ปลัดกทม.บรรยายพิเศษใน "มหกรรมเทคโนโลยี่ การจัดการขยะมูลฝอยฯ" ที่เมืองทองธานี

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--14 มี.ค.--กทม. เมื่อวานนี้ (13 มี.ค.46) เวลา 09.00 น. ที่อาคารคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์อิมแพ็ค เมืองทองธานี นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน "มหกรรมเทคโนโลยี่ การจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล" โดยมีนายเฉลิมศักดิ์ วานิชสมบัติ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ นายอภิชัย ชวเจริญพันธ์ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ พระพิศาลธรรมวาที(พระพยอม กัลยาโณ) พร้อมด้วย รองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนส่วนจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนต่างประเทศ นักวิชาการ ตลอดจนประชาชนร่วมงาน โอกาสนี้นางณฐนนท ทวีสิน ปลัดกรุงเทพมหานคร ได้เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษเรื่อง การจัดการขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานครด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงสถานการณ์ขยะมูลฝอยในปัจจุบันว่า ขยะมูลฝอย นับวันจะมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากประมาณ 11 ล้านตัน ในปี 2535 เป็น14 ล้านตันในปี 2544 โดยปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในปี 2544 มีอัตราวันละ 38,640 ตัน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณวันละ 47,000 ตันในอีกสิบปีข้างหน้า อันเป็นผลจากการพัฒนาเศรษฐกิจ วิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคที่หลากหลาย ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในแต่ละวันทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลทั่วประเทศจะถูกเก็บขน และนำไปกำจัดยังสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ซึ่งประสิทธิภาพการเก็บขนและกำจัดขยะมูลฝอยในเขตกรุงเทพมหานคร นับว่าอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับในพื้นที่ต่างจังหวัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำแผนแม่บทการจัดการขยะมูลฝอยแห่งชาติ ต่อจากกระทรวงมหาดไทย โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกอบกับในการประชุมครั้งที่ 5/2545 เมื่อวันที่ 30 พ.ค.45 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 ม.ค.46 ได้ให้จัดทำแผนแม่บทการจัดการขยะมูลฝอยแห่งชาติ ซึ่งผลการดำเนินงานพอสรุปได้ว่า ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่จุดกำเนิดจนถึงการกำจัดขั้นสุดท้ายที่สำคัญ คือ ขาดระบบการคัดแยกขยะมูลฝอยจากแหล่งกำเนิด ขาดกลไกการเรียกคืนซากผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ขาดกฎเกณฑ์เพื่อควบคุมการจัดการขยะมูลฝอยในขั้นตอนต่าง ๆ ขาดการสนับสนุนเพื่อให้เอกชนเข้ามาดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการกำจัดและนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ และขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชนเพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยและวัสดุเหลือใช้ เป็นต้น ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้จำเป็นจะต้องมีมาตรการรองรับประกอบด้วยมาตรการทางกฎหมาย ภาษี การลงทุน สังคม และการศึกษาวิจัย โดยมาตรการดังกล่าวจะต้องมีหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อไป นางณฐนนท ทวีสิน ปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2546 บริษัทเอกชนผู้รับเหมาฝังกลบขยะจะต้องปิดบ่อขยะราชาเทวะ ซึ่งฝังกลบขยะวันละ จำนวน 3,500 ตัน ตามคำสั่งศาล อย่างไรก็ดีเพื่อไม่ให้มีปัญหาขยะตกค้าง กทม.ขอความร่วมมือประชาชนทุกคนในการปรับเปลี่ยนนิสัยการทิ้งขยะและผลิตขยะให้น้อยลง ส่วนกทม.ก็ไม่ได้นิ่งเฉยได้เร่งดำเนินการจัดการขยะโดยนำเทคโนโลยี่ทันสมัยมาใช้ มีการดำเนินการด้านอัตรากำลัง และงบประมาณต่างๆ นอกจากนี้ระบบการฝังกลบขยะ ซึ่งนับวันจะมีพื้นที่ฝังกลบน้อยลง กรุงเทพมหานครก็กำลังศึกษาว่าจะนำระบบเตาเผาขยะมาใช้ นอกจากนี้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ยังมีนโยบายแก้ไขปัญหาเมือง ปัญหาขยะมูลฝอย และน้ำเสีย คือทำอย่างไรไม่ให้มีขยะตกค้าง การเพิ่มค่าตอบแทนให้กับเจ้าหน้าที่เก็บขนขยะ ซึ่งร่างข้อบัญญัติฯกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภากทม. รวมทั้งการนำระบบแผนที่ภูมิศาสตร์ หรือ GIS มาใช้ในการทิ้งขยะ เป็นต้น สำหรับขยะมูลฝอยนั้นนอกจากจะนำไปกำจัดแล้ว บางส่วนยังสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก ทำให้ประชาชนในชุมชนมีรายได้จากการแปรรูปขยะ อาทิ ทำขาเทียม ทำล้อแม็กซ์ พรม หรือเฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีการนำขยะไปทำปุ๋ย น้ำจุลินทรีย์หรือ EM ต่างๆไว้ใช้ในครัวเรือน ปัจจุบันสำนักงานเขต 50 เขต ของกรุงเทพมหานคร ได้สนับสนุนให้ชุมชนมีการผลิตน้ำ จุลินทรีย์ และทำปุ๋ยหมักใช้ในชีวิตประจำวันจนประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรม รวมทั้งชุมชนต่าง ๆ ของกทม. 800 ชุมชน จาก 1,200 ชุมชนยังสามารถดำเนินการคัดแยกขยะได้สำเร็จ ส่วนเรื่องของขยะพิษ เช่น ถ่านไฟฉาย โมบาย โฟม กระจก หลอดไฟนีออน สารตะกั่ว คงต้องอาศัยข้อกฏหมาย ในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบและถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการคัดแยก รวมถึงรัฐบาลมีส่วนในการทำลายขยะพิษ เช่นขยะอิเล็คทรอนิค ซึ่งปีหนึ่งๆใช้งบประมาณในการทำลายสูงมาก จะเห็นได้ว่าปัญหาขยะจึงไม่ใช่เรื่องของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่เป็นปัญหาของคนทุกคนที่ต้องร่วมด้วยช่วยกันในการแก้ไขปัญหา สร้างจิตสำนึกและ รูปแบบการทำลายขยะอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน--จบ-- -นห-

ข่าวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม+องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นวันนี้

"Electronic Nose" นวัตกรรมตรวจวัดกลิ่น! เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี กรมอนามัย ร่วม MOU กรมควบคุมมลพิษ และ 4 หน่วยงานรัฐ - เอกชน ยกระดับจัดการปัญหากลิ่นเหม็น

นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย ร่วมลงนามความร่วมมือ พร้อมด้วย นางสาวปรีญาพร สุวรรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ และ กรมโรงงานอุตสาหกรรม สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สำนักงานมาตฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และบริษัท เอสชีซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) บันทึกข้อตกความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ภายใต้โครงการ "บูรณาการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจวัดกลิ่นด้วยระบบ Electronic Nose" ณ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า

รอยัล คลิฟ โฮเต็ล กรุ๊ปได้รับตราสัญลักษณ์... รอยัล คลิฟ พัทยา ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม กับการคว้ารางวัล G-Green ระดับดีเยี่ยม — รอยัล คลิฟ โฮเต็ล กรุ๊ปได้รับตราสัญลักษณ์ G-Green โรงแรมที่เป...

นายประสิทธิ์ เกิดโต รักษาการแทนผู้อำนวยกา... อ.อ.ป. รับเกียรติบัตร "องค์กรพัฒนาคุณธรรม ประจำปี 2567" — นายประสิทธิ์ เกิดโต รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (รษก.ผอ.อ.อ.ป.) เป็นผู้แทนปลัด...