ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดการพลังงานและระบบอัตโนมัติ ชวนคนไทยตรวจสอบระบบไฟฟ้า 7 จุดควรระวัง ทั้งในบ้านและอาคารด้วยตัวเองเบื้องต้น รับมือฉลองเทศกาลสงกรานต์ พร้อมแนะบริการตรวจสอบการจ่ายไฟฟ้าแรงดันสูงในอาคาร Busduct / Busway หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว เพื่อเพิ่มความมั่นใจและปลอดภัยให้กับลูกค้ามากขึ้น

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์

จากสถิติกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ระบุว่า ปัจจุบันสาธารณภัยใกล้ตัวที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดคืออัคคีภัย 73% ทั้งในพื้นที่บ้านและอาคารขนาดใหญ่ ทั้งนี้สาเหตุหลักของอัคคีภัยมาจากอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าชำรุด ไม่มีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ง่าย ดังนั้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งเป็นวันหยุดยาว ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ชวนทุกคนสังเกต ตรวจสอบและสำรวจด้วยตัวเองกับ 7 วิธีเช็กระบบไฟฟ้าภายในบ้านและอาคารเบื้องต้น ดังนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์

1.เช็กแหล่งจ่ายไฟหลักตู้ไฟฟ้าและเบรกเกอร์ สำรวจทุกจุดของบ้านและอาคารมีไฟฟ้าดับหรือไม่ พร้อมตรวจดูตู้เมนไฟฟ้าและสายไฟหลัก หากพบความผิดปกติ เช่น สายไฟชำรุด หรืออุปกรณ์เสียหาย ควรปิดสวิตช์ไฟหลังทันที เพื่อลดความเสี่ยงจากไฟฟ้าลัดวงจรและตรวจสอบเบรกเกอร์ทำงานเป็นปกติหรือไม่ หากพบปัญหาควรตรวจหาสาเหตุก่อนทำการรีเซ็ต

2.เช็กสัญญาณของไฟฟ้าลัดวงจร สำรวจและสังเกตว่ามีเสียงช็อตไฟ หรือมีกลิ่นไหม้จากอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือไม่ หากพบความผิดปกติควรรีบปิดระบบไฟฟ้าและเรียกช่างผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบทันที

3.เช็กสายไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้า สำรวจและตรวจสอบความชำรุด ฉีกขาดของสายไฟ และอุปกรณ์เปิดปิด รวมถึงเต้ารับ-เต้าเสียบ ว่ามีรอยแตกร้าวหรือหลุดจากผนังหรือไม่ หากพบความเสียหายควรงดใช้งาน

4.เช็กระบบสายดิน ควรตรวจสอบสายดินของระบบไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพดีเสมอ ไม่มีการหลุดหรือขาด หากพบความผิดปกติ ควรให้ช่างไฟฟ้าทำการซ่อมแซมทันที

5.เช็กอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อาจสัมผัสน้ำ หากพบว่าสายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าเปียกน้ำหรือจมอยู่ในน้ำ ห้ามสัมผัสโดยตรงเด็ดขาด ควรปิดไฟจากแหล่งจ่ายหลักก่อน และเรียกช่างผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบเพื่อความปลอดภัย

6.เช็ก UPS และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สำรวจอุปกรณ์สำรองไฟทำงานเป็นปกติหรือไม่ และตรวจสอบระดับพลังงานของแบตเตอรี่หรือเชื้อเพลิงในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้เป็นปกติ

7.รายงานปัญหาให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ หากไม่แน่ใจว่าระบบไฟฟ้ายังปลอดภัยหรือไม่ ควรปรึกษาช่างเข้ามาตรวจสอบก่อนการใช้งาน หากพบปัญหาหรือความเสียหาย ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ไฟฟ้าหรือผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบและแก้ไขโดยเร็ว

การตรวจสอบเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรซึ่งอาจทำให้เกิดไฟไหม้ ลดความเสี่ยงจากไฟฟ้ารั่วที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและป้องกันความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าและระบบไฟฟ้าในอาคาร

นอกจากนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ให้ความสำคัญและใส่ใจอาคารที่อาจจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมา จึงได้เปิดบริการตรวจสอบระบบจ่ายไฟฟ้าแรงดันสูง Busduct / Busway เน้นตรวจสอบไว วิเคราะห์ตรงจุด เพิ่มความปลอดภัย พร้อมแนะนำแนวทางแก้ไข โดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานบริการแบบมืออาชีพ เข้าตรวจสอบความถูกต้องของการเชื่อมต่อและโครงสร้างทางกายภาพ, ตรวจสอบตำแหน่งการติดตั้ง ตัวรองรับบัสเวย์และจุดปิดที่เหมาะสม, ตรวจสอบแรงขัน (Torque) และความแน่นของจุดเชื่อมต่อไฟฟ้า รวมถึงตรวจสอบค่า Insulation Test เพื่อให้มั่นใจว่า Busway มีการติดตั้งและใช้งานอย่างถูกต้อง ช่วยลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ ช่วยให้การส่งจ่ายไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงสุด ลดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าและเพิ่มความน่าเชื่อถือในระบบ Busway ที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว ลดความเสี่ยงการหยุดทำงานของระบบ


ข่าวกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย+ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นวันนี้

NT ยืนยันความพร้อม ร่วมทดสอบระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast ในพื้นที่จริง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กรมประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้ง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมแถลงข่าวความพร้อมทดสอบการแจ้งเตือนภัยผ่าน Cell Broadcast

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ป... 'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...

เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและก... สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์ — เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...

นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำ... กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้ — นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพั...

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. เร่งถ่ายเทไหลเวียนน้ำในคลองช่องนนทรี เตรียมขุดลอกดินเลน-ทำความสะอาดท่อลอด — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวชี้แจงกร...

กทม. เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำรองรับสถานการณ์ฝน

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวกรณีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังว่า กทม. ได้จัดทำแผนเตรียมความพร้อมด้านระบบระบายน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ฝนตกหนัก โดยใช้แผน...