ผู้แทนไอทีซีสหรัฐฯ รับปาก พิจารณายกเลิกเอดีกุ้งไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--17 ส.ค.--ชมรมผู้เพาะเลี้ยงลูกกุ้งอันดามัน

ผู้แทนไอทีซีสหรัฐฯ รับปาก พิจารณายกเลิกเอดีกุ้งไทย หลังลงพื้นที่พบแฮชเชอรี่เพาะลูกกุ้งเสียหายจากสึนามิ ผู้เพาะลูกกุ้งอันดามันวอนมหามิตรช่วย ปลดพันธนาการเอดี สร้างความมั่นใจ เปิดช่องขายกุ้ง ก่อนตายรอบสอง เพราะขายลูกกุ้งไม่ได้ นายทวีทรัพย์ ช่วยจันทร์ ประธานชมรมผู้เพาะเลี้ยงลูกกุ้งอันดามัน เปิดเผยว่า จากการที่คณะผู้แทนไอทีซี หรือคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกา จำนวน 4 คน ได้ลงพื้นที่ดูความเสียหายจากสึนามิ ในส่วนโรงเพาะฟักลูกกุ้งของไทย เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2548 ที่ตั้งอยู่แถบบ้านปากวีป บ้านบางสัก และบ้านน้ำเค็ม อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ตนเองและผู้เคราะห์ร้ายอื่นๆ ได้ขอร้องทางไอทีซีให้ช่วยเหลือ ยกเลิกมาตรการเอดีสินค้ากุ้งให้ไทย โดยให้ช่วยเปิดตลาดให้ผลผลิตกุ้งไทยสามารถส่งออกไปสหรัฐฯ ได้สะดวก เพราะตั้งแต่รู้ว่าต้องเสียภาษีเอดีให้สหรัฐฯ ราคากุ้งในประเทศตกต่ำ ยาวนานต่อเนื่องอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ในประวัติการเลี้ยงกุ้งของไทย เพราะจะช่วยให้ราคากุ้งดีขึ้นสู่ภาวะปกติ จูงใจผู้เลี้ยงกุ้งใหญ่ในบ่อดินลงลูกกุ้ง พวกตนจึงจะขายลูกกุ้งได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือให้สามารถฟื้นตัว ให้ประกอบอาชีพเพาะลูกกุ้งต่อไป สามารถยืนหยัดบนขาตนเองได้ ซึ่งทางผู้แทนของไอทีซีรับปากจะนำเอาข้อมูลความเสียหายที่ได้ไปนำเสนอคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศ สหรัฐฯ พิจารณาตัดสินอีกครั้ง ประธานชมรมผู้เพาะเลี้ยงลูกกุ้งอันดามัน กล่าวว่า มาจนถึงขณะนี้ก็เป็นเวลากว่า 8 เดือนแล้ว หลังจากประสบธรณีพิบัติภัยสึนามิ อุตสาหกรรมเพาะลูกกุ้งก็ยังไม่ฟื้น ซึ่งไม่เพียงขาดเงินทุน ที่สำคัญตอนนี้ก็คือ ขาดความมั่นใจในกู้หนี้ยืมสินลงทุนใหม่อีกครั้ง เพราะเกรงว่าจะขายลูกกุ้งไม่ได้ เนื่องจากราคากุ้งใหญ่ตกต่ำ อันเป็นผลพวงมาจากปัญหาเอดีของสหรัฐอเมริกา ทางผู้เลี้ยงบ่อดินก็ไม่กล้าลงกุ้ง “พวกเราหวังน้ำใจจากประเทศที่ได้ชื่อว่ามหามิตร ตอนนี้ผู้เพาะเลี้ยงลูกกุ้งอันดามัน ที่ประสบพิบัติภัยสึนามิ กำลังลำบากมาก เราหวังอย่างยิ่งที่จะกลับมาประกอบอาชีพเพาะลูกกุ้งที่เรารัก ที่เราทำกันมานานกว่า 15 ปี จึงขอให้ช่วยสร้างความมั่นใจเรื่องตลาด เรื่องราคากุ้ง เนื่องจากตอนนี้เอดี ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปหมด ตั้งแต่ผู้ส่งออกติดขัดส่งกุ้งไปอเมริกาไม่ได้ เพราะมาตรการเอดี และคอนทินิวอัสบอนด์ ก็ไม่ซื้อกุ้ง ราคากุ้งก็ตก ส่งผลให้เกษตรกรบ่อดินต่างไม่กล้าลงกุ้ง จึงต้องขอร้องไอทีซีสหรัฐฯ ช่วยเหลือผู้เพาะเลี้ยงลูกกุ้งไทยที่ถูกคลื่นยักษ์สึนามิถล่ม จนสิ้นเนื้อประดาตัว ให้ได้รับโอกาสฟื้นขึ้นมาใหม่ได้บนขาของตัวเองได้ ด้วยการยกเลิกมาตรการเอดีให้ เพราะตอนนี้...มาตรการเอดีของท่านมันยิ่งกว่าสึนามิ ครับ” นายทวีทรัพย์ กล่าวทิ้งท้าย นายทวีทรัพย์ ช่วยจันทร์ ประธานชมรมผู้เพาะเลี้ยงลูกกุ้งอันดามัน (โทร.01-9581360)--จบ--

ข่าวทวีทรัพย์ ช่วยจันทร์+การค้าระหว่างประเทศวันนี้

กรมเจรจาฯ เชิญผู้ประกอบการกาแฟไทย! เข้าร่วมโครงการส่งเสริมกาแฟไทยอย่างยั่งยืนด้วย FTA

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ขอเชิญผู้ประกอบการ สหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิตกาแฟและผลิตภัณฑ์กาแฟ เข้าร่วม โครงการส่งเสริมกาแฟไทยอย่างยั่งยืนด้วย FTA ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้เข้าร่วม กิจกรรมอบรมเชิงลึก Boot Camp เจาะลึกตลาดจีน ด้วยการใช้ประโยชน์จาก FTA เพื่อขยายการส่งออก และยกระดับศักยภาพ แข่งขันได้ในตลาดต่างประเทศ! ไฮไลต์พิเศษ! ผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือก 10 รายสุดท้าย จะได้รับสิทธิ์ เดินทางไปสำรวจศักยภาพตลาดในประเทศจีน เจรจาการค้ากับผู้ซื้อจากต่างประเทศตัวจริงเสียงจริง!

บล. โกลเบล็ก (GBS) ประเมินหุ้นไทยสัปดาห์น... "โกลเบล็ก" คัด 5 หุ้นเด่นติดโผกองทุน Thai ESGX เข้าลงทุน — บล. โกลเบล็ก (GBS) ประเมินหุ้นไทยสัปดาห์นี้ Sideway ออกข้าง แนะจับตาสถานการณ์ตึงเครียดด้านการค้...

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โลกธุรกิจต้องเผชิ... SME ไทยในคลื่นเศรษฐกิจโลกและแรงกดดันทางการค้า Funding Societies ชี้โอกาสของ SME ในยุคแห่งความผันผวน — ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โลกธุรกิจต้องเผชิญกับความผัน...

ผู้เลี้ยงกุ้งภาคใต้ตบเท้าเข้ากรุง ขอบคุณอียูให้จีเอสพี ลดภาษีนำเข้ากุ้ง เท่าเทียมปท.อื่น ซึ้งน้ำใจ ชมอียูจริงใจช่วยสึนามิ

กลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งภาคใต้ นำโดย นายเอกพจน์ ยอดพินิจ ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี นายปกครอง เกิดสุข ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งกระบี่ นายทวีทรัพย์ ช่วยจันทร์ ประธานชมรมผู้เพาะ...

ผู้เลี้ยงกุ้งยื่นหนังสือถึงคอนโดลิซซา ไรซ์ ขอความเป็นธรรมเรื่องการวางเงินค้ำประกัน

นายทวีทรัพย์ ช่วยจันทร์ ประธานชมรมผู้เพาะเลี้ยงลูกกุ้งอันดามัน ยื่นหนังสือถึงนางคอนโดลิซซา ไรซ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา วอนขอให้เจรจาศุลกากรสหรัฐฯ ช่วยยกเลิกหรือผ่อนปรนมาตรการวาง...