ศูนย์ ปภ.เขต10 ลำปาง เตือนเหนือตอนบนระวังน้ำป่าไหลหลาก

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--9 ส.ค.--ปภ.

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 10 ลำปาง เตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยของ 6 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน และพะเยา ระวังน้ำป่าไหลหลากในช่วงที่มีฝนตกหนักตลอดทั้งวัน นายคณิต เอี่ยมระหงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 10 ลำปาง เปิดเผยว่ากรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเตือนให้จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนเฝ้าระวังการเกิดน้ำป่าไหลหลาก ในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันหลายวัน โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขาถือว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยมากที่สุด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 10 ลำปาง ได้สั่งการให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่ความรับผิดชอบ 6 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน และพะเยา จัดเวรยามเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมป้องกันและแก้ปัญหาตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะ จังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวนหมู่บ้านเสี่ยงภัยมากที่สุดในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน จำนวน 896 หมู่บ้าน รองลงมา ได้แก่ จังหวัดเชียงราย 568 หมู่บ้าน ซึ่งทางศูนย์เขตได้กำชับให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ดูแลเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภัยเป็นกรณีพิเศษ พร้อมทั้งรายงานปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ทุกระยะ หากเกิดฝนตกหนักในปริมาณมากๆ จะได้เตรียมแผนป้องกัน และพร้อมที่จะอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ได้อย่างทันท่วงที ส่วนอีก 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน มีพื้นที่เสี่ยงภัยรวมทั้งสิ้น 1,118 หมู่บ้าน ซึ่งขณะนี้ได้เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อย่างเต็มที่ตลอดเวลาอยู่แล้ว นายสัลเลข คำใจ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลำปาง กล่าวว่า ในช่วงนี้มีฝนตกติดต่อกันในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน อาจทำให้เกิดภัยธรรมชาติจากภาวะฝนตกหนักได้ จังหวัดลำปางได้ดำเนินการเฝ้าระวังภัยอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ตรวจวัดปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา แต่ปริมาณฝนที่ตกลงมายังไม่หนักมากนัก โดยพื้นที่เสี่ยงภัยมากที่สุดในจังหวัด ได้แก่ อำเภอเมืองปาน ส่วนปริมาณน้ำในน้ำตกแจ้ซ้อน อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน ยังมีปริมาณปกติไม่มีสีขุ่นเนื่องจากน้ำป่า สามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติ สุดท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือหรือแจ้งเหตุได้ที่ ศูนย์ฯ ปภ. เขต 10 ลำปาง และสำนักงาน ปภ. จังหวัดในเขตความรับผิดชอบหรือสายด่วน ปภ.1784 ตลอด24 ชั่วโมง

ข่าวกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย+คณิต เอี่ยมระหงษ์วันนี้

NT ยืนยันความพร้อม ร่วมทดสอบระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast ในพื้นที่จริง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กรมประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้ง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมแถลงข่าวความพร้อมทดสอบการแจ้งเตือนภัยผ่าน Cell Broadcast

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส... ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ — ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดก...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ป... 'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...

เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและก... สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์ — เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...

นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำ... กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้ — นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพั...

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. เร่งถ่ายเทไหลเวียนน้ำในคลองช่องนนทรี เตรียมขุดลอกดินเลน-ทำความสะอาดท่อลอด — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวชี้แจงกร...

กทม. เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำรองรับสถานการณ์ฝน

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวกรณีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังว่า กทม. ได้จัดทำแผนเตรียมความพร้อมด้านระบบระบายน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ฝนตกหนัก โดยใช้แผน...