TUCAR ตัดวงจรยาเสพติดเชิญผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติดพิชิตใจตัวเอง ร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพทางสังคม

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--25 มี.ค.--โครงการพัฒนาศักยภาพทางสังคม

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญ ที่ทำให้ประเทศชาติไม่เจริญรุดหน้าไปในทิศทางที่อันควรเนื่องด้วยประชากรส่วนหนึ่ง ต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของยาเสพติดที่ยากจะหลุดพ้น คนส่วนใหญ่จะกลับไปเสพซ้ำ กลายเป็นวัฏจักรหมุนเวียนไม่จบสิ้น ดังนั้น สำนักงานประสานความร่วมมือระหว่างประเทศไทย-สหรัฐอเมริกา เพื่อการวิจัยเกี่ยวกับสารแอมเฟตามีน (TUCAR) ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมอู่กลาง กรมการประกันภัย และหน่วยงานอื่น ๆ ที่ร่วมเป็นภาคีเครือข่าย เปิดโครงการพัฒนาศักยภาพทางสังคม ขึ้นเพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจ และหาอาชีพให้ทำเพื่อเป็นการตัดวงจรยาเสพติด นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ผอ.สำนักงานประสานความร่วมมือฯ เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางโครงการฯ ได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สู่ความเป็นหนึ่ง (บ้านพักระหว่างทาง) เพื่อนำร่อง 2 แห่ง คือที่สถานีตำรวจภูธรหลังเก่า อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี ขณะนี้มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ 9 คน และมี 5 คนได้เข้าฝึกงานในสถานประกอบการอยู่ในปัจจุบัน ภายใต้การดูแลของพี่เลี้ยง 3 คน และแห่งที่ 2 คือ พื้นที่เขตมีนบุรี กำลังจะเริ่มเปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ โดยผู้สมัครต้องผ่านการบำบัดมาแล้ว อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และต้องไม่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต นายกิตติศักดิ์ เดชทิพยวรรณ์ พี่เลี้ยงศูนย์การเรียนรู้ ที่อ.ไทรน้อย ซึ่งมีประสบการณ์ ในการเสพเฮโรอีน ยาบ้า โคเคน กัญชา มาตั้งแต่อายุ 15 ปี เล่าความหลังว่า ติดกัญชาตั้งแต่อายุ 15 ปี ทางบ้านมีฐานะดีไม่เดือดร้อนเรื่องเงิน แต่ด้วยความอยากลองจึงต้องทนทรมานติดยามากว่า 10 ปี เข้าออกสถานบำบัดหลายครั้งจนในที่สุดก็พาตัวเองหลุดพ้นวงจรยาเสพติดมาได้อย่างฉิวเฉียด และเข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่ของศูนย์ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้รู้เหลี่ยมมุม และเข้าใจในตัวตนของผู้เสพยาเป็นอย่างดี “ที่ศูนย์ จะมีอาหารการกินพร้อม คนที่ไปทำงานก็จะออกจากศูนย์แต่เช้า และต้องรีบกลับเมื่องานเลิก เพราะทุกคนรอทานข้าวพร้อมกัน หลังจากนั้นจะมีการเข้ากลุ่มเพื่อพูดคุยถึงปัญหาที่แต่ละคนพบในแต่ละวัน บางคนไม่ชอบพูดคุยในกลุ่มเราก็ต้องสังเกตปฏิกิริยา จากนั้นก็จะชวนมาคุยเป็นการส่วนตัวว่ามีปัญหาอะไรบ้าง บางคนใช้ชีวิตข้างถนน ไม่เคยไว้วางใจใคร จะโกหก ก็ต้องหาทางพูดคุยกันเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น ซึ่งคนที่ได้ไปฝึกงานทางศูนย์จะเข้าไปดูแลเรื่องการเงิน โดยนำเงินไปฝากธนาคาร และมีรายรับจ่ายที่ถูกต้อง ส่วนชาวบ้านแถวนี้เกิดความรู้สึกดี ๆ เพราะเมื่อพวกเรามาอยู่ ก็ไม่ได้ก่อความเดือดร้อนให้ใคร” สำหรับ “เอ้” ผู้ที่ผ่านการบำบัดและได้เข้าฝึกงานในบริษัทแห่งหนึ่ง ทุกคนในที่ทำงานไม่รู้ว่าเค้าคือผู้ที่ผ่านการบำบัด เพราะข้อมูลจะถูกเก็บเป็นความลับ มีเพียงผู้บริหารระดับสูงในสถานประกอบการไม่กี่คนที่จะรู้ข้อมูลนี้ เอ้ย้อนความหลังให้ฟังว่า สูบบุหรี่มาตั้งแต่ ป.1 จากนั้นหันมาใช้ยาบ้า จนถูกจับกุมและเข้ารับการฝึกที่กองทัพเรือ 3 สัตหีบ เมื่อเห็นโครงการจึงสมัครเข้ามาเพระอยากมีงานทำ หลังจากเข้าไปฝึกงานประมาณ 1 เดือน ทำให้มีชีวิตชีวามากขึ้น เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ เอ้ยืนยันว่าจะทำงานนี้ต่อไป ส่วน “วันชัย” หนุ่มวัยใกล้เบญจเพศ เข้าไปอยู่ในวังวนของยาเสพติดนานกว่า 10 ปี หลงใหลไปกับฤทธิ์ของยาบ้า เคยเสพสูงสุดถึงวันละ 30 เม็ด เล่าถึงเส้นทางการเสพว่า ในช่วงม.ต้นเริ่มเสพยาบ้า ทางบ้านมีฐานะดี จึงไม่เดือดร้อนที่จะใช้วิธีโทร.สั่งของในรูปแบบของเดลิ เวอรี่ และรู้สึกสนุกที่ได้หลอกแม่ว่าเป็นเด็กดีมาตลอด เช้าไปเรียน เย็นกลับบ้านไม่มีสภาพของผู้ที่เสพยาให้เห็น แต่เมื่อเงินเริ่มหมดและคบเพื่อนที่ใช้ยาเหมือนกันจึงชักชวนเสพยาหนักมากขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นผู้ขายอีกด้วย “ช่วงนั้นใครว่าอะไรไม่ได้เลย อารมณ์ขึ้นทันที ถ้าไม่ได้ใช้ยาจะหงุดหงิดมาก แม่ร้องไห้แทบเป็นสายเลือด เพราะผมเป็นลูกชายคนเดียว ในช่วงที่ยามีราคาแพงหาซื้อยาก ผมนั่งรถจากต่างจังหวัดเข้ากรุงเทพฯ กำเงินมาไม่กี่ร้อยเพื่อมาซื้อยาบ้า ต่อมาถูกจับก็เข้ารับการบำบัดหลายที่ จนเดี๋ยวนี้ ทางบ้านยังไม่ไว้วางใจว่าผมจะกลับตัวได้จริง ผมก็ต้องพิสูจน์ให้แม่เห็นว่าผมต้องทำได้ แต่ผมยืนยันว่าจะไม่กลับบ้าน เพราะคนในหมู่บ้านมองเราไปในทิศทางที่ไม่ดี ทำให้ผมคิดว่าการใช้ชีวิตมันช่างยากเย็นเหลือเกิน พอจบโครงการผมก็จะบวชให้แม่” ทางด้าน “คอง” ซึ่งติดยาบ้า หลังจากผ่านการบำบัดมาหลายที่ ก็ได้สมัครเข้าร่วมโครงการและฝึกงานในสถานประกอบการ คองยืนยันอย่างหนักแน่นว่า “ผมไม่แคร์คนที่ไม่ยอมรับ แต่คนเรามีสิทธิพลาดได้ ขอให้โอกาส งานที่ได้ทำเป็นงานที่ดีเพื่อนร่วมงานดี วุฒิการศึกษาของผมไปสมัครงานที่ไหนก็คงไม่มีใครรับสังคมรังเกียจเรา และผมยืนยันว่าไม่กลับไปเสพอีก เพราะถ้าคิดจะกลับไปผมคงไม่เข้าร่วมโครงการ” “ป่าน” อายุเลย 20 ปีมาไม่กี่วัน ผ่านมาทั้งเรื่องของยาเสพติด การพนัน เล่าว่า เริ่มใช้ยาบ้าตั้งแต่ ม.2 ได้ทดลองแล้วติดใจ คล้ายกับสิ่งที่ทดแทนให้เรามีความสุขทำให้ลืมปัญหาอะไรบางอย่าง จนถูกตำรวจบุกจับหลังเสพยาในหอพักของเพื่อน จึงถูกส่งไปบำบัด จากนั้นตัดสินใจมาร่วมโครงการ เข้าไปทำงาน ตอนนี้มั่นใจไม่หวนกลับเสพ เพราะมีแต่วงจรเก่า ๆ ถูกจับเข้าสถานบำบัด ออกจากสถานบำบัดแล้วหันไปเสพอีกก็ถูกจับอีก ทำไมเราจึงต้องเข้าไปอยู่ในวังวนเดิม ๆ “ ตัวอย่างของผู้ที่ผ่านการบำบัด และเข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพทางสังคม คงจะทำให้ใครหลายคนเกิดความมั่นใจว่า หลังจากผ่านการบำบัดจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ มีงาน มีเงิน และเปิดโลกทางความคิดเสียใหม่ ใช้ประสบการณ์เดิมเป็นคติเตือนใจ และใช้อนาคต เป็นสิ่งกระตุ้นให้เรากระตือรือร้นอยากเป็นคนดีในสังคมอีกครั้ง สำหรับรูปแบบของการดำเนินโครงการนั้น ได้นำความรู้เรื่อง Half way house หรือบ้านพักระหว่างทาง จะเป็นสื่อกลางประสานระหว่างผู้เคยเสพยาที่ผ่านการบำบัดฟื้นฟู ให้เข้าเรียนรู้ชีวิตในสังคมจริง โดยเน้นไปที่ชุมชนเป็นหลัก และในช่วงระยะเวลา 6 เดือน ผู้ที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องผ่านขั้นต่าง ๆ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การปรับตัว 2. ปรับพื้นฐานทางอารมณ์ 3. เรียนรู้โลกของงาน สามารถทำงานในสถานประกอบการณ์จริงได้ 4. ปรับตัวและทัศคติเข้ากับครอบครัว ชุมชน และสังคมของตน และ 5. เตรียมความพร้อมในการกลับไปอยู่ครอบครัว ชุมชน ของตนเองได้ในที่สุด โครงการพัฒนาศักยภาพทางสังคม ได้เปิดรับสมัครผู้ที่ผ่านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมาแล้วเข้าร่วมโครงการ เพื่อเรียนรู้การใช้ชีวิตในสังคมจริง ซึ่งทางโครงการจะช่วยหางานให้ทำในโรงงาน สถานประกอบการ และอู่กลางการประกันภัย และยังสนับสนุนที่พัก อาหารและค่าใช้จ่ายในการเดินทางตลอดระยะเวลา 6 เดือน หากผู้ผ่านการบำบัดท่านใดสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ สามารถติดต่อที่สำนักงานประสานความร่วมมือฯ ได้ที่โทรศัพท์หมายเลข 0-2591-3522 และ 0-2591-3422 หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ : คุณอุมาพร เทพพฤกษ์ ผู้ประสานงานโครงการพัฒนาศักยภาพทางสังคม สำนักงานประสานความร่วมมือฯ โทรศัพท์ : 0-591-3422 โทรสาร : 0-2591-1312 E-mail : [email protected]จบ--

ข่าวสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย+ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนวันนี้

นายอภิชัย เจริญสุข ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุม APIC 2025 (Asia Petrochemical Industry Conference 2025)

นายอภิชัย เจริญสุข ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมระดับเอเชีย ในงาน APIC 2025 (Asia Petrochemical Industry Conference 2025) 15 16 พฤษภาคมนี้ ณ โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ นายอภิชัย เจริญสุข ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เชิญคนไทยร่วมภาคภูมิใจอีกครั้ง ! กับการได้รับความไว้วางใจให้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมระดับเอเชีย ในงาน APIC 2025 (Asia Petrochemical Industry Conference 2025) ภายใต้ธีม "Ensuring a

กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ร่วมโชว์น... Dow โชว์นวัตกรรมวัสดุศาสตร์ลดคาร์บอน หนุนผู้ประกอบการไทยมุ่งสู่อนาคตคาร์บอนต่ำ — กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ร่วมโชว์นวัตกรรมด้านวัสดุศาสตร์ ในธีม "สู...

รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลั... มทร.กรุงเทพ จับมือ 4 มหาวิทยาลัยดัง และ วิทยุการบิน ยกระดับกำลังคนกลุ่มอุตสาหกรรมการบิน — รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร....

เมื่อเร็วๆนี้ นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประ... NER ชูแนวคิด NER Creating value beyond rubber ร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยางในงาน FTI EXPO 2025 — เมื่อเร็วๆนี้ นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริห...

บมจ.พีรพัฒน์ เทคโนโลยี หรือ "PRAPAT" นำโด... PRAPAT ร่วมงาน "FTI EXPO 2025" แสดงศักยภาพของอุตสาหกรรมไทยสู่สายตาโลก — บมจ.พีรพัฒน์ เทคโนโลยี หรือ "PRAPAT" นำโดย นายสืบพงศ์ เกตุนุติ (คนกลาง) ประธานบริษ...

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 นายโชคชัย อัศวร... บางจากฯ ร่วม FTI EXPO 2025 ชูแนวทาง "BCG for Climate Action: ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยสู่ความยั่งยืน" — วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 นายโชคชัย อัศวรังสฤษฎ์ Chi...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. โชว์ Green Technology ในงาน FTI EXPO 2025 — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศ...