NIAID เปิดรับสมัคร ผู้ดำเนินงานหน่วยวิจัยทดลองทางคลินิก สำหรับเครือข่ายเอชไอวี/เอดส์ที่ปรับปรุงใหม่

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--8 มี.ค.--เวเบอร์ แชนด์วิค

สถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติ (NIAID) ได้ประกาศเชิญชวนผู้สนใจ จากสถาบันวิจัยทั้งในสหรัฐอเมริกาและต่างประเทศ เพื่อเข้ามาเป็นหน่วยวิจัยทดลองทางคลินิก (Clinical Trials Units -CTUs) สำหรับเครือข่ายการวิจัยทดลองทางคลินิกด้านโรคเอดส์ของสถาบันฯ NIAID ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันสาธารณสุขแห่งชาติ (NIH) ประเทศสหรัฐอเมริกา จัดว่าเป็นผู้ให้การทุนสนับสนุนงานวิจัยทางคลินิกในด้านการป้องกันโรคเอดส์ การวิจัยและพัฒนาวัคซีนและการรักษา ที่ใหญ่ที่สุดในโลก หนังสือเชิญชวนการสมัครครั้งนี้ นับว่าเป็นครั้งที่สองของการประกาศขอรับสมัคร (Request for Applications - RFAs) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความมีประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือและการผสมผสานเข้าด้วยกัน ของงานเครือข่ายการวิจัยทดลองทางคลินิกด้านโรคเอดส์ของ NIAID รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถของเครือข่ายในการดำเนินงานการวิจัยทางคลินิกที่สำคัญอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีทรัพยากรจำกัด หนังสือ RFA ฉบับแรกนั้น เป็นเรื่อง “การสร้างความเป็นผู้นำในเครือข่ายการวิจัยทดลองทางคลินิกด้านโรคเอดส์” ซึ่งได้ประกาศออกมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 เครือข่ายที่เกิดจาก RFA ครั้งนั้น จะมุ่งเรื่องการพัฒนาและการประเมินผลงานการรักษา, กลยุทธการป้องกันและวัคซีน พร้อมกับการเน้นรูปแบบการดำเนินการที่สามารถจัดทำได้ในพื้นที่ที่มีทรัพยากรจำกัด สำหรับหน่วยวิจัยทดลองทางคลินิก (CTUs) ที่ให้ทุนตาม RFA ครั้งนี้ จะต้องดำเนินงานวิจัยตามกรอบงานวิจัยของเครือข่าย ในหนึ่งหัวข้อการวิจัยหรือมากกว่าก็ได้ จากหัวข้อการวิจัยหลักที่ให้น้ำหนักความสำคัญไว้จำนวนหกหัวข้อเรื่องดังต่อไปนี้: พัฒนาวัคซีนเอดส์ การแปลผลการวิจัยไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการรักษาโรคเอดส์ การจัดการทางคลินิกให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับโรคเอดส์ และโรคติดเชื้อร่วมอื่น รวมทั้งอาการที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี การพัฒนาสารป้องกันการติดเชื้อ (Microbicides) เพื่อป้องกันการรับเชื้อ และ/หรือ การถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี การป้องกันการติดเชื้อจากมารดาสู่ลูก การพัฒนาวิธีการอื่นๆ เพื่อป้องกันโรคเอดส์ “หน่วยวิจัยทดลองทางคลินิกเหล่านี้จะช่วยประสานงานและดำเนินการวิจัยโรคเอดส์ในรุ่นต่อไป ทั้งในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก” นายแพทย์แอนโทนี่ เอส เฟาว์ซี่ ผู้อำนวยการ NIAID กล่าว “เป้าหมายของเราคือการพัฒนาโครงสร้างความเป็นผู้นำและการวิจัยที่เป็นไปได้ที่ดีที่สุด เพื่อสร้างความยืดหยุ่น ความร่วมมือ และการประสานงานในด้านการวิจัยเกี่ยวกับวัคซีนเอดส์ การป้องกันและการรักษา” เงินทุนสนับสนุนสำหรับโครงการการสร้างความเป็นผู้นำเครือข่ายและหน่วยวิจัยทดลองทางคลินิกในปีแรกนี้มีมูลค่าถึง 300 ล้านดอลลาร์ และอาจมีการดำเนินการต่อเนื่องไปประมาณเจ็ดปี การประกาศผลการอนุมัติให้ทุนในโครงการการสร้างความเป็นผู้นำคาดว่า อย่างเร็วที่สุดน่าจะราวเดือนมีนาคม 2549 ส่วนการประกาศผลการอนุมัติให้ทุนในโครงการหน่วยวิจัยทดลองทางคลินิก คาดว่าน่าจะมีขึ้นราวกลางถึงปลายปี 2549 หน่วยวิจัยทดลองทางคลินิกแต่ละหน่วย จะดำเนินการภายใต้การนำของนักวิจัยหลัก โดยมีองค์ประกอบคืองานบริหารจัดการ และมีหน่วยวิจัยซึ่งอาจมีเพียงหนึ่งแห่งหรือมากกว่าก็ได้ NIAID สนับสนุนอย่างยิ่งให้มีการจัดตั้ง CTUs ที่สามารถเข้าถึงประชากรที่มีความเสี่ยงสูงหรือถูกคุกคามจากการระบาดเชื้อเอชไอวี ทั้งในสหรัฐอเมริกาและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สตรี เยาวชน และชนผิวสี นายแพทย์เฟาว์ซี่ ให้ความเห็นว่า “เครือข่ายการวิจัยทดลองทางคลินิกด้านโรคเอดส์ที่ปรับปรุงใหม่นี้ จะประสบความสำเร็จได้ จำเป็นมีภาระผูกพันธ์ร่วมกันของสถาบันต่าง ๆ มีระดับความร่วมมือต่อกันอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รวมทั้งการมีส่วนร่วม ตลอดจนความสนับสนุนจากชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ ในสหรัฐอเมริกาและจากทั่วโลก” การปรับปรุงโครงสร้างการวิจัยทางคลินิกดังที่ปรากฏใน RFAs ทั้งสองครั้งนี้ เกิดมาจากการได้ปรึกษาหารือหลายต่อหลายครั้งกับนักวิจัย แพทย์ พยาบาล ผู้นำชุมชน ผู้สนับสนุน ตลอดจนผู้ติดเชื้อเอชไอวี และกลุ่มเสี่ยง ข้อมูลเกี่ยวกับการสมัคร องค์กรหรือสถาบันในสังกัดภาครัฐหรือเอกชนใด ๆ เป็นองค์กรที่แสวงผลกำไรหรือไม่ก็ตาม สามารถส่งใบสมัครเป็นหน่วยวิจัยทดลองทางคลินิกตามหนังสือเชิญชวนนี้ได้ องค์กรที่สนใจอาจเป็นองค์กรระดับในประเทศหรือต่างประเทศก็ได้ และอาจรวมไปถึงมหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงพยาบาล สถานพยาบาลเอกชนและกลุ่มทางการแพทย์ หน่วยงานของรัฐ และการปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐ และองค์กรเอกชนที่มีคุณสมบัติ NIAID จะจัดการประชุมก่อนการเปิดรับสมัครสี่ครั้ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดในการ ส่งใบสมัครเพื่อเป็นหน่วยวิจัยทดลองทางคลินิก การประชุมมีขึ้นทั้งในสหรัฐอเมริกาและต่างประเทศ วันแรกของการประชุมเป็นการประชุมปฏิบัติการเกี่ยวกับวิธีการเขียนโครงการ เพื่อสร้างความเข้าใจถึงขั้นตอนการเขียนใบสมัครขอทุนของ NIH และให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเขียนใบสมัครขอทุน การประชุมวันที่สอง จะให้รายละเอียดในเรื่องข้อกำหนดที่จำเป็นในการสมัคร ขั้นตอนการสมัครและกระบวนการตรวจสอบ การประชุมจะจัดขึ้นในเมืองต่างๆ ดังต่อไปนี้: บีเธสดา รัฐแมรี่แลนด์ (วันที่ 7-8 มีนาคม) ไมอามี่ รัฐฟลอริด้า (วันที่ 17-18 มีนาคม) โจฮานเนสเบิร์ก แอฟริกาใต้ (วันที่ 31 มีนาคม ถึงวันที่ 1 เมษายน) กรุงเทพฯ ประเทศไทย (วันที่ 20-21 เมษายน) เอกสารเกี่ยวกับ RFA ในโครงการหน่วยวิจัยทดลองทางคลินิกสำหรับเครือข่ายการวิจัยทางคลินิกด้านโรคเอดส์ รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่จัดประชุม การจัดการประชุมและรายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับการจัดประชุมก่อนการเปิดรับสมัครนี้ สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.niaid.nih.gov/daids/rfa/network06 แม้ว่า ได้มีการจัดทำเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับการประกาศรับสมัครครั้งนี้จำนวนหนึ่งเป็นภาษาอื่น ๆ ด้วยก็ตาม แต่เอกสารที่มีการจัดเตรียมไว้และมีเนื้อหาสมบูรณ์ในเรื่อง RFA และเรื่องที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ จะมีเฉพาะในภาษาอังกฤษเท่านั้น NIAID เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันสาธารณสุขแห่งชาติ (National Institutes of Health) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงสาธารณสุขและบริการประชาชน (Department of Health and Human Services) ของประเทศสหรัฐอเมริกา NIAID สนับสนุนการวิจัยพื้นฐานและการวิจัยประยุกต์ เพื่อการป้องกัน วินิจฉัยโรค และการรักษาโรคติดเชื้อต่าง ๆ เช่น เอชไอวี/เอดส์ และการติดเชื้อที่เกิดจากเพศสัมพันธ์อื่นๆ, เชื้อไข้หวัดใหญ่อินฟลูเอนซ่า (Influenza), วัณโรค มาเลเรีย และการเจ็บป่วยที่เกิดจากชีวภาพที่นำมาใช้ในการก่อการร้าย นอกจากนี้ NIAID ยังสนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะภายใน และการเจ็บป่วยที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันโรค รวมทั้งความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โรคหืดและโรคภูมิแพ้ต่างๆ การแถลงข่าว ใบอธิบาย และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ NIAID สามารถเข้าไปดูในเว็บไซต์ของ NIAID ที่ http://www.niaid.nih.gov--จบ--

ข่าวสถาบันโรคภูมิแพ้+เครือข่ายเอชไอวีวันนี้

ศูนย์ภูมิแพ้สมิติเวช ศรีราชา SAMITIVEJ ALLERGY INSTITUTE (SAI @Sriracha) แห่งภาคตะวันออก

ศูนย์ภูมิแพ้สมิติเวช ศรีราชา SAMITIVEJ ALLERGY INSTITUTE (SAI @Sriracha) ได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 นำทีมโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ปกิต วิชยานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้สมิติเวช โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี นำความเชี่ยวชาญมาสร้างทีมแพทย์ ด้วยความมุ่งหวังและมุ่งมั่นที่จะให้การดูแลรักษาเทียบเท่ามาตรฐานสากล รวมถึงให้ความรู้ ความเข้าใจในวิธีการดูแลรักษาแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล ด้วยความเข้าใจและใส่ใจในการให้ดูแลรักษา เพื่อให้ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีที่สุด

สถาบันโรคภูมิแพ้สมิติเวช ชี้คนไทยเสี่ยงเป... สถาบันภูมิแพ้ สมิติเวช โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี ชี้พบกลุ่มอาการชนิดใหม่ในเด็กแพ้แป้งสาลี — สถาบันโรคภูมิแพ้สมิติเวช ชี้คนไทยเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้อาหารสูงขึ...

สถาบันโรคภูมิแพ้ สมิติเวช (Samitivej Alle... สถาบันโรคภูมิแพ้ สมิติเวช (SAI) โรงพยาบาล สมิติเวช ธนบุรี กับความภูมิใจระดับโลก — สถาบันโรคภูมิแพ้ สมิติเวช (Samitivej Allergy Institute- SAI) ตอกย้ำความ...

สถาบันโรคภูมิแพ้สมิติเวช ชี้คนไทยเสี่ยงเป... สมิติเวช ชี้คนไทยเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้อาหารเพิ่มขึ้น ปล่อยไว้อันตรายถึงชีวิต — สถาบันโรคภูมิแพ้สมิติเวช ชี้คนไทยเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้อาหารสูงขึ้นถึง 300 – 4...

นพ. โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมด้... ภาพข่าว: ปาฐกถาพิเศษผู้รับรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล ปี 2556 — นพ. โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมด้วย ศ.นพ. เดวิด ดี. โฮ ผอ.และประธานกรรมการบริหารศูนย์วิจัยโ...

สถาบันโรคภูมิแพ้โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี ... สัมมนา พิชิตโรคภูมิแพ้และหอบหืด — สถาบันโรคภูมิแพ้โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี ขอเชิญทุกครอบครัวเข้าร่วมสัมมนา“พิชิตโรคภูมิแพ้และหอบหืด” พบกับ เนื้อหา - เข้า...