กลุ่มนักวิชาการทุกสาขาร่วมระดมสมอง แก้ปัญหาขัดแย้งการใช้ทรัพยากรของชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--27 มี.ค.--Visage สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาฯ ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จัดสัมมนาโครงการเหมืองแร่โพแทสจังหวัดอุดรธานี เสาร์ 29 มีนาคมนี้ หวังใช้เป็นโครงการนำร่องสร้างบรรทัดฐานการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ลดปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติ จากสถานการณ์ความขัดแย้งอย่างรุนแรงต่อการจัดทำโครงการต่าง ๆ ของรัฐที่ปรากฏให้เห็นอยู่ตลอดเวลา จนเกิดความสับสนในสังคมเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศว่า เหตุใดการดำเนินโครงการต่าง ๆ ของรัฐจึงต้องมีผู้คอยคัดค้าน ทำให้โครงการมากมายไม่สามารถดำเนินไปได้ตามเป้าหมาย กลุ่มนักวิชาการสาขาต่าง ๆ จึงได้รวมตัวกันหยิบยกเอาความขัดแย้งในพื้นที่ซึ่งกำลังทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ ทั้ง ๆ ที่ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นของโครงการ และเป็นโครงการขนาดใหญ่มากโครงการหนึ่ง นั่นคือ โครงการเหมืองแร่โพแทสเซียม จังหวัดอุดรธานี ขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา ซึ่งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทำให้คนในท้องถิ่นแตกแยกกัน และกำลังขยายวงกว้างออกไป ดร.สุรพล สุดารา ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เปิดเผยว่า จากการหารือกันในกลุ่มนักวิชาการทุกสาขา เห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะนำเอาโครงการเหมืองแร่โพแทสเซียม จังหวัดอุดรธานี มาทำการวิเคราะห์ทุกด้านอย่างถี่ถ้วนรอบคอบโดยใช้หลักความรู้ทางวิชาการ เพื่อให้เห็นประเด็นต่าง ๆ ที่ทำให้คนไม่เข้าใจโครงการ ความไม่เชื่อถือกระบวนการศึกษาที่มา หรือประเด็นอื่น ๆ อันเป็นชนวนของความขัดแย้ง ตลอดจนวิเคราะห์ถึงความเรียบร้อยรอบคอบในขั้นตอนต่าง ๆ ของการดำเนินการ เนื่องจากโครงการเหมืองแร่โพแทสเซียมนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ ต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จึงทำให้เกิดความขัดแย้งในท้องถิ่น มีคนบางกลุ่มเชื่อว่าโครงการนี้จะนำความเจริญมาสู่ท้องถิ่น ขณะที่คนอีกกลุ่มยังหวั่นเกรงว่าการทำเหมืองใต้ดินตามกฏหมายเหมืองแร่ฉบับใหม่นี้ได้มีการศึกษาผลกระทบอย่างครอบคลุมและชัดเจนมากน้อยเพียงไร โดยเฉพาะกรณีที่มีการขุดเจาะเหมืองใต้ดินลึกเกิน 100 เมตร ซึ่งอาจจะชอนไชไปใต้พื้นที่ในครอบครองของผู้อื่น "ประเด็นความปลอดภัยต่าง ๆ จึงยังเป็นความเคลือบแคลงว่าได้มีการวิเคราะห์ไว้ถี่ถ้วนมากน้อยแค่ไหน รวมไปถึงบริษัทที่จะมาทำโครงการนี้ ซึ่งมีต่างชาติเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จึงมีคำถามตามมาว่า ประเทศชาติจะได้ผลประโยชน์จากแร่ในแผ่นดินเต็มที่หรือไม่" ดร.สุรพล กล่าวและว่า เป้าหมายการจัดสัมมนาในวันเสาร์ที่ 29 มีนาคม 2546 ที่สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ระหว่างเวลา 08.00-18.00 น. มุ่งหวังจะก่อให้เกิดการวางบรรทัดฐานในการทำโครงการต่าง ๆ ให้มีความถูกต้อง เป็นที่ยอมรับ โดยเฉพาะการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ต้องมีการวิเคราะห์โดยรอบด้าน และทุกแง่มุมที่มีผลกระทบ สิ่งที่เป็นข้อบกพร่องจะต้องดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับนโยบายการใช้ทรัพยากรแร่ของชาติ ควรจะต้องสร้างมาตรการที่ทำให้การดำเนินงานเกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อประเทศต่อไป รายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อมูลนิธิสืบนาคะเสถียร โทรศัพท์ / โทรสาร 0 2224-7838-40--จบ-- -ศน-

ข่าวสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม+ทรัพยากรธรรมชาติวันนี้

พานาโซนิคร่วมกับไทเซอิและสถาบันวิจัยสภาพแวดล้อม สนับสนุนระบบติดตามและจัดการคุณภาพอากาศในห้องเรียน

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท พานาโซนิค โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด นำโดย มร.ฮิซาคาสึ มาเอดะ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด คอนเนค มาร์เก็ตติ้ง ร่วมกับ บริษัท ไทยเซอิ (ประเทศไทย) จำกัด นำโดย นายนาโอฮิโตะ โอบะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเซอิ (ไทยแลนด์) จำกัด และสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ดร.จักรพันธ์ สุทิรัตน์ รองอธิการบดี ด้านการวิจัย ส่งมอบผลิตภัณฑ์ระบบปรับอากาศพานาโซนิคเพื่อช่วยลดมลพิษทางอากาศให้แก่โรงรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน อาทิ โรงเรียนวัดดวงแข โรงเรียนวัดชัยมงคล โรง

ซีบีอาร์อี ประเทศไทย บริษัทที่ปรึกษาอสังห... ซีบีอาร์อี ประเทศไทย ร่วมโครงการ BKK Zero Waste ต่อยอดแคมเปญไม่เทรวม — ซีบีอาร์อี ประเทศไทย บริษัทที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำระดับโลก เข้าร่วมแสดงเจตจำ...

(จากซ้ายไปขวา) คุณธนินท์รัฐ ธนเศรษฐ์โตกุล... เต็ดตรา แพ้ค ประเทศไทย จัดงานเสวนาประเด็นเรื่องความยั่งยืน — (จากซ้ายไปขวา) คุณธนินท์รัฐ ธนเศรษฐ์โตกุล อุปนายกสมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า คุณชัยยุทธิ...