กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แนะเทคนิคขับรถลุยน้ำท่วม

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--10 ต.ค.--สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ

นายสุนทร ริ้วเหลือง อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า ปัญหาหนึ่งที่ผู้ขับรถมักประสบและวิตกกังวลในช่วงที่มีฝนตกหนัก ก็คือการต้องขับรถ ลุยน้ำท่วมโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ยิ่งในกรณีที่ปริมาณน้ำสูงถึงขนาดท่วมห้องเครื่องนั้น ยิ่งเสี่ยงต่อการที่เครื่องยนต์ดับได้มากขึ้น ดังนั้น หากผู้ขับรถจำเป็นต้องขับรถในขณะ น้ำท่วมถนน จะต้องเตรียมตัวให้พร้อม ก่อนขับรถลุยน้ำ ควรเติมน้ำมันให้เต็มถัง เพราะแรงดันจากน้ำมันจะช่วยอัด ไม่ให้เกิดไอน้ำภายในถัง โดยจุดสำคัญที่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ คือ ระบบจ่ายไฟทั้งคอยล์ สายไฟ จานจ่ายไฟ และปลั๊กหัวเทียน หากเกิดปัญหากับระบบจ่ายไฟ จะทำให้เครื่องยนต์ดับ ต้องใช้สเปรย์กันความชื้นฉีดป้องกัน เพราะแม้น้ำจะไม่เข้าถึงเครื่องยนต์ แต่ความชื้น จากการลุยน้ำ จะทำให้เกิดไอน้ำเกาะ เป็นต้นเหตุของเครื่องดับได้ และในขณะขับรถลุยน้ำ ต้องขับช้าๆ อย่างมีสติ สำหรับรถที่ใช้ระบบ พัดลมติดเครื่อง อย่าเร่งรอบเครื่องโดยเด็ดขาด เพราะปลายใบพัด อาจวักน้ำกระจายเข้าห้องเครื่อง ทำให้เครื่องยนต์ดับได้ หากพื้นถนนเป็นดินหรือลูกรัง จะทำให้ลื่นกว่าปกติ ให้แก้ไขโดยถอนคันเร่ง เพื่อลดความเร็ว และเปลี่ยนไปใช้เกียร์ที่สูงขึ้น เพื่อลดแรงบิดของล้อป้องกันการลื่นไถล และช่วยให้ดอกยางเกาะพื้นถนนดียิ่งขึ้น และหลังจากขับรถลุยน้ำแล้ว ต้องกำจัดน้ำออก จากชิ้นส่วนที่มีน้ำซึมเข้าไป โดยบริเวณที่ต้องดูแลมากที่สุด คือ ไดสตาร์ท ให้ทำความสะอาดโดยการดับเครื่องยนต์ แล้วสตาร์ทประมาณ ๒ - ๓ ครั้ง เพื่อรีดน้ำออก หรืออาจใช้วิธีดึงสายคอยล์ออกก่อนสตาร์ท เป็นช่วงๆ ละไม่เกิน ๕ วินาที หากหลังจากขับรถลุยน้ำแล้ว ไม่สามารถเข้าเกียร์ได้ แสดงว่ามีน้ำเข้าไปในชุดคลัทซ์ให้แก้ไขโดยเข้าเกียร์ค้างไว้ แล้วสตาร์ททันที หากยังไม่ได้ผล ให้ใช้วิธีเข็นลงจากที่สูงแล้วค้างเกียร์ไว้ แรงกระชากจะทำให้ชุดคลัทซ์หายเป็นปกติ ตลอดจนต้องตรวจสอบน้ำมันเบรก กระบอกลูกสูบ ลูกยาง ว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานหรือไม่ ทั้งนี้ เทคนิคการขับรถลุยน้ำที่กล่าวในข้างต้น เป็นวิธีปฏิบัติอย่างง่ายๆ ที่จะช่วยลดความสูญเสียเวลา และทรัพย์สิน จากการขับรถลุยน้ำ (ที่มา : www.thaihealth.or.th)--จบ--

ข่าวกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย+สุนทร ริ้วเหลืองวันนี้

NT ร่วม ปภ. ทดสอบระบบ Cell Broadcast ในพื้นที่ครั้งแรก แจ้งผลมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ครอบคลุม เสริมความพร้อมระบบเตือนภัยแห่งชาติ

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมกับ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทดสอบระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติผ่านเทคโนโลยี Cell Broadcast เป็นครั้งแรกของประเทศในลักษณะเสมือนจริงในพื้นที่ระดับเล็ก ภายในอาคารและบริเวณโดยรอบ ประกอบด้วย ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ศาลากลางจังหวัดสงขลา และอาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา กรุงเทพมหานคร โดยผลการทดสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถส่งข้อความแจ้งเตือนไปยัง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกั... NT ยืนยันความพร้อม ร่วมทดสอบระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast ในพื้นที่จริง — กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้...

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส... ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ — ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดก...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ป... 'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...

เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและก... สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์ — เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...

นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำ... กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้ — นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพั...

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. เร่งถ่ายเทไหลเวียนน้ำในคลองช่องนนทรี เตรียมขุดลอกดินเลน-ทำความสะอาดท่อลอด — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวชี้แจงกร...

กทม. เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำรองรับสถานการณ์ฝน

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวกรณีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังว่า กทม. ได้จัดทำแผนเตรียมความพร้อมด้านระบบระบายน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ฝนตกหนัก โดยใช้แผน...