโครงการดังกล่าวจะใช้ระยะเวลาทั้งสิ้นเป็นเวลาประมาณ 6 เดือน คาดว่าจะมีบริษัทที่จะสอบผ่านเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าวในเบื้องต้นจำนวนไม่น้อยกว่า 30 ราย ซึ่งนอกจากการสร้างเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าวให้เป็นมาตรฐานเบื้องต้นของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยแล้ว สมาคมยังได้จัดตั้ง Quality Circle ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวมตัวผู้มีความรู้ความสามารถให้สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความชำนาญทางด้านคุณภาพซึ่งจะส่งเสริมให้ TQS เป็นมาตรฐานที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การจัดทำเกณฑ์คุณภาพ TQS เพื่อยกระดับคุณภาพการผลิตซอฟต์แวร์ไทยโดยอ้างอิงจากมาตรฐานสากล ซึ่งจะสร้างความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย อนึ่งสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยได้ริเริ่มและนำเสนอแนวความคิดและรูปแบบการจัดทำไปครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และได้รับการตอบรับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมให้การสนับสนุนเป็นอย่างดีรวมทั้งมีบริษัทเอกชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการอีกเป็นจำนวนมาก สมาคมฯมีความยินดีที่จะขยายโครงการดังกล่าวให้ผู้มีประกอบการที่มีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมโครงการ ทั้งที่เป็นสมาชิกหรือไม่ก็ตาม ได้มีโอกาสและส่วนร่วมในการผลักดันการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศไทย อนึ่งสมาคมฯ มีเป้าหมายในการจัดทำเกณฑ์คุณภาพ TQS อย่างน้อยปีละ 100 บริษัท ซึ่งในอีก 3 ปีข้างหน้า สมาคมฯ หวังว่าบริษัทต่างๆที่เข้าร่วมโครงการมาตรฐาน TQS ในระดับที่สูงขึ้นจะได้รับการรับรองจากเกณฑ์มาตรฐานในระดับนานาชาติไม่น้อยกว่า 100 รายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ ดร. ชิต เหล่าวัฒนา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวท.) กล่าวว่าสาเหตุที่สวท. ให้การรับรองมาตรฐาน TQS เนื่องจาก สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นองค์กรที่มีหน้าที่สนับสนุนส่งเสริมให้บริการทางด้านวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การให้บริการทางด้านเทคโนโลยีกับภาครัฐและเอกชน ครอบคลุมการรับรองระบบคุณภาพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในระดับประเทศ ในขณะเดียวกันก่อนที่สวท. จะให้การรับรองมาตรฐาน TQS สวท. ได้ตรวจสอบวัตถุประสงค์ ระเบียบ วิธีปฏิบัติ รวมทั้งรายละเอียดต่างๆ ของการจัดทำมาตรฐาน TQS อยางละเอียด พบว่ามีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน ได้มาตรฐาน ตามกระบวนปฏิบัติในระดับสากล "บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ TQS จะได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองคุณภาพออกโดย สวท. สามารถนำไปใช้ยืนยันได้ เพราะเป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ซอฟต์แวร์ไทยขยายตัวไปสู่อุตสาหกรรมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น" ดร.ชิตกล่าว ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณเรวดี ตั้งสกุล โทร. 0 2971 3711 แฟ็กซ์ 0 2521 9030 อีเมล์: [email protected] หรือเยี่ยมชมเว็บไซด์ของเอทีเอสไอได้ที่ www.atsi.or.th ขั้นตอนการจัดทำ TQS และการจัดทำ Certify TQS TQS แบ่งออกเป็นระดับต่างๆ 5 ระดับซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ขั้นตอนการจัดทำ Certify TQS แบ่งได้ดังต่อไปนี้ 1. ฝึกอบรม Quality Training โดยผู้ชำนาญการ โดยนำแบบฉบับของการฝึกอบรมโดยใช้มาตรฐาน 12207 เป็นเกณฑ์เป็น มาตรฐาน ในส่วนของภาคปฏิบัติการฝึกอบรมจะเป็นแบบ Do by Example ทั้งได้นำตัวอย่าง Template ของเอกสารต่างๆ มาใช้เป็นต้น แบบของการฝึกอบรม 2. ปฏิบัติและทดลอง (Practice) โดยคัดเลือกโครงการ ที่เหมาะสมอย่างน้อย 1 โครงการ นำมาฝึกปฏิบัติตามขั้นตอน โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติตามขั้นตอนและขบวนการมาตรฐานเป็นหลัก เมื่อสิ้นสุดของการนำไปปฏิบัติและทดลองใช้ ที่ปรึกษาควรจะจัดทำ Mini Assessment เมื่อเป็นการซักซ้อมและทำความเข้าใจขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้เข้าใจถึงขั้นตอน Assessment ที่แท้จริง 3. Assessment และ ยกระดับคุณภาพ ตามคุณภาพมาตรฐานที่เหมาะสม ซึ่ง Assessor จะเป็นผู้เข้ามาตรวจและวิเคราะห์การทำงาน และ ตรวจสอบระบบเอกสารตามจำนวนเอกสารที่ได้ระบุไว้ในแผนของแต่ละขั้นตอน ตัวอย่างเช่นใน TQS Level 1 การ Assessment จะมุ่งเน้นที่องค์ประกอบของ Software Engineering หลักๆ ดังต่อไปนี้ 1. การเก็บความต้องการ (Requirement) 2. การออกแบบ (Design) 3. การพัฒนาโปรแกรม (Coding) และการจัดทำเอกสาร (Documentation) 4. การทดสอบ (Testing) 5. การบริหารจัดการตามการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาแก้ไขเพิ่มเติม (Change Management และ Modification and Maintenance Management-- จบ-- -ศน-

ข่าวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี+มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวันนี้

สอวช. ผนึก มจธ. เปิดหลักสูตร STIP รุ่นที่ 7 มุ่งผลิตนักออกแบบนโยบายตอบโจทย์ประเทศ

สอวช. ร่วมกับ มจธ. เปิดหลักสูตร STIP รุ่นที่ 7 มุ่งผลิตนักออกแบบนโยบายตอบโจทย์ประเทศ เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง หนุนสร้างเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดขึ้นได้จริง ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวว่า สอวช. ร่วมกับ สถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STIPI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เปิดหลักสูตรการออกแบบนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม รุ่นที่ 7 (STI Policy Design: STIP07)

ในวาระครบรอบ 65 ปี ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลย... 65 ปี มจธ. สู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ (Lifelong Learning University) ตลอดชีวิตเต็มรูปแบบ — ในวาระครบรอบ 65 ปี ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า...

TCI จัดยิ่งใหญ่ ประชุมวิชาการเครือข่ายการ... TCI จัดยิ่งใหญ่ ประชุมวิชาการเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยครั้งที่ 15 — TCI จัดยิ่งใหญ่ ประชุมวิชาการเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยครั้...

จีเอเบิล เดินหน้าสร้างแรงบันดาลใจและผลักด... จีเอเบิล ร่วมผลักดันเยาวชนไทย คว้าชัยบนเวที PDPA Hackathon 2024 — จีเอเบิล เดินหน้าสร้างแรงบันดาลใจและผลักดันศักยภาพเยาวชนไทย สู่การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี...

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับน้อง ๆ นักเรี... ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนห้องเรียนวิศว์-วิทย์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี — ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับน้อง ๆ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที...