บ่มความพร้อมเรื่องแฟชั่น กับ 4 กูรู ในโครงการประกวด ยามาฮ่า ยัง ดีไซเนอร์ คอนเทสต์ ครั้งที่ 3

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--25 ม.ค.--แม็กซิม่า คอนซัลแตนท์

ผ่านไปแล้วกับการเวิร์คชอปของผู้ผ่านเข้ารอบคัดเลือกทั้ง 10 ท่าน จากผู้เข้าประกวด 365 คน ในโครงการประกวด “YAMAHA YOUNG DESIGNER CONTEST” ครั้งที่ 3 ซึ่งได้ร่วมเวิร์คชอปเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่รอบต่อไปกับ 4 กูรูด้านแฟชั่น ที่มาแนะเทคนิค เกร็ดความรู้ เพิ่มพูนประสบการณ์ทั้งศาสตร์และศิลป์ ณ ศูนย์สร้างสรรค์องค์ความรู้แฟชั่น สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล้วยน้ำไท ผู้ผ่านเข้ารอบทั้ง 10 คน ได้แก่ ณตฐวรรต ธาราภิบาล, พงษณกรณ์ สำนักวิชา, ชญามน นุตยะสกุล , บรรณกร คชเสนีย์, นรบดี ศรีหะจันทร์, จตุพร เจริญเอม, มานพ ชัยยืน, เตชินทร์ ไกรขจรกิตติ, เสฎฐวุฒิ เชียรสิริไกรวุฒิ และ สิญาภา คำมา ซึ่งต่างเตรียมตัวกันมาเป็นอย่างดี เพื่อเก็บเกี่ยวองค์ความรู้ด้านแฟชั่นกันอย่างเต็มที่ เพื่อเตรียม เสนอผลงานอีกครั้งในรอบรองสุดท้าย เวิร์คชอปแบ่งเป็นสองวันโดยในวันแรกนั้น ณัฐวัฒน์ สีวะรา ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ มาบรรยายในหัวข้อแฟชั่น แอคเซสซอรี่ โดยกล่าวว่า “แฟชั่น แอคเซสซอรี่ เป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งที่ช่วยเสริมให้เสื้อผ้าดูมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เช่น เลื่อมประดับต่างๆ เข็มกลัด เข็มขัด หรือแม้กระทั่ง กระเป๋า รองเท้า ล้วนเป็น แฟชั่น แอคเซสซอรี่ ซึ่งการออกแบบแฟชั่น แอคเซสซอรี่ จะต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับเสื้อผ้าด้วย ซึ่งการออกแบบสามารถนำแรงบันดาลใจจากเทรนด์แฟชั่น สิ่งที่พบเห็น จากหนังสือ หรือนำสิ่งที่มีอยู่ใกล้ตัว นำมาหยิบจับออกแบบเกิดเป็นชิ้นงานสวยๆ เมื่อนำมาประดับ หรือ สวมใส่คู่กับเสื้อผ้า ไม่เพียงจะทำให้ ผู้สวมใส่ดูดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้เสื้อผ้าดูเพิ่มมูลค่าได้อีกด้วย” ด้าน วิวัฒน์ หิรัญพฤกษ์ ผู้จัดการศูนย์สร้างสรรค์องค์ความรู้แฟชั่น สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ มาให้ความรู้ด้านทิศทางอุตสาหกรรมแฟชั่น กล่าวว่า “ปัจจุบันเทรนด์การแต่งตัวของคนไทยมีความชัดเจนมากขึ้น และตลาดเสื้อผ้าของคนแต่ละกลุ่มมีความชัดเจนมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นผู้ออกแบบจึงสามารถนำเอาไลฟ์สไตล์ของผู้คน ประกอบกับบุคคลที่มีชื่อเสียงที่มีอิทธิพลต่อแฟชั่น มาเป็นแนวทางในการออกแบบ ผู้ออกแบบจึงเปรียบเสมือนผู้พยากรณ์แนวโน้มเทรนด์ เมื่อผู้บริโภคเห็นว่าดี คนก็จะตามจนเกิดเป็นเทรนด์แฟชั่นขึ้น เช่นเดียวกับยามาฮ่าที่เล็งเห็นความสำคัญของแฟชั่น และนำมาเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในการออกแบบต่างๆ ของรถจักรยานยนต์ รวมถึงเสื้อผ้า ดังนั้นผู้บริโภคก็จะจดจำความเป็นยามาฮ่าในกลิ่นอายของแฟชั่น เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า” ส่วนในวันที่สองของการเวิร์คชอป กมลศิริ ใจชื่น นักศึกษาทุนรุ่น 1 จากสถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ และดีไซเนอร์อิสระ ที่มาร่วมเป็นวิทยากรพูดในหัวข้อธุรกิจแฟชั่น กล่าวว่า “ปัจจุบันผู้บริโภครู้จักประยุกต์นำสิ่งที่ตัวเองมีอยู่มาปรับใช้ และเริ่มกล้าแต่งตัวกันมากขึ้น ดูได้จากตลาดค้าส่งเสื้อผ้าที่เดี๋ยวนี้มีแฟชั่นที่หลากหลาย ดังนั้นผู้ออกแบบจะต้องจับจุดให้ได้ว่า จะผลิตเสื้อผ้าสำหรับกลุ่มคนแบบไหน มีความต้องการยังไง ไลฟ์สไตล์เป็นอย่างไร โดยยังนำ เทรนด์มาเป็นตัวอ้างอิง และในเวลานี้ธุรกิจแฟชั่นเริ่มมีผู้ให้ความสนใจในธุรกิจนี้กันมากขึ้น อย่างเช่นโครงการยามาฮ่านี้ที่มีส่วนในการผลักดันให้มีบุคลากรทางด้านแฟชั่นมารองรับธุรกิจ” จากนั้น ผู้ผ่านเข้ารอบทั้ง 10 คน ดูมีความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น สังเกตได้จากการแต่งตัวที่เดิร์นเก๋ กู๊ด กันสุดๆ เพราะได้เทคนิคในการสร้างสไตล์ มิกซ์ แอนด์ แมทช์ จาก ประภากาศ อังศุสิงห์ สไตลิสต์ผู้อยู่เบื้องหลังให้กับนักร้องดังหลายๆ คน แห่งแกรมมี่ ที่มาแนะเคล็ดลับรวมทั้งประสบการณ์การทำงานว่า “ต้องตีโจทย์ของการแข่งขันให้แตก ที่ให้เป็นดีไซเนอร์สำหรับซุปเปอร์สตาร์ 5 คน ต้องวิเคราะห์ และวางบุคลิกภาพของทั้ง 5 คนให้โดดเด่น หลากหลาย ประกอบกับแนวเพลงที่ร้อง ความชอบของศิลปิน เก็บทุกรายละเอียด เพื่อนำมาสร้างสไตล์ให้แต่ละศิลปิน” ติดตามลุ้นว่าผู้เข้าประกวดท่านใดจะนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการเวิร์คชอปในครั้งนี้ ไปต่อยอดผลงานของตนเอง สู่การคัดเลือกในรอบ 5 คนสุดท้าย ในวันเสาร์ที่ 26 มกราคมนี้ ซึ่งทั้ง 5 ท่านจะต้องนำผลงานที่ดีไซด์ไปตัดเย็บเป็นผลงานจริงในรูปแบบแฟชั่นโชว์ ในวันที่ 5 เมษายน นี้ที่งานบางกอก มอเตอร์โชว์ต่อไป ติดตามรายชื่อผู้เข้ารอบสุดท้ายทั้ง 5 คน ได้ที่ www.yamaha-motor.co.th หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ บริษัท แม็กซิม่า คอนซัลแตนท์ จำกัด โทร.0-2434-8300 สุจินดา, แสงนภา, ภัควลัญชญ์ สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ+พัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอวันนี้

Kind+ Jugend ASEAN 2025 ร่วมกับ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ชูโครงการ SME ปัง! ตังได้คืน ขยายธุรกิจแม่และเด็กสู่ตลาดโลก

Kind+ Jugend ASEAN 2025 มหกรรมแสดงสินค้านานาชาติและเทคโนโลยีสำหรับผลิตภัณฑ์แม่และเด็กคุณภาพแห่งภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ 3 ร่วมกับ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME ในประเทศไทย ได้เข้าร่วมแสดงสินค้าในงานใหญ่ระดับนานาชาติ ภายใต้โครงการ SME ปัง! ตังได้คืน ปี 2 ผ่านระบบ BDS (Business Development Services) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่ต้องการขยายธุรกิจและพัฒนาศักยภาพในตลาดอาเซียนและทั่วโลก พร้อมเสริมสร้างความ

อุตสาหกรรมเสื้อผ้าไทย ต้องเผชิญกับความท้า... เมื่อ Digital Transformation คือจุดเปลี่ยนของธุรกิจอุตสาหกรรมเสื้อผ้าไทย — อุตสาหกรรมเสื้อผ้าไทย ต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่จากสถานการณ์การระบาดของโคว...

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) โดย สำนักงานเศรษฐ... อก. เร่งดันผู้ประกอบการแปรรูปกัญชงสู่พาณิชย์รองรับ BCG Model — กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) โดย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ผลักดันผู้ประกอบการแปรรูปกัญช...

นางทิพวรรณ พานิชการ ผู้อำนวยการศูนย์วิเคร... สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดห้องทดสอบสิ่งทอต้อนรับคณะผู้บริหารธุรกิจเคมี — นางทิพวรรณ พานิชการ ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ สถาบันพัฒนาอุตสาหก...

ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพ... โครงการพัฒนาต้นแบบวัสดุเชิงเทคนิคเพื่อรองรับอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (New S-Curve) — ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นปร...

ก.อุตฯ ปลื้มยกระดับผ้าทออีสาน เผยผลสำเร็จ... ก.อุตฯ ปลื้มยกระดับผ้าทออีสาน เผยผลสำเร็จ “มัดทอใจ”เฟส 2 — ก.อุตฯ ปลื้มยกระดับผ้าทออีสาน เผยผลสำเร็จ “มัดทอใจ”เฟส 2 ดึงอัตลักษณ์มัดหมี่ท้องถิ่น สู่การออกแ...