บ้านปลักไม้ลายไอเดียเจ๋ง ปั้น “ไกด์รุ่นจิ๋ว” พาเที่ยวป่าสมุนไพร

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--22 ต.ค.--สกว. “ชุมชนปลักไม้ลาย” แหล่งเรียนรู้สมุนไพรไทยต้นแบบ เดินหน้าปั้นมัคคุเทศก์น้อยดึงนักเรียนชั้น ป.5-ป.6 โรงเรียนวัดปลักไม้ลายนำชมสวนสมุนไพร ช่วยสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ปลูกฝังให้เด็กรักและหวงแหนป่าชุมชน พร้อมนำความรู้ที่ได้จากการนำชมสวนสมุนไพรกลับไปใช้ในชีวิตประจำวัน ( สามารถดาวน์โหลดเนื้อข่าวนี้ได้ที่ http://pr.trf.or.th ) …………………………………………………………………………………………… “ปลักไม้ลาย" เป็นชุมชนขนาดไม่ใหญ่นักอยู่ใน ต.ทุ่งขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม อยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครปฐมไปตามถนนมาลัยแมน (นครปฐม - สุพรรณบุรี) ประมาณ 20 กม.ก่อตั้งมากว่า 100 ปีแล้ว ชาวบ้านยุคแรก ๆ เป็นคนจีนที่อพยพมาจากตัวนครปฐมเพื่อจับจองที่ดินทำมาหากิน มีส่วนหนึ่งที่มาจากมณฑลซัวเถา ประเทศจีน ปัจจุบันหลายคนยังมีชีวิตอยู่แต่อายุอย่างน้อย 80 ปีแล้ว อาชีพส่วนใหญ่ทำการเกษตรกรรม เช่นอ้อย หน่อไม่ฝรั่ง ปัจจุบันมีการปลูกพืชปลอดสารพิษบ้าง วัดปลักไม้ลายนอกจากเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของชาวบ้านแล้ว ปัจจุบันยังเป็นผู้นำในการปลูกป่าด้วย จากพื้นที่เคยแห้งแล้งปัจจุบันเนื้อที่ 92 ไร่กลายเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ โดยกว่า 70 ไร่เป็นป่าสมุนไพรกว่า 500 ชนิดกับเกิดเองตามธรรมชาติราว 300 ชนิด ที่เหลือปลูกเพิ่มเติม มีการเขียนชื่อและสรรพคุณของสมุนไพรทุกต้นติดไว้ด้วย และเริ่มโครงการเที่ยวป่าสมุนไพรตั้งแต่ปี 42 จนกลายเป็นแหล่งศึกษาเรื่องสมุนไพรที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ ดร.คีรีบูน วงวุฒิเวศย์ อาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ทำวิจัยเรื่อง ”การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เรื่องสมุนไพรชุมชนปลักไม้ลาย” ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เปิดเผยว่า ชุมชนปลักไม้ลายมีโรงเรียน 1 แห่งคือโรงเรียนปลักไม้ลายสอนตั้งแต่อนุบาลถึง ป.6 มีกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักสมุนไพรตั้งแต่สรรพคุณจนถึงการปลูกและดูและรักษา ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างดีทั้งจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีความรู้เรื่องสมุนไพร เจ้าอาวาสวัดปลักไม้ลาย องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และสถานีอนามัย ต.ทุ่งขวาง ที่จัดกิจกรรมและส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกและแปรรูปสมุนไพรในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ายังมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องการเข้ามาศึกษาพืชสมุนไพรที่วัดปลักไม้ลาย ทางคณะนักวิจัยจึงร่วมกับชาวบ้าน วัด และโรงเรียน พัฒนามัคคุเทศก์ในชุมชนขึ้นเพื่อเป็นผู้นำเยี่ยมชมป่าสมุนไพรวัดปลักไม้ลาย โครงการนี้นอกจากจะทำให้เด็กมีความรู้เรื่องการนำชมป่าแล้วยังช่วยปลูกฝังความรักและหวงแหนป่าในชุมชนด้วย โดยคัดเลือกนักเรียนจากโรงเรียนวัดปลัดไม้ลายเนื่องจากเป็นโรงเรียนที่อยู่ติดกับบริเวณป่าสมุนไพร ทำให้ง่ายต่อการนำชมป่าสมุนไพรเมื่อมีผู้ขอเข้าเยี่ยมชม ด้านนายธรรมศักดิ์ บารมีรังสิกุล อาจารย์โรงเรียนวัดปลักไม้ลาย กล่าวว่า โครงการมัคคุเทศน้อยเริ่มมีการอบรมนักเรียนเพื่อเป็นมัคคุเทศก์เมื่อเดินธันวาคม 544 โดยรุ่นแรกมีประมาณ 80 คน ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนชั้น ป.5และป.6 เริ่มฝึกอบรมปฏิบัติการในป่าสมุนไพรวัดปลักไม้ลายและให้นักเรียนไปดูงานการเป็นมัคคุเทศก์และแลกเปลี่ยนความรู้กับนักเรียนโรงเรียนอื่นเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และความมั่นใจให้แก่เด็ก ซึ่งเมื่อนักเรียนกลับมาทำหน้าที่มัคคุเทศก์นำชมป่าสมุนไพรก็พบว่าสามารถทำได้ดี ส่วนที่ว่าเมื่อนักเรียนต้องมาเป็นมัคคุเทศก์ด้วยแล้วจะส่งผลเสียต่อการเรียนการสอนหรือไม่นั้นจากการติดตามผลพบว่าเด็กนักเรียนเหล่านี้จะไม่มีปัญหาอะไร เพราะเด็กส่วนใหญ่ที่ทางโรงเรียนจัดมาส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่เรียนเก่งและมีความรับผิดชอบอยู่แล้ว และการทำหน้าที่มัคคุเทศก์ก็เป็นการสับเปลี่ยนกันมาในแต่ละชั่วโมง ไม่ใช่ตลอดทั้งวัน เมื่อนักเรียนกลับไปก็ต้องติดตามเรื่องการเรียนให้ทันเพื่อน พระครูสุธรรมนาถ เจ้าอาวาสวัดปลักไม้ลาย กล่าวว่า โครงการมัคคุเทศก์น้อยพาชมสวนสมุนไพรถือเป็นโครงการหนึ่งที่จะช่วยให้ความรู้เรื่องแพทย์แผนไทยได้เป็นอย่างดี เพราะผู้ชมจะได้รู้จักพืชสมุนไพร ประโยชน์ใช้สอยจากการซักถามมัคคุเทศก์ ซึ่งสามารถนำกลับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และได้รู้ว่ายาไทยมีประโยชน์อย่างไร ที่สำคัญคือยาไทยไม่มีผลข้างเคียงเหมือนยาแผนปัจจุบัน นอกจากนี้การมีความรู้เรื่องยาสมุนไพรที่สามารถหาได้ในชุมชนยังก่อให้เกิดสัมพันธภาพอันดีระหว่างเด็ก ผู้ใหญ่ และคนในชุมชนได้อีกทาหนึ่ง "ยาสมุนไพรเป็นเรื่องที่ต้องสืบทอดความรู้ เพราะสมุนไพรมีประโยชน์ทั้งนำมากิน นำมาขาย ทำให้ชาวบ้านช่วยตัวเองได้ ไม่เหมือนยาแผนปัจจุบันที่ต้องซื้อเขาอย่างเดียวจนเราต้องตกเป็นทาสทางปัญญาต่างชาติในที่สุด” สามารถดาวโหลดบทความและภาพประกอบที่ http://pr.trf.or.th หรือติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ สกว. โทร.298-0455-72 ต่อ 159,160--จบ-- -ศน-

ข่าวภูมิปัญญาท้องถิ่น+มัคคุเทศก์น้อยวันนี้

ซอฟต์พาวเวอร์พะเยา หัวข้อวิทยานิพนธ์ ว่าที่ ดร. กานต์ สุวิตตา ภัทรประสงค์ ลูกหลานพญางำเมือง สำนึกรักบ้านเกิด นำคณะหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต จัดกิจกรรมแอ่วกว๊านพะเยา

ซอฟต์พาวเวอร์พะเยา หัวข้อวิทยานิพนธ์ ว่าที่ ดร. กานต์ สุวิตตา ภัทรประสงค์ ลูกหลานพญางำเมือง สำนึกรักบ้านเกิด นำคณะหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต จัดกิจกรรมแอ่วกว๊านพะเยา เมืองการเรียนรู้ วัฒนธรรมระดับยูเนสโก้ ส่งเสริม OTOP สู่ Popular Products ระหว่างวันที่ 3-5 พฤษภาคม 2568 ณ จังหวัดพะเยาภายใต้รายวิชาการจัดการความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วณิฎา ศิริวรสกุล ประธานหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต พร้อมด้วยคณาจารย์ นักศึกษาณัฐนินท์ รัชตนิธิศพงศ์ เลขานุการ

รอยัล คลิฟ โฮเต็ล กรุ๊ปได้รับตราสัญลักษณ์... รอยัล คลิฟ พัทยา ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม กับการคว้ารางวัล G-Green ระดับดีเยี่ยม — รอยัล คลิฟ โฮเต็ล กรุ๊ปได้รับตราสัญลักษณ์ G-Green โรงแรมที่เป...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว." — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์ก... "Klang Glam (ภาคกลางระยิบระยับ) โครงการแบรนด์ดิ้งผลิตภัณฑ์ภูมิภาคกลางส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทย" — สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CE...

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านภูมิสตึง อ.ปราสาท จ... สสส.และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภูมิสตึง สานพลังชุมชนสร้างพื้นที่ดี ผ่านสื่อและภูมิปัญญาท้องถิ่น — ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านภูมิสตึง อ.ปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ใช้กระ...