เอ็มเทค จัดสัมมนาพิเศษ “การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีวัสดุ”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--25 เม.ย.--เอ็มเทค เอ็มเทคร่วมสถาบันไฟฟ้า สรุปผลการดำเนินโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีวัสดุสำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย หลัง 10 เดือนที่ผ่านมาได้สำรวจคัดเลือก และทำฐานข้อมูล 520 โรงงาน เพื่อคัดเลือกโรงงานผ่านเกณฑ์ 17 แห่ง ให้คำปรึกษาแก้ปัญหาทางเทคนิค ตลอดจนพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อช่วยผู้ประกอบการรับมืออียู นายปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยในการจัดสัมมนาเรื่อง “การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีวัสดุ” ว่า ที่ผ่านมาเอ็มเทคได้ดำเนินโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีวัสดุสำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย ร่วมกับ สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเวลา 10 เดือน ผลปรากฎว่าโครงการดังกล่าวได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการเป็นอย่างดี โดยได้นำผู้เชี่ยวชาญเข้าให้คำปรึกษาแก่โรงงานรวมทั้งสิ้น 17 โรงงาน ซึ่งเป็นโรงงานที่ได้ผ่านเกณฑ์การประเมินและคัดเลือกตามข้อกำหนดของโครงการฯ ทั้งนี้ การดำเนินการประกอบด้วยการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีวัสดุ แบ่งเป็นกลุ่มเซรามิกส์ 3 โรงงาน กลุ่มโลหะ 8 โรงงาน และกลุ่มโพลิเมอร์ 6 โรงงาน โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานภาพของโรงงานอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการด้านเทคโนโลยีวัสดุสำหรับกระบวนการผลิต และลำดับความสำคัญของความต้องการดังกล่าวในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้กับผู้ประกอบการ โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีวัสดุที่เหมาะสม และเพื่อถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีจากผู้เชี่ยวชาญ สู่บุคลากรในโรงงานที่เข้าร่วมโครงการ ที่ผ่านมา ทางโครงการฯได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลโรงงานจำนวน 2,350 โรงงาน มีผู้ตอบแบบสอบถามกลับมา 520 โรงงาน จึงได้นำมาสรุปและจัดเก็บในรูปฐานข้อมูล และนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการวิเคราะห์และคัดเลือกโรงงาน มีการตรวจประเมินโรงงานโดยคณะที่ปรึกษาและคัดเลือกโรงงานเพื่อเข้าร่วมโครงการรวม 17 โรงงานดังกล่าว สำหรับผลการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาโรงงานเซรามิกส์ 3 โรงงาน ได้แก่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตลูกถ้วยไฟฟ้า การแก้ปัญหา Leakage Current / Gap and Bubble การปรับปรุงความขาวและเนื้อผลิตภัณฑ์เซรามิกส์สำหรับฉนวนไฟฟ้า เป็นต้น ส่วนผลการให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาของโรงงานโลหะ 8 โรงงงาน ได้แก่ การใช้ Finite element ช่วยการออกแบบครีบระบายความร้อนของหม้อแปลงไฟฟ้า การทำวิศวกรรมย้อนรอย(Reverse Engineering) เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ การแนะนำเทคนิคการออกแบบอุปกรณ์ช่วยการผลิตจิ๊กและฟิกซ์เจอร์ การวิเคราะห์ทดสอบวัสดุเพื่อการเลือกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์และออกแบบสมดุลสายการผลิต การแก้ปัญหาการเกิดสนิมบนชิ้นงาน รวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตในกรรมวิธีการทำแบบหล่อทรายสำหรับชิ้นส่วนมอเตอร์ไฟฟ้า เป็นต้น ทางด้านโรงงานกลุ่มพลาสติก/โพลิเมอร์ 6 โรงงานนั้น ทางโครงการได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อาทิ การทำวิศวกรรมย้อนรอยผลิตภัณฑ์ประเภทลูกกลิ้งยางในเครื่องล้างฟิล์มเอ็กซเรย์อัตโนมัติ การนำ Mold Flow Software ช่วยในการวิเคราะห์การเติมพลาสติกเข้าสู่แม่พิมพ์ ทำนายการหดตัวและบิดงอที่เกิดขึ้นในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ การช่วยพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตโฟมนำไฟฟ้า และการปรับปรุงประสิทธิภาพของการฉีดพลาสติก ทั้งนี้ ทีมผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาเหล่านี้ ได้ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ให้กับบุคลากรในโรงงานโดยตรง การจัดสัมมนาพิเศษในวันนี้ ก็เพื่อนำเสนอผลการดำเนินโครงการ และนำเสนอกรณีศึกษาการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีวัสดุ จากบางส่วนของโรงงานที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 5 โรงงาน เพื่อชี้ให้เห็นภาพที่ชัดเจนของการนำเทคโนโลยีวัสดุไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ตลอดจนคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาวัสดุทดแทนต่าง ๆ เพื่อรองรับกฎระเบียบ “การจัดการซากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์” (Waste from Electrical and Electronic Equipment Directive : WEEE) นอกจากนี้ ได้จัดให้มีปาฐกถาพิเศษเรื่องมุมมองกฎระเบียบ WEEE ปี 2003 เพื่อให้ข้อมูลและชี้แจงผลกระทบของระเบียบ WEEE ของสหภาพยุโรป(อียู) ต่ออุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย ซึ่งจะมีผลบังคับในอนาคตอันใกล้นี้ รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ รัชยา นิเทศสัมพันธ์ เอ็มเทค โทร. 0 2564 6500 ต่อ 4519--จบ-- -นห-

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+ปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์วันนี้

สวทช. จับมือมูลนิธิ SOS และ จ.ปทุมธานี สร้างชุมชนรักษ์อาหาร ดัน "ปทุมธานีฟูดแบงก์โมเดล" ต้นแบบการจัดการอาหารส่วนเกินระดับท้องถิ่น

สวทช. จับมือมูลนิธิ SOS และ จ.ปทุมธานี สร้างชุมชนรักษ์อาหาร ดัน "ปทุมธานีฟูดแบงก์โมเดล" ต้นแบบการจัดการอาหารส่วนเกินระดับท้องถิ่น มุ่งใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีบริหารจัดการอาหารส่วนเกินอย่างยั่งยืน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดปทุมธานี และมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) ลงนามความร่วมมือใน "การขยายผลโครงการบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567 — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกร... วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทย...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สวทช. โดย นาโนเทค เฟ้นหา 8 ผู้ประกอบการ ต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์นาโนเท...

ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบั... สสวท. ประกาศชัยครู - นักเรียน ยอดฝีมือ เวทีประกวดงานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม GLOBE SRC 2025 — ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนว...

"การใช้สื่อชุดกิจกรรม IPST SMART BOX สร้า... สสวท. อบรมครูวิทย์และเทคโนโลยี 4 ภาค สมัครได้ถึง 3 พฤษภาคมนี้ — "การใช้สื่อชุดกิจกรรม IPST SMART BOX สร้างผลงานโดยไม่เขียนโปรแกรม" สถาบันส่งเสริมการสอนวิท...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว. ต้อนรับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในโอกาสเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน วทน. — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโ...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด "ใบเตย" เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โด...