อีสต์ ฮันโนเวอร์, เอ็น.เจ., 24 ก.พ. - พีอาร์นิวส์ไวร์ / เอเชียเน็ท
รายงานของกุมารแพทย์เปิดเผยว่าตัวยา เอลิเดล (Elidel) ปลอดภัยและสามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วยในทารกได้
ข้อมูลล่าสุดจากจุลสารกุมารเวช (Journal of Pediatrics) ฉบับเดือนกุมภาพันธ์เปิดเผยว่ายา เอลิเดล ครีม 1% (Elidel Cream 1%) ที่มีตัวยาพิเมโครลิมัส (pimecrolimus) เป็นตัวยาที่ปลอดภัยและสามารถใช้รักษาโรคผิวหนังในทารกได้ ทั้งนี้ จากผลการศึกษาพบว่าหลังจากการรักษาเป็นเวลา 6 สัปดาห์ มากกว่า 2 ครั้ง ที่ผู้ป่วยได้รับยา เอลิเดล นั้นหายขาดหรือเกือบหายดีจากอาการของโรคผิวหนังพุพอง ซึ่งให้ผลที่ดีกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยตัวยาแบบน้ำยา หรือ ยาเอลิเดลชนิดครีมที่ไม่มีส่วนผสมที่เป็นตัวกระตุ้น ซึ่งกลุ่มผู้เขียนบทความดังกล่าวสรุปว่าตัวยา เอลิเดล เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาอาการป่วยของทารก
ข้อมูลดังกล่าวยังได้เปิดเผยอีกว่า 10%-15% ของเด็กอายุต่ำว่า 5 ปี ในประเทศพัฒนาแล้วมีอาการป่วยของโรคผิวหนังพุพอง และ 48% - 75% ของเด็กที่ป่วยแสดงอาการระยะแรกในช่วงอายุ 6 สัปดาห์แรกเกิด ซึ่งหากไม่รับการรักษาโรคผิวหนังพุพองดังกล่าว จะส่งผลกระทบระยะยาวต่อทารกและเด็กเล็กที่เป็นโรคนี้ สำหรับวิธีการรักษาโดยทั่วไปมีตั้งแต่การให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว หรือการให้มอยซ์เจอร์ไรเซอร์ (moisturizers) และการรักษาระยะสั้นด้วยวิธี คอร์ติคอสเตอรอยด์ (corticosteroids) อย่างไรก็ตาม หากใช้ตัวยาคอร์ติคอสเตอรอยด์มากเกินไปจะเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา และเด็กทารกจะมีปฏิกิริยาต่อผลข้างเคียงนั้นไวกว่าเด็กโต
นายแพทย์ลอว์เรนซ์ ไอเคนฟิลด์ (Lawrence Eichenfield, M.D.) กุมารแพทย์และแพทย์ผิวหนัง ประธานฝ่ายโรคผิวหนังในเด็กและผู้ใหญ่ โรงพยาบาลเด็ก ในซานดิเอโก และอาจารย์แพทยศาสตร์ แผนกโรคผิวหนังและยาเกี่ยวกับโรคผิวหนังในเด็ก มหาวิทยาลัย ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ แคลิฟอร์เนีย ในซานดิเอโก ได้เปิดเผยว่า "ทั้งผู้ปกครองและแพทย์ต่างเป็นห่วงในการรักษาโรคผิวหนังในเด็กด้วยตัวยาคอร์ติคอสเตอรอยด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาโรคผิวหนังเรื้อรังอย่าง โรคผิวหนังพุพอง (eczema) ซึ่งข้อมูลนี้จะสนับสนุนการรักษาโรคผิวหนังพุพองในทารกด้วยตัวยาเอลิเดล" ทั้งนี้ นายแพทย์ไอเคนฟิลด์ เป็นผู้เชี่ยวชาญและไม่ได้เป็นหนึ่งในผู้เขียนบทความดังกล่าว
รายละเอียดการศึกษา
การสุ่มศึกษาแบบ ดับเบิล บลายด์ (double-blind) และ การใช้ตัวยาชนิด เวฮิเคิล (vihicle-controlled) โดยศึกษาจากผู้ป่วยทารก 186 ราย ที่มีอายุ 3-23 เดือน และมีอาการป่วยด้วยโรคผิวหนังพุพองอย่างน้อย 5% ของผิวหนังทั้งร่างกาย และแบ่งการรักษาเป็นตัวยาเอลิเดล รหัส เอ็น = 123 (n = 123) หรือยาขนิดเวฮิเคิล รหัส เอ็น = 63 (n = 63) 2 ครั้ง ต่อวัน โดยเว้นระยะห่างแต่ละครั้งเกือบ 12 ชั่วโมง ทั้งนี้ผิวหนังบริเวณที่ไม่พุพอง หรือผิวหนังพุพองที่หายดีแล้วจะไม่ได้รับตัวยาดังกล่าว ผลการศึกษาแบบ ดับเบิล บลายด์ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ตามด้วยการทดลองรักษาในขั้นเปิด อีก 20 สัปดาห์ และระหว่างการทดลองรักษานี้ ผู้ป่วยที่รับยาชนิด เวฮิเคิล สามารถเปลี่ยนเป็นการรักษาด้วยยาเอลิเดลได้
เมื่อครบระยะเวลา 6 เดือน ของการศึกษาแบบ ดับเบิล บลายด์ พบว่า 54.5% ของผู้ป่วยที่ได้รับตัวยาเอลิเดล หายดีหรือเกือบหายจากโรคผิวหนังพุพอง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้ตัวยาแบบเวฮิเคิล ที่มีเพียง 23.8% (23.8% ; P<.001) ทั้งนี้ การปรับปรุงการรักษาได้รับการพิจารณาโดยกลุ่มนักสำรวจ โดยเร็วที่สุดหลังส่งผลการศึกษาชุดแรกไปในวันที่ 8 ซึ่งได้พบความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดระหว่างผลการศึกษาที่ส่งมาอีกรอบหนึ่งในวันที่ 15 โดยการปรับปรุงที่มีผลเหมือนกันพบได้จากการประเมินการศึกษา สำหรับผู้ป่วยที่รับการศึกษาแบบ ดับเบิล บลายด์ นั้นมีอาการดีขึ้นและคงที่อยู่จนถึงในขั้นทดลองต่อเนื่อง และผู้ป่วย 56 รายในกลุ่มเวฮิเคิลที่เปลี่ยนการรักษาในช่วงต่อเนื่องเป็นการรักษาด้วยยาเอลิเดล มีผลการรักษาโรคเช่นเดียวกับกลุ่มผู้ป่วยที่รับตัวยาเอลิเดลอย่างต่อเนื่อง
การเกิดผลข้างเคียงและการติดเชื้อทางผิวหนังระหว่างการทดลองนี้เกิดขึ้นน้อยมาก คิดเป็นตัวเลขน้อยกว่า 5% ของกลุ่มผู้ป่วยที่สุ่มศึกษา ทั้งยังไม่ใช่อาการร้ายแรงและส่วนมากไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษานี้
เกี่ยวกับเอลิเดล
เอลิเดล เป็นตัวยาชนิดครีมที่ปราศจากฮอร์โมนสตีรอยด์ ใช้สำหรับรักษาอาการโรคผิวหนังพุพองในผู้ป่วยที่อายุน้อยราว 2 ปี และตัวยาดังกล่าวนี้ได้รับอนุมัติให้ใช้รักษาโรคในระยะสั้น หรือระยะยาวแต่มีการหยุดพักชั่วคราว สำหรับการรักษาโรคผิวหนังพุพองที่ต้องใช้ตัวยาอ่อนๆ ในผู้ป่วยที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน แทนการรักษาชนิดอื่นๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่างๆ การตอบสนองต่อตัวยาน้อยเกินไป และอาการแพ้ยา ทั้งนี้ ยาเอลิเดล ผลิตและจำหน่ายโดย โนวาร์ติส (Novartis)
ปัจจุบันนี้ 17% ของประชาชนชาวอเมริกันป่วยเป็นโรคผิวหนังพุพอง โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่แสดงอาการชัดเจนจะมีอายุอยู่ในช่วง 2ปี และแก่กว่า ซึ่งการรักษาด้วยวิธีทั่วๆ ไป อาจไม่ได้ผลที่ดีพอ แต่ตัวยา เอลิเดล เป็นการเพิ่มทางเลือกในการรักษาโรคดังกล่าวแก่ประชากรจำนวนมากอีกทางหนึ่ง
ทั้งนี้ ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับผิวหนังมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อย ถึงปานกลาง คือมีอาการอุ่นหรือรู้สึกร้อนที่ผิวหนัง เกิดขึ้นชั่วคราว คิดเป็น 8% ของเด็กอายุ 2-17 ปี และ 26% ในผู้ใหญ่ที่มีอาการดังกล่าว ผลข้างเคียงนี้เกิดขึ้นชั่วคราวและเกิดกับผู้ป่วยที่รับตัวยาแบบ เวฮิเคิล สำหรับผลข้างเคียงอื่นๆ มีทั้งอาการปวดหัว และอาการของโรคหวัด เช่น การคัดจมูก เจ็บคอ และไอ ซึ่งตัวยาเอลิเดลไม่ใช่ตัวยากระตุ้นหรือก่อให้เกิดอาการแพ้และไม่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง
ตัวยา เอลิเดล ได้รับการพัฒนาโดย สถาบันวิจัยโนวาร์ติส (Novartis Research Institute) จึงสามารถใช้ได้กับผิวหนังทุกแบบ รวมถึงบริเวณที่อ่อนบางเช่น ใบหน้า และลำคอ สำหรับสารที่เป็นตัวกระตุ้นในการรักษาหรือ พิเมโครลิมัส (pimecrolimus)ได้จาก แอสโคไมซิน (ascomycin) สารตามธรรมชาติที่ได้จากสกัดเชื้อรา สเตร็ปโตไมเซส (Streptomyces) ซึ่งสาร พิเมโครลิมัส นี้ได้รับการสกัดเพื่อผลิตใช้กับรักษาอาการอักเสบแดง และคัน ที่เกิดขึ้นบริเวณ ทีเซลล์ (T cells) อันเป็นสาเหตุของโรคผิวหนังพุพอง
ข้อมูลนี้มีคำกล่าวพาดพิงถึงอนาคตและเกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ ซึ่งคำต่างๆ ได้แก่ "รักษาได้" "อาจใช้ในการรักษา" "แสดง" "สำคัญ" "มีประสิทธิภาพ" หรือคำอื่นๆ ที่มีความหมายไปในทิศทางเดียวกันนี้ หรือคำพูดต่างๆ การอธิบายถึงกลยุทธ์ ข้อมูลนี้รวมไปถึงคำอธิบายที่เกี่ยวข้องกับตัวยา เอลิเดล ครีม 1% ที่มีตัวยา พิเมโครลิมัส และผลการทดสอบทางการแพทย์ และการอนุมัติจากองค์การอาหารและยา และเกี่ยวข้องกับภาพพจน์ของบริษัทฯ ที่ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในอนาคต และเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน หรือความสำเร็จของบริษัทฯ และข้อเท็จจริงต่างๆ สามารถทำให้เกิดผลต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการกล่าวถึงอนาคตนี้ได้ และไม่มีคำยืนยันใดๆ ต่อผลของยา เอลิเดล ครีม 1% ที่มีตัวยา พิเมโครลิมัส ในการจำหน่ายไม่ว่าที่ใดๆ ทั้งสิ้น และความสำเร็จอาจเกิดขึ้นได้ท่ามกลางสิ่งอื่นๆ ประกอบกัน เช่นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ผลจากการรักษาทางการแพทย์ ประสิทธิภาพในการรักษาอาการของโรค หรือการป้องกันโรคอื่นๆ ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปหรือจากปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่อยู่ในเอกสาร 20-เอฟ (20-F) ของบริษัทฯ ที่ทำไว้กับ หน่วยรักษาความปลอดภัยและการแลกเปลี่ยนแห่งสหรัฐฯ (Securities and Exchange Commission of the United States)
เกี่ยวกับโนวาร์ติส
โนวาร์ติส ฟาร์มาซูติคัลส์ คอร์ปอเรชั่น (Novartis Pharmaceuticals Corporation) เป็นผู้วิจัย พัฒนา ผลิตและทำตลาดตัวยาและการรักษาโรคต่างๆ รวมถึงความผิดปกติกับระบบประกาศส่วนกลาง และอวัยวะ โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ โรคผิวหนัง ความผิดปกติต่างๆ และโรคมะเร็ง จุดมุ่งหมายของบริษัทฯ คือการพัฒนาชีวิตมนุษย์ด้วยโซลูชั่นการดูแลรักษาสุขภาพ
บริษัทฯ มีสำนักงานอยู่ที่ อีสต์ ฮันโนเวอร์ รัฐนิวเจอร์ซี่ และเป็นบริษัทในเครือของ โนวาร์ติส เอจี (Novartis AG) (ชื่อในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ค NYSE :NVS) ซึ่งเป็นผู้นำด้านเวชภัณฑ์และการรักษาสุขภาพ ในปี 2545 กลุ่มธุรกิจมียอดขายมูลค่า 32.4 พันล้านเหรียญสวิส หรือ 20.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และรายได้สุทธิมูลค่า 7.3 พันล้านเหรียญสวิส หรือ 4.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ การลงทุนของกลุ่มบริษัทฯ มีมูลค่าเกือบ 4.3 พันล้านเหรียญสวิส หรือ 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการวิจัยและพัฒนา บริษัทฯ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองบาเซล ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ปัจจุบันมีพนักงานประมาณ 72,900 คน และมีการดำเนินงานอยู่ในกว่า 140ประเทศทั่วโลก สามารถเรียกดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ : http://www.pharma.us.novartis.com หรือ http://www.novartis.com
ติดต่อ
รูเดอร์ ฟินน์ (Ruder Finn) โนวาร์ติส ฟามาซูติคัลส์ คอร์ปอเรชั่น
เมแกน ฮัมฟรีย์ (Megan Humphrey) โทรฯ 862 778-6724
คาร์รี่ โกลด์สเตน (Carrie Goldstein) โทรฯ 212 715-1693
โนวาร์ติส คอร์ปอเรชั่น
คัมรัน ทาเวนการ์ (Kamran Tavangar) (นักลงทุนสัมพันธ์) โทรฯ 212-830-2433
ที่มา โนวาร์ติส ฟาร์มาคิวติคัลส์ คอร์ปอเรชั่น วันที่ 24 ก.พ. 2546
หมายเหตุถึงบรรณาธิการ
ข้อมูลทั้งหมดสามารเรียกดูได้ที่เว็บไซต์ www.elidel.com หรือติดต่อ เมแกน ฮัมฟรีย์
การดำเนินงาน ติดต่อที่ โทรฯ 862 778-6724 หรือ อี-เมล์
ติดต่อ เมแกน ฮัมฟรีย์ โทรฯ +1-862-778-6724 หรือ
คัมรัน ทาแวนการ์ นักลงทุนสัมพันธ์ โทรฯ +1-212-830-2433 หรือ
คาร์รี่ โกลด์สเตน บริษัท รูเดอร์ ฟินน์ โทรฯ +1-212-715-1693
เฟิร์สคอลล์ อนาไลซ์ (First Call Analyst)
เว็บไซต์ : http://www.pharma.us.novartis.com
www.novartis.com
เอ็นวีเอส (NVS)
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท (www.asianetnews.net)--
-วจ/พธ-
พบผู้ใช้รถยนต์ในไทยรายงานปัญหาคุณภาพรถเพิ่มขึ้นในปีนี้ (89% เทียบกับ 81% ในปี 2566) โดยระบบอินโฟเทนเมนท์มีอัตราการพบปัญหาสูงสุด ชี้ให้เห็นความจำเป็นในการปรับปรุงคุณภาพรถยนต์, ตามรายงานผลการศึกษาคุณภาพรถยนต์ใหม่ในประเทศไทยปี 2568 (J.D. Power 2025 Thailand Initial Quality StudySM (IQS)) — ฉบับที่ 1 โดยรุ่นรถที่ได้อันดับสูงสุดในด้านคุณภาพ โตโยต้าครองมากสุด 4 รางวัล ด้านมิตซูบิชิและบีวายดี คว้าชัยแบรนด์ละ 2 รางวัล จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของรถยนต์พลังงานใหม่ในประเทศไทย การศึกษานี้จึง
ผู้นำด้านไซเบอร์ในเอเชียแปซิฟิกไม่มั่นใจในความปลอดภัยทางไซเบอร์ EY แนะ เพิ่มการป้องกัน
—
ผู้นำด้านไซเบอร์น้อยกว่าครึ่งมองว่าองค์กรมีความพร้อมรับมือภัยคุกค...
รายงาน ASEAN Consumer Sentiment Study 2023 ของยูโอบี เผยความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจของผู้บริโภค และเทรนด์ด้านดิจิทัลแบงก์ในไทย
—
ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย รายง...
วว. /ญี่ปุ่น ร่วมหารือเพื่อลดปริมาณของเสียจากยานยนต์ มุ่งสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
—
ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แ...
อีริคสันได้รับเลือกให้เป็นผู้นำด้านความยั่งยืนจากการประเมินของ ABI Research
—
อีริคสันได้รับเลือกให้เป็นผู้นำด้านความยั่งยืนในรายงานผลการศึกษาที่จัดทำโดย ...
ผลการศึกษาล่าสุดชี้ พนักงานขายในประเทศไทยประเมินว่าตนใช้เวลาเพียง 27% ของแต่ละสัปดาห์ในกิจกรรมที่เป็นการขาย
—
เพียง 24% ของผู้ที่ประกอบอาชีพด้านการขายในปร...
การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะที่เหมาะสม คือปัญหาสำคัญของการขับเคลื่อนความคล่องตัวทางดิจิทัลขององค์กรไทย
—
องค์กรไทยส่วนใหญ่ยังคงล้าหลังในเรื่องความคล่องตัวท...
รายงานผลการศึกษาบล็อกเชนสำหรับการชำระเงินประจำปี 2020
—
ริปเปิ้ลเปิดผลรายงานการศึกษาบล็อกเชนสำหรับการชำระเงิน (Blockchain in Payments Report) ซึ่งจัดขึ้นเ...