ประชุมวิชาการปี 2549 ว่าด้วยเรื่อง “เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคในกระเพาะอาหารระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิคครั้งที่ 6” (6th Western Pacific Helicobacter Congress 2006)

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--27 ธ.ค.--

ในโอกาสที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับนานาชาติ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด “การประชุมวิชาการปี 2549 ว่าด้วยเรื่อง เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคในกระเพาะอาหารระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิคครั้งที่ 6” (6th Western Pacific Helicobacter Congress 2006) โดยมี รศ.พญ.วโรชา มหาชัย ประธานการ จัดงานประชุมฯพร้อมคณะกรรมการ ร่วมให้การต้อนรับ พร้อมกันนี้ ศ.น.พ. แบร์รี เจ. มาร์แชลล์ ผู้ค้นพบเชื้อโรคดังกล่าว เจ้าของรางวัลโนเบล ได้เดินทางมาร่วมเป็นวิทยากรกิตติมศักดิ์ โดยมีคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินอาหารทั้งจากเมืองไทยและต่างประเทศทั่วโลก 22 ประเทศ ประมาณ 500 ท่าน เข้าร่วมประชุม ระหว่างวันที่ 12-14 พ.ย. ศกนี้ ณ ห้องแกรนด์ฮอลล์ 1 -2 โรงแรม พลาซ่า แอทธินี กรุงเทพฯ ถนนวิทยุ [ศ.น.พ. แบร์รี เจ. มาร์แชลล์ (Prof. Barry J. Marshall) เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาสรีระศาสตร์และการแพทย์ประจำปี 2548 และเจ้าของรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาสาธารณสุขของไทยเมื่อ ปี 2545 ซึ่ง ศ.น.พ. แบร์รี เจ มาร์แชลล์ เป็นผู้ค้นพบ (ร่วมกับ น.พ.เจ โรบิน วาร์เรน (Prof. J. Robin Warren) จากออสเตรเลียเหมือนกัน) ว่ามีเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ในตระกูล Helicobacter อยู่ในกระเพาะทั้งๆที่กระเพาะมีสภาพเป็นกรดและยังเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอาหารและโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร โดยหลังจากที่เพาะชื้อได้สำเร็จ ศ.น.พ. แบร์รี เจ. มาร์แชลล์ ได้เอาตัวเองเป็นหนูทดลอง ด้วยวิธีกลืนแบคทีเรียดังกล่าว เมื่อปี ค.ศ.1982 เพื่อพิสูจน์ว่าสาเหตุของโรคอักเสบในกระเพาะมาจากเชื้อแบคทีเรียที่ว่านี้ นับได้ว่าเป็นการค้นพบที่พลิกวงการแพทย์จากหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว จากอดีตอันยาวนาน ที่เคยมีความเชื่อว่า การเกิดโรคกระเพาะอาหาร มีสาเหตุจากการเกิดกรดในกระเพาะเท่านั้น] รศ.พญ.วโรชา มหาชัย ประธานจัดการประชุม กล่าวว่า “ในการประชุมครั้งนี้จะมีการสัมมนาโดยวิทยากรกิตติมศักดิ์ อาทิเช่น ศ.น.พ. แบร์รี เจ. มาร์แชลล์ (Prof. Barry J. Marshall), น.พ.ริชาร์ด แอล. เฟอเรโร(Richard L.Ferrero), น.พ.จอห์น ซี. แอเธอตัน (John C.Atherton), น.พ. ทาเคชิ เอซึมิ(Takeshi Azuma), นพ. อุดม คชินธร (Udom Kachintorn), น.พ.ปีเตอร์ มัลเฟอร์เธียเนโร (Peter Malfertheinero), รศ.พญ.วโรชา มหาชัย (Varocha Mahchai) เป็นต้น และยังเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ, นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยที่ทำการศึกษาเรื่องนี้อยู่จากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งจากสถิติต่างๆ ของ เฮลิโคแบคเทอร์ ไพลอไร (Helicobacter pylori) พบว่าเชื้อแบคทีเรีย H. pylori มีอยู่ในกระเพาะอาหารของมนุษยชาติ จำนวนมากประมาณครึ่งหนึ่งของคนในโลกนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนาเกือบทุกคนติดเชื้อนี้ (ซึ่งประเทศในแถบเอเซียแปซิฟิคมีกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาอยู่เป็นจำนวนมาก) โดยในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า โรคแผลในกระเพาะอาหารราว 3 ใน 4 นั้นมีสาเหตุมาจาก H. pylori ซึ่งเราสามารถรักษาได้อย่างถาวรด้วย ชุดยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม ส่วนการติดเชื้อนั้น มักจะเกิดตั้งแต่ในวัยเด็ก ผ่านทางสมาชิกในครอบครัวด้วยกัน แต่จะยังไม่แสดงอาการจนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่แล้ว นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาการติดเชื้อดังกล่าว จะทำให้มีอาการเรื้อรัง อาจจะนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งของกระเพาะอาหารต่อไป ” รศ.พญ.วโรชา มหาชัย ยังกล่าวต่อไปอีกว่า “ การที่ในปีนี้ประเทศไทยเราได้รับเกียรติและความไว้วางใจให้เป็นเจ้าภาพในการจัดงานประชุมแสดงให้เห็นว่าเราได้รับการยอมรับจากแพทย์นานาประเทศและแสดงให้เห็นถึงศักยภาพทางด้านการแพทย์ระบบทางเดินอาหารในแถบเอเซียแปซิฟิค อีกด้านหนึ่งนอกจากประเทศไทยเราจะได้รับชื่อเสียงและการยอมรับจากแพทย์นานาประเทศแล้ว เรายังได้มีการจัดงานเลี้ยงต้อนรับแบบไทยๆ เพื่อเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยที่มีเอกลักษณ์และความสวยงามให้กับแพทย์จากทั่วทุกมุมโลกได้รับรู้ถึงคุณค่าและความสวยงามของวัฒนธรรมไทย นับได้ว่าเป็นการประชาสัมพันธ์ให้กับประเทศไทยไปในตัวอีกด้วย” ในงานดังกล่าว วิทยากรกิตติมศักดิ์และประธานการจัดงานและคณะกรรมการ ได้ให้สัมภาษณ์ ถึงประเด็น ความร่วมมือในการพัฒนาวิธีการรักษาและป้องกันการเกิดเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว ที่จะนำไปสู่ความเจ็บป่วยด้วยโรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง ถึงขั้นเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหาร ซึ่งมีสถิติการเกิดมากในประเทศแถบเอเซียแปซิฟิค อีกด้วย สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร+อภิรักษ์ โกษะโยธินวันนี้

"สมจิตร์ เปี่ยมเปรมสุข" STI รับมอบเกียรติบัตรในฐานะ "วิศวกรอาสา" ร่วมมือ กทม. ช่วยเหลือตรวจสอบอาคาร และให้คำแนะนำในเหตุการณ์แผ่นดินไหว

นายสมจิตร์ เปี่ยมเปรมสุข (ซ้าย) อุปนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) และกรรมการ บริษัท สโตนเฮ้นจ์ อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ STI ผู้นำในกลุ่มธุรกิจวิศวกรที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานก่อสร้างครบวงจร เข้าพิธีรับมอบเกียรติบัตร จาก นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ (ขวา) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในฐานะ "วิศวกรอาสา" ลงพื้นที่เข้าสำรวจและตรวจสอบโครงสร้าง ร่วมกว่า 100 โครงการ เพื่อประเมินสภาพอาคารและระบบงานต่าง ๆ เบื้องต้น ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในกรุงเทพมหานคร

นางสาวสุชิรา ศิลานนท์ ผู้อำนวยการเขตวัฒนา... เขตวัฒนาเร่งรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำลำรางสาธารณะใน ซ.ปรีดีพนมยงค์ 20 ตามคำพิพากษาศาลปกครอง — นางสาวสุชิรา ศิลานนท์ ผู้อำนวยการเขตวัฒนา กทม. กล่าวกรณีศาล...

นายอนุชิต พิพิธกุล ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ... กทม. คุมเข้มร้านอาหาร-หาบเร่แผงลอยไม่ปล่อยทิ้งไขมัน-น้ำเสียลงคลองและท่อระบายน้ำ — นายอนุชิต พิพิธกุล ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ (สนท.) กทม. กล่าวถึงมาตรการเพิ...

นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ... กลุ่มบริษัทบางจาก ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด ที่ศูนย์กีฬาเบญจกิติ — นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยืนแล...

ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ตอกย้ำเจต... ผู้บริหารเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมแสดงความยินดีเป็นส่วนหนึ่งของภาพประวัติศาสตร์ สมรสเท่าเทียม — ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ตอกย้ำเจตนารมย์ในการสนับสน...

กทม. เตรียมสรุปผลสอบวินัยร้ายแรงโครงการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายฯ

นางฐิติชยา อนันต์วงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานการเจ้าหน้าที่ (สกจ.) สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการของคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญกระทำผิดวินัยในการดำเนินโครงการจัดซื้อครุภัณฑ์...