กรมราชทัณฑ์นำเทคโนไฮเทคดูแลแก้ไขผู้ต้องขัง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--12 พ.ค.--กระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรมเสนอแนวคิดนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในงานราชทัณฑ์ให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป วางเป้าหมาย 5 ปี ข้างหน้าสามารถตอบสนอง ความต้องการของผู้ต้องขังทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มสู่การบำบัดแก้ไขพฤตินิสัยอย่างสัมฤทธิผลในวันนี้ ( 9 พฤษภาคม 2546) นายมานิตย์ สุธาพร รองปลัดกระทรวงยุติธรรม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาพฤตินิสัยเป็นประธานในพิธีเปิดการเสวนาทางวิชการเรื่อง “นวัตกรรมและการนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานราชทัณฑ์” ณ ห้องทิพวรรณ 1 โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี โดยมีนักวิชาการ บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม องค์กรภาคเอกชน ข้าราชการกรมราชทัณฑ์ สื่อมวลชนและประชาชนประมาณ 150 คน ร่วมการเสวนา รองปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า การเสวนาทางวิชาการเชิงวิพากษ์ในครั้งนี้เป็นเรื่องที่สืบเนื่องจากการประชุมงานยุติธรรมระดับชาติ ครั้งที่ 1 เรื่องการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด ( 1 st National Symposium of Justice Administration : Treatment of Offenders ) ที่กระทรวงยุติธรรมจะจัดขึ้นในวันที่ 2 - 3 มิถุนายน 2546 ณ โรงแรมแชงการีลา กรุงเทพฯโดยหน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงยุติธรรมจะนำเสนอข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบงานยุติธรรมร่วมกัน “กรมราชทัณฑ์มีภารกิจในการปรับปรุง แก้ไข ปรับเปลี่ยนพฤตินิสัยของผู้กระทำผิดนอกเหนือไปจากการควบคุมตัว แต่ปัจจุบันผู้ต้องขังมีจำนวนเพิ่มขึ้นในขณะที่อัตรากำลังและงบประมาณมีจำกัดจึงทำให้ผู้ต้องขังในเรือนจำมีจำนวนมากกว่าผู้คุม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในงานราชทัณฑ์ เช่น การตัดสัญญาณโทรศัพท์เพื่อป้องกันการลักลอบใช้โทรศัพท์มือถือบงการค้ายาเสพติดของผู้ต้องขังในเรือนจำ การปล่อยตัวนักโทษแบบมีเงื่อนไขด้วยการให้สวมกำไลฝังไมโครชิพเพื่อติดตามความเคลื่อนไหว ซึ่งจะต้องพิจารณาถึงข้อกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนประกอบด้วย ทั้งนี้หวังว่าการระดมความคิดเห็นในวันนี้จะนำมาสู่แนวทางใหม่ ๆ ที่มาใช้ในงานราชทัณฑ์เพื่อเสนอต่อที่ประชุมงานยุติธรรมระดับชาติฯ ต่อไป” นายนัทธี จิตสว่าง รองฺอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ฝ่ายวิชาการ ได้นำเสนอกรอบแนวคิดเรื่อง “นวัตกรรมและการนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานราชทัณฑ์” โดยมีใจความสำคัญสรุปได้ว่า การนำนวัตกรรมมาใช้ในงานราชทัณฑ์นั้น กรมราชทัณฑ์จะต้องไม่ทิ้งจุดแข็งและเอกลักษณ์ขององค์กรที่มีอยู่เดิม ซึ่งในช่วงต้นปีที่ผ่านมานี้พบว่าจากสถิติในรอบ 7 ปีมานี้ จำนวนผู้ต้องขังมีจำนวนที่ลดลงจาก 2.5 แสนคน เหลือ 2.3 แสนคน เนื่องจากการนำมาตรการใหม่ ๆ มาใช้มากขึ้น เช่น โรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง โรงเรียนเกษตรโยธิน “ที่ผ่านมาผู้คุมหนึ่งคนต้องรับผิดชอบผู้ต้องขังเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดการพึ่งพาอาศัยกัน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการลักลอบนำสิ่งที่กฎระเบียบของเรือนจำ กรมราชทัณฑ์จึงมีโครงการเรือนจำไฮเทค ไว้เป็นสถานที่ควบคุมผู้ต้องขังรายสำคัญที่ใช้ระบบควบคุมผู้ต้องขังผ่านเทคโนโลยีอันทันสมัย ที่จะเริ่มในจังหวัดราชบุรีและพิษณุโลก ส่วนผู้ต้องขังรายย่อยนั้นจะเน้นการบำบัดแก้ไขฟื้นฟูอย่างเต็มที่โดยดึงบุคคลภายนอกเข้ามาร่วมมือเพื่อแก้ไขผู้ต้องขังด้วยโปรแกรม การบำบัดแก้ไขฟื้นฟูต่าง ๆ โดยในอีก 4 – 5 ปี ต่อจากนี้กรมราชทัณฑ์จะนำหลักการตลาดมาใช้ ในลักษณะ One to One Marketing กล่าวคือ การคำนึงถึงความต้องการของผู้ต้องขังเป็นรายบุคคลและรายกลุ่มว่ามีปัญหาอะไรและต้องการความช่วยเหลืออย่างไรบ้าง นอกจากนี้ยังมีขั้นตอนการติดตามช่วยเหลือหลังพ้นโทษออกจากเรือนจำ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ต้องได้รับการดูแลเพราะเมื่ออกไปสู่สังคมภายนอกอาจทำให้เขาไม่สามารถทนทานต่อสิ่งเร้าจนเป็นสาเหตุของการกลับไปกระทำผิดซ้ำ จึงต้องอาศัยองค์กรเอกชนเข้ามาช่วยดูแล สงเคราะห์เพื่อให้เขายอมรับคุณค่าของตัวเองและพร้อมปรับปรุงตัวเองต่อไป จากนั้นเป็นการวิพากษ์กรอบแนวคิดโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยพ.ต.อ.ดร.ณรัชต์ เศวตนันทน์ ช่วยราชการกระทรวงยุติธรรม นายกุลพล พลวัน อธิบดีอัยการ ฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย ศาสตราจารย์พิเศษวิชา มหาคุณ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม รศ.อัจฉราพรรณ จรัสวัฒน์ อาจารย์คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีนายบุญเลิศ ช้างใหญ่ เป็นผู้ดำเนินการวิพากษ์ และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมเสวนาแสดงความคิดเห็น--จบ-- -พห-

ข่าวกระทรวงยุติธรรม+โรงแรมริชมอนด์วันนี้

เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมราชทัณฑ์ จัดงานรวมพลังอาสาสมัครราชทัณฑ์ คืนคนดีสู่สังคม

ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ใส่ใจสร้างสรรค์สังคมคุณภาพ สนับสนุนพื้นที่ กองพัฒนาพฤตินิสัย กรมราชทัณฑ์ จัดกิจกรรม รวมพลังอาสาสมัครราชทัณฑ์ คืนคนดีสู่สังคม โดยมี นายสมพล ตรีภพนารถ (ที่ 6 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจศูนย์การค้า บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ร่วมพิธีเปิดและให้การต้อนรับ พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง (ที่ 3 จากซ้าย) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ประธานในพิธี นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ (ที่ 4 จากซ้าย) อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และ คณะผู้บริหารกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ณ ลานกิจกรรมเอ็ม

คณะนิติศาสตร์จุฬาฯ พาพลพรรคนักกฎหมาย ปั้น... Laฬ Square : มหกรรมกฎหมาย — คณะนิติศาสตร์จุฬาฯ พาพลพรรคนักกฎหมาย ปั้น Siam (Law) Square เปิด Walking Street ให้คนไทยเข้าถึง ให้คำปรึกษาเรื่องกฎหมายฟรี! ...

บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริ... รฟฟท.รับรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนประเภทรัฐวิสาหกิจ ระดับ "ดี" ประจำปี 2567 — บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ...

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ห... ซีพีเอฟ คว้ารางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ปี 2567 ระดับดีเด่น ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 — บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้รับรางวั...

บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (... ปตท.สผ. คว้ารางวัลสูงสุด องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ปี 2567 — บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. โดยนางสุศมา ปิตากุลดิลก (ซ้าย...

พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงย... วว. รับรางวัลดีเด่นองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนประจำปี 2567 — พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน "ประกาศรางวัลองค์กร...