กรุงเทพฯ--14 ม.ค.--โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย)
นายไพบูลย์ ไวความดี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำปี 2545 ด้วยตัวเลขการขายสะสมตลอดปีที่พุ่งสูงสุดในรอบ 6 ปี ถึงระดับกว่า 400,000 คัน ด้วยปริมาณการขาย 409,362 คัน อัตราการเจริญเติบโต 37.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยแบ่งออกเป็นรถยนต์นั่ง 126,353 คัน อัตราการเจริญเติบโต 20.9% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 283,009 คัน อัตราการเจริญเติบโต 47.0% รวมทั้งรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 241,266 คัน อัตราการเจริญเติบโต 43.1%
ส่วนทางด้านตัวเลขการขายรถยนต์ประจำเดือนธันวาคม 2545 มีปริมาณการขายในตลาดรวมสูงที่สุดในรอบปีถึง 48,859 คัน อัตราการเจริญเติบโต 32.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยแบ่งออกเป็น ตัวเลขการขายรถยนต์นั่ง 16,253 คัน เพิ่มขึ้น 16.4% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 32,606 คัน อัตราการเจริญเติบโต 42.5% รวมทั้งตัวเลขการขายรถกระบะขนาด 1 ตันในเซกเมนท์นี้ จำนวน 28,045 คัน และอัตราการเติบโต 38.4%
A ประเด็นสำคัญ
ตลาดรถยนต์ปี 2545
1.) ตลาดรถยนต์ปี 2545 แรงต่อเนื่อง ด้วยปริมาณการขายในระดับเกินกว่า 30,000 คัน ตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาสแรกของปีในเดือนมีนาคมเป็นต้นมา จนกระทั่งทะลุระดับเกิน 40,000 คัน ในเดือนธันวาคม ทำสถิติการขายสะสมสูงสุดในรอบ 6 ปี ถึง 409,362 คัน เติบโต 37.8% เมื่อเทียบกับ ตัวเลขการขายของปี 2544 สะท้อนภาพการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่ดีอย่างต่อเนื่องตลอดปี ที่ผ่านมา
2.) ค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ได้แนะนำรถยนต์รุ่นสำคัญ ๆ หลายรุ่นเข้าสู่ตลาด และได้รับการตอบรับจาก ผู้บริโภค ซึ่งมีความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอยมากยิ่งขึ้นจากสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของไทยในปีที่ผ่านมาที่แข็งแรงขึ้นโดยลำดับ อาทิเช่น "โตโยต้า คัมรี" และ"ฮอนด้า ซีอาร์วี" ในช่วงไตรมาสแรก ติดตามด้วย "โตโยต้า ไฮลักซ์ ไทเกอร์ ดีโฟร์ดี" "อีซูซุ ดีแม็กซ์" และ "มิตซูบิชิ สตราด้า จี-วาก้อน" ในไตรมาสที่ 2 "ฟอร์ด เรนเจอร์ โอเพ่นแค็บ" และ "มาสด้า ฟรีสไตล์แค็บ" ใน ไตรมาสที่ 3 พร้อมทั้ง "โตโยต้า โซลูน่า วีออส" และ "ฮอนด้า ซิตี้" ในช่วงไตรมาสสุดท้าย พร้อมด้วยรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ อีกหลายรุ่น ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการในการซื้อรถยนต์ ทั้งการซื้อเพื่อทดแทนรถยนต์คันเก่าที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน และการซื้อโดยความต้องการใช้ รถยนต์ของกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่
3.) นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ส่งผลดีอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งต่อสภาพเศรษฐกิจ และตลาดรถยนต์โดยรวม นอกจากนี้การแข่งขันทางด้านสินเชื่อการเช่าซื้อรถยนต์ ด้วยเงื่อนใขพิเศษ ดาวน์ต่ำ-ดอกเบี้ยต่ำ-ระยะเวลาการผ่อนชำระนาน และ การยืดระยะเวลาการผ่อนชำระงวดแรกออกไปอีก 3 เดือน พร้อมของสมนาคุณ มีส่วนช่วยในการกระตุ้น การตัดสินใจซื้อรถยนต์ของผู้บริโภคได้อย่างสัมฤทธิ์ผล
4.) การจัดงานแสดงรถที่ยิ่งใหญ่ระดับชาติอย่างงาน "บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์" ในช่วงปลายไตรมาสแรก และงาน "มหกรรมยานยนต์" ในช่วงปลายไตรมาสสุดท้ายของปี มีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการช่วยกระตุ้นความต้องการใช้รถยนต์ พร้อมทั้งกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ สำหรับผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไปเยี่ยมชมงาน ซึ่งนอกจากเป็นการได้รับทราบข่าวสาร และวิวัฒนาการเทคโนโลยียานยนต์ใหม่ล่าสุดแล้ว ยังเป็นโอกาสทองในการเลือกสั่งจองรถยนต์รุ่นที่ตรงกับความต้องการ และเลือกรับเงื่อนไขในการซื้อที่คุ้มค่าที่สุด
ตลาดรถยนต์เดือนธันวาคม 2545
1.) ความเคลื่อนไหวสำคัญของตลาดรถยนต์เดือนธันวาคม เกิดขึ้นในตลาดรถยนต์นั่ง จากการ เปิดตัวของรถยนต์คอมแพ็คซีดานรุ่นสำคัญแห่งปี ได้แก่ "โตโยต้า โซลูน่า วีออส" และ "ฮอนด้า ซิตี้" ซึ่งต่างแนะนำเข้าสู่ตลาดในช่วงเวลาเดียวกัน และประสบความสำเร็จได้รับความนิยม จากผู้บริโภคเป็นอย่างสูงภายในเวลาอันรวดเร็ว
2.) ในช่วงไตรมาสสุดท้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนธันวาคมของทุกปี ถือเป็นช่วงฤดูการขายสูงสุดแห่งปี (High Season) ซึ่งค่ายรถยนต์ต่างทุ่มแคมเปญส่งเสริมการขาย เพื่อหวังกวาดตัวเลขยอดขายในช่วงสุดท้ายก่อนปิดตัวเลขการขายประจำปี
A สรุปยอดจำหน่ายรถยนต์ ประจำปี 2545
1.) ตลาดรถยนต์รวม ตัวเลขการขาย 409,362 คัน อัตราการเจริญเติบโต 37.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
อันดับที่ 1 โตโยต้า 130,052 คัน เพิ่มขึ้น 55.7% ส่วนแบ่งตลาด 31.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 92,730 คัน เพิ่มขึ้น 31.6% ส่วนแบ่งตลาด 22.7%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 54,266 คัน เพิ่มขึ้น 39.8% ส่วนแบ่งตลาด 13.3%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ตัวเลขการขาย 126,353 คัน เติบโต 20.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
อันดับที่ 1 โตโยต้า 50,734 คัน เพิ่มขึ้น 43.1% ส่วนแบ่งตลาด 40.2%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 35,464 คัน เพิ่มขึ้น 1.9% ส่วนแบ่งตลาด 28.1%
อันดับที่ 3 นิสสัน 12,788 คัน เพิ่มขึ้น 4.0% ส่วนแบ่งตลาด 10.1%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ตัวเลขการขาย 241,266 คัน อัตราการเจริญเติบโต 43.1% เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
อันดับที่ 1 อีซูซุ 87,924 คัน เพิ่มขึ้น 33.4% ส่วนแบ่งตลาด 36.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 73,286 คัน เพิ่มขึ้น 71.1% ส่วนแบ่งตลาด 30.4%
อันดับที่ 3 นิสสัน 29,565 คัน เพิ่มขึ้น 51.1% ส่วนแบ่งตลาด 12.3%
4.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ตัวเลขการขาย 283,009 คัน อัตราการเจริญเติบโต 47.0% เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
อันดับที่ 1 อีซูซุ 92,725 คัน เพิ่มขึ้น 31.9% ส่วนแบ่งตลาด 32.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 79,318 คัน เพิ่มขึ้น 65.0% ส่วนแบ่งตลาด 28.0%
อันดับที่ 3 นิสสัน 31,566 คัน เพิ่มขึ้น 41.2% ส่วนแบ่งตลาด 11.2%
A สรุปยอดจำหน่ายรถยนต์ ประจำเดือนธันวาคม
1.) ตลาดรถยนต์รวม ตัวเลขการขาย 48,859 คัน อัตราการเจริญเติบโต 32.6% เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีที่แล้ว
อันดับที่ 1 โตโยต้า 14,881 คัน เพิ่มขึ้น 30.5% ส่วนแบ่งตลาด 30.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,971 คัน เพิ่มขึ้น 35.6% ส่วนแบ่งตลาด 22.5%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 7,888 คัน เพิ่มขึ้น 34.5% ส่วนแบ่งตลาด 16.1%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ตัวเลขการขาย 16,253 คัน อัตราการเจริญเติบโต 16.4% เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
อันดับที่ 1 โตโยต้า 6,286 คัน เพิ่มขึ้น 46.0% ส่วนแบ่งตลาด 38.7%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 5,869 คัน เพิ่มขึ้น 8.3% ส่วนแบ่งตลาด 36.1%
อันดับที่ 3 นิสสัน 1,413 คัน เพิ่มขึ้น 10.8% ส่วนแบ่งตลาด 8.7%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ตัวเลขการขาย 28,045 คัน อัตราการเจริญเติบโต 38.4%
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
อันดับที่ 1 อีซูซุ 10,332 คัน เพิ่มขึ้น 35.6% ส่วนแบ่งตลาด 36.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 8,040 คัน เพิ่มขึ้น 21.8% ส่วนแบ่งตลาด 28.7%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 4,054 คัน เพิ่มขึ้น 100.4% ส่วนแบ่งตลาด 14.5%
4.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ตัวเลขการขาย 32,606 คัน อัตราการเจริญเติบโต 42.5% เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
อันดับที่ 1 อีซูซุ 10,971 คัน เพิ่มขึ้น 35.7% ส่วนแบ่งตลาด 33.6 %
อันดับที่ 2 โตโยต้า 8,595 คัน เพิ่มขึ้น 21.0% ส่วนแบ่งตลาด 26.4%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 4,155 คัน เพิ่มขึ้น 88.1% ส่วนแบ่งตลาด 12.7%--จบ--
-ศน-