โตเกียว, 26 ม.ค.--เกียวโด เจบีเอ็น--เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
ผู้นำโลก 12 คน ซึ่งรวมถึงผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ 5 คน จะออก “ข้อเรียกร้องระดับโลกเพื่อยุติความอัปยศและการเลือกปฏิบัติต่อผู้ป่วยโรคเรื้อน” (Global Appeal to End Stigma and Discrimination Against People Affected by Leprosy) การเรียกร้องดังกล่าวจะมีขึ้นที่อินเดีย ฮาบิแทท เซ็นเตอร์ กรุงนิวเดลี ในวันโรคเรื้อนโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 29 มกราคม โดยมี อาร์. เวนกาตารามัน อดีตประธานาธิบดีอินเดีย และโยเฮ ซาซากาว่า ประธานมูลนิธินิปปอน ฟาวเดชั่น เข้าร่วมพิธีด้วย ทั้งนี้ นายซาซากาว่าได้ต่อสู้เพื่อการกำจัดโรคเรื้อนให้หมดสิ้นไปจากโลกมานานกว่า 30 ปี แต่เนื่องจากตระหนักดีว่าเสียงของเขาเพียงเสียงเดียวคงไม่เพียงพอที่จะต่อต้านการเลือกปฏิบัติต่อผู้ป่วยโรคเรื้อน นายซาซากาว่าจึงได้ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนๆของเขา
สมาชิกผู้ร่วมรณรงค์เรียกร้องดังกล่าว ได้แก่ ออสการ์ อารีอาส (อดีตประธานาธิบดีคอสตาริก้าและผู้ชนะรางวัลโนเบล), จิมมี่ คาร์เตอร์ (อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาและผู้ชนะรางวัลโนเบล) ดาไลลามะ (ผู้ชนะรางวัลโนเบล), เอล ฮัสซัน บิน ทาลัล (เจ้าชายจอร์แดน), วาคลาฟ ฮาเวล (อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐเช็ก), ลูอิซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา (ประธานาธิบดีบราซิล), โอลูเซกัน โอบาซันโจ (ประธานาธิบดีไนจีเรีย), แมรี่ โรบินสัน (อดีตประธานาธิบดีไอร์แลนด์ และอดีตข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ), เดสมอนด์ ตูตู (อาร์คบิชอปแห่งเคปทาวน์ และผู้ชนะรางวัลโนเบล), อาร์. เวนกาตารามัน (อดีตประธานาธิบดีอินเดีย) และเอลี วีเซล (ผู้ชนะรางวัลโนเบล)
ข้อเรียกร้องดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เน้นย้ำให้เห็นถึงสถานการณ์เลวร้ายทางสังคมที่ผู้ป่วยโรคเรื้อนต้องเผชิญ และ 2) กำจัดความน่าหวาดกลัวที่พวกเขาต้องทนทุกข์ตลอดชีวิต
โรคเรื้อนเป็นโรคผิวหนังที่ติดต่อได้ด้วยการสัมผัสและรักษาให้หายได้ โดยมีการรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อนฟรีในทุกประเทศทั่วโลก และประชากรมากกว่า 14 ล้านคนได้รับการรักษาจนหาย นับตั้งแต่ที่มีการแนะนำวิธีรักษาด้วยยาหลากหลายชนิด (multi-drug therapy - MDT) เมื่อช่วงต้นทศวรรษ 80 ทั้งนี้ ถ้าหากตรวจพบแต่เนิ่นๆ ผู้ป่วยก็จะไม่ต้องเสียโฉม
อย่างไรก็ตาม ทัศนคติในสังคมยังคงทำลายชีวิต บังคับแม้กระทั่งบุคคลที่ได้รับการรักษาแล้วให้แยกตัวไปตลอดชีวิต ผลที่เกิดขึ้นนี้เป็นวงจรที่ชัดเจน กล่าวคือ ผู้ที่ติดโรคเรื้อนจะปิดบังหรือมีเชื้อโรคเรื้อนอยู่ในตัวจนกว่าจะมีอาการที่ชัดเจนปรากฎออกมา ซึ่งอาการหรือรูปร่างที่ผิดรูปผิดร่างนี้จะกลายเป็นความอับอายในสังคม
ประเทศต่างๆ 113 ประเทศได้ใช้ MDT กำจัดโรคเรื้อนซึ่งเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขให้หมดสิ้นไป จำนวนประเทศที่มีโรคเรื้อนนั้นลดลงเหลือ 9 ประเทศ อย่างไรก็ตาม การกำจัดโรคที่แท้จริงนั้นรวมถึงการกำจัดเชื้อโรคและปัญหาสังคมที่รายล้อมอยู่ด้วย สังคมโดยรวมจะต้องเข้าถึงเรื่องนี้ เพื่อที่ การร้องขอใดๆจะได้ถูกนำเสนอไปยังหน่วยงานใน 3 ทิศทาง คือ องค์การสหประชาชาติ ด้วยการผลักดันให้ยูเอ็นแนะนำแนวทางให้กับรัฐบาลในประเด็นที่เกี่ยวกับโรคเรื้อน รัฐบาล เพื่อที่จำได้ลงมือดำเนินการอย่างเร่งด่วนในการปรับปรุงสถานการณ์ และสังคม เพื่อเปลี่ยนมุมมอง เพื่อที่ได้จะได้มีการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคเรื้อน
สื่อมวลชนที่ต้องการเข้าร่วมงาน กรุณาติดต่อ ศาสตราจารย์อัจวาล เค ชาวดูรีย์ ในนิวเดลี โทร. +91-93733-11239 หรือโทร.+91-11-2278-3532
ที่มา: เดอะ นิปปอน ฟาวเดชั่น
ติดต่อ:เจมส์ ฮัฟฟ์แมน
เดอะ นิปปอน ฟาวเดชั่น
โทร.+81-3-6229-5131
อีเมล์: [email protected]
http://www.nippon-foundation.or.jp/eng/
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท (www.asianetnews.net)--
เทศกาลภาพยนตร์ True Colors Film Festival (TCFF) ที่จัดโดยมูลนิธินิปปอน นำเสนอภาพยนตร์และหนังสั้นที่ได้รับรางวัลกว่า 30 เรื่องให้รับชมออนไลน์ระหว่างวันที่ 3 ถึง 12 ธันวาคม 2563 ภาพยนตร์ทั้งหมดเน้นเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตมนุษย์ อาทิ ความหวัง ความฝัน และการข้ามผ่านความเปลี่ยนแปลง สามารถรับชมได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ภาพยนตร์ที่นำกลับมาอีกครั้ง The Chess Game of the Wind (ค.ศ. 1976; อิหร่าน) ออกฉายเพียงสองครั้งในปี 1976 แล้วสูญหายไปหลังการปฏิวัติอิหร่าน ภาพยนตร์ถูกค้นพบโดยบังเอิญ
สถานการณ์ของโรคเรื้อน
—
โดย นพ.กฤษฎา มโหทาน นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรคเรื้อน สถาบันราชประชาสมาสัย ในทุกปี จะมีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เรื่องโรคเรื้อน ...
ภาพข่าว: ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดงานมหกรรมตีกลองนานาชาติในอาเซียนและญี่ปุ่น
—
นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมร่วมเป็นประธานในพิธี...