ธพส. ลงนาม 2 พันธมิตร ปตท. กฟน. เดินหน้าผลิตไฟฟ้า น้ำเย็น โครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--28 มิ.ย.--ปตท.

นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อธิบดีกรมธนารักษ์ ในฐานะประธานกรรมการบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาซื้อขายพลังงานความเย็น โครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ ณ ห้องประชุม ชั้น 8 อาคาร 72 ปี กรมธนารักษ์ พิธีดังกล่าว เป็นการลงนามร่วมกันระหว่าง บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด โดยนายวิมล จันทร์จิราวุฒิกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ และการไฟฟ้านครหลวง โดยนายพรเทพ ธัญญพงศ์ชัย ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง ทั้งนี้ การลงนามดังกล่าวเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องมาจากการลงนามบันทึกข้อตกลงการผลิตและจำหน่ายน้ำเย็นด้วยระบบพลังงานร่วม ความร้อนและไฟฟ้า สำหรับโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2548 เพื่อให้ ปตท. และ กฟน. เป็นผู้ลงทุนก่อสร้างโรงผลิตน้ำเย็นและอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งสร้างท่อก๊าซธรรมชาติเข้าสู่โครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ เพื่อนำมาใช้ผลิตนำเย็นสำหรับระบบปรับอากาศของศูนย์ราชการฯ โดยหลังจากพิธีลงนามในวันนี้ ธพส. จะส่งมอบที่ดินให้ ปตท. และ กฟน. (ผู้ให้บริการ) ดำเนินการก่อสร้างโรงผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็นภายในพื้นที่โครงการ โดยใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 1 ปี หลังจากนั้นจะติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและเครื่องทำน้ำเย็น โดย ปตท. จะเป็นผู้จัดหาก๊าซธรรมชาติสำหรับนำมาใช้ในการผลิต ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานจะเป็นผู้ดูแล บำรุงรักษาระบบ ตลอดจนควบคุมคุณภาพของน้ำเย็นที่จ่ายให้กับโครงการ ให้เป็นไปตามกำหนด ทั้งนี้ จะเริ่มจ่ายน้ำเย็นให้โครงการฯ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2551 จนถึงวันสิ้นสุดสัญญา 30 มิถุนายน 2581 เป็นเวลา30 ปี โดยในเบื้องต้นคิดอัตราค่าบริการ5.30 บาท ต่อตันต่อชั่วโมง (Ton-Hour) ซึ่งถูกกว่าอัตราปกติ 10 สตางค์ สำหรับการผลิตและจำหน่ายน้ำเย็นด้วยระบบพลังงานร่วม ความร้อนและไฟฟ้าที่ใช้ในโครงการศูนย์ราชการฯ เรียกว่า ระบบ Co-Generation เป็นการผสมผสานระหว่างการผลิตไฟฟ้าและการผลิตน้ำเย็น โดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในกังหันก๊าซผลิตไฟฟ้า แล้วนำไอร้อนที่ออกจากกังหันก๊าซไปใช้ในการผลิต น้ำเย็นด้วยเครื่องทำความเย็น ส่งไปใช้ในระบบปรับอากาศภายในอาคาร โครงการศูนย์ราชการฯ นี้ นับเป็นโครงการที่ 2 ต่อจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่ได้นำระบบ Co-Generation เข้ามาใช้ในโครงการ ซึ่งระบบดังกล่าวนำมาซึ่งประโยชน์และผลดีต่อภาคส่วนต่างๆ ดังนี้ โครงการศูนย์ราชการฯ ที่ได้รับประโยชน์ในด้านความมั่นคงและยั่งยืนของระบบจ่ายพลังงานภายใน ศูนย์ราชการฯ เนื่องจากมีการผลิตกระแสไฟฟ้า ณ จุดใช้งาน ( Distributed Generation : DG ) ติดตั้งและบำรุงรักษาง่าย โดยมี ปตท. และ กฟน. ซึ่งเป็น Service Provider ที่มีความเชี่ยวชาญและเคยให้บริการระบบดังกล่าวในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มารับหน้าที่ในการบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบแทน ธพส. ผู้ให้บริการ(ปตท. และ กฟน.) ได้รับประโยชน์ในด้านธุรกิจ เป็นการเปิดช่องทางธุรกิจรูปแบบใหม่ ด้านเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วม ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มการใช้บริการเพิ่มสูงขึ้นทั้งในระดับประเทศ และภูมิภาค และยังคุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะระบบดังกล่าวจะช่วยเสริมความมั่นคง ของระบบไฟฟ้า รวมถึงลดต้นทุนและความสูญเสียในระบบสายส่งไฟฟ้าได้อีกด้วย ผู้ใช้อาคาร จะได้ทำงานในอาคารที่มีอุณหภูมิเย็นสบายตลอดเวลา แม้ต้องทำงานล่วงเวลาก็ยังได้สัมผัสอุณหภูมิที่ไม่แตกต่างจากเวลาทำงานปกติมาก เนื่องจากมีการเดินเครื่องปรับอากาศตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ในส่วนของหน่วยงานผู้เช่าใช้พื้นที่ ยังประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจาก ปตท. และ กฟน. ซึ่งเป็น ผู้ร่วมลงทุนจัดสร้างระบบผลิตคิดราคาค่าทำความเย็นในอัตราพิเศษ (5.30/Ton-hour ซี่งราคาค่าทำความเย็นของระบบ Electric Chiller ทั่วไปอยู่ที่ 5.40 บาท/Ton-hour) และที่สำคัญที่สุด คือ ประเทศชาติ ซึ่งนับเป็นการสนับสนุนนโยบายด้านพลังงาน ในสภาวะราคาน้ำมัน ในตลาดโลกสูงขึ้น ด้วยการหันมาใช้ก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้ภายในประเทศ และเป็นพลังงานสะอาด จึงเป็นการช่วยลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ระบบ Co-Generation ยังช่วยให้ใช้ก๊าซธรรมชาติได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น จากเดิมที่นำไปผลิตไฟฟ้าอย่างเดียว จะเป็นการใช้ประสิทธิภาพของก๊าซธรรมชาติได้เพียง ร้อยละ 50 แต่เมื่อนำไปใช้ร่วมกับการผลิตน้ำเย็น จะเป็นการใช้ประสิทธิภาพของก๊าซธรรมชาติได้ถึง ร้อยละ 80 นอกจากโครงการนี้จะใช้ระบบ Co-Generation ซึ่งเป็นการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าแล้ว ตัวอาคารในโครงการนี้ ก็ยังมีการออกแบบให้เป็นอาคารประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง โดยมีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ ออกแบบเป็นอาคารปิด ซึ่งช่วยควบคุมความร้อน ความชื้น จากภายนอกอาคาร ช่วยให้ง่ายต่อการควบคุมอุณหภูมิภายในอาคารให้มีความเหมาะสม มีการเดินเครื่องส่งความเย็นในเวลากลางคืน ทำให้ภายในตัวอาคารมีอุณหภูมิเย็นสบายตลอด 24 ชั่วโมง โดยความเย็นจะถูกเก็บรักษาไว้ในตัวอาคาร ทำให้เมื่อถึงเวลากลางวันไม่ต้องใช้พลังงานในการลดอุณหภูมิภายในอาคารมาก มีการผลิตและกักเก็บน้ำเย็น โดยในช่วงกลางคืนจะมีการผลิตน้ำเย็นเก็บกักไว้ในถังเก็บ ความเย็น เพื่อนำมาเสริมระบบทำความเย็นในเวลากลางวัน ช่วยลดการทำงานของเครื่องทำน้ำเย็นในเวลากลางวันได้ถึง 3,000 ตัน จากหลักการดังกล่าวนี้ ทำให้โครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ เป็นต้นแบบของอาคารประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง ซึ่งสามารถประหยัดพลังงานที่ใช้ในระบบปรับอากาศได้ถึง ร้อยละ 20 เมื่อเปรียบเทียบกับอาคารสมัยใหม่ชั้นดีทั่วไป โทรศัพท์ 0-2537-3217 ส่วนประชาสัมพันธ์ กลุ่มธุรกิจสำรวจ ผลิต และก๊าซธรรมชาติ โทรสาร 0-2537-3211 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

ข่าวธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์+ประเสริฐ บุญสัมพันธ์วันนี้

OKMD จับมือ ธพส. ยกระดับแพลตฟอร์ม "OKMD Knowledge Portal" สู่ศูนย์กลางการเรียนรู้ออนไลน์ของประเทศ

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ OKMD โดย ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการ OKMD ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) หรือ DAD โดย ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท กรรมการผู้จัดการ ธพส. เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และร่วมพัฒนาระบบจัดการความรู้ระหว่างหน่วยงานภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรม ณ อาคารธนพิพัฒน์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ดร.ทวารัฐ กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการบูรณาการศักยภาพระหว่าง OKMD และ ธพส. ในการขยายการ

ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร (กลาง) ผู้อำนวยการสำนั... เปิดพื้นที่ต้นแบบร้านกาแฟรักการอ่าน Read Cafe — ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร (กลาง) ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ หรือ OKMD ลงนามบันทึกข้อตกลง...

พันเอก สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดกา... CAT ลงนามร่วมให้บริการ Free WiFi ในศูนย์ราชการฯ — พันเอก สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ดร.นาฬิก...