ดีพร้อม เดินเครื่องดันอุตฯ เสื้อผ้าไทย ปูพรมอัพสกิลบุคลากรทุกมิติ พร้อมดึงอัตลักษณ์สร้างแบรนด์ไทยสู่สากล หนุนพลังซอฟต์พาวเวอร์แฟชั่นไทยสู่ศูนย์กลางภูมิภาค

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

นางสาวนันท์ บุญยฉัตร ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มไทย มีแนวโน้มการเติบโตต่อเนื่อง โดยในปี 2567 พบว่าอุตสาหกรรมดังกล่าวมีการส่งออกมูลค่ารวม 6,196.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ที่มา : สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ) อย่างไรก็ตาม แม้ไทยจะเป็นฐานการผลิตที่มีแรงงานฝีมือดี มีคุณภาพ และได้มาตรฐานแต่ช่วงที่ผ่านกลับพบว่า ปริมาณการผลิตของไทยชะลอตัวลง มีปัจจัยสำคัญมาจากต้นทุนแรงที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง ทำให้เกิดการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานถูกกว่า รวมถึงขาดความรู้ ทักษะและความเข้าใจในด้านการประกอบธุรกิจ ดังนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การแข่งขันจากด้านราคาไปสู่การใช้ความคิดสร้างสรรค์ เน้นคุณภาพและเพิ่มมูลค่าให้มากขึ้น การสร้างทักษะที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ ตลอดจนการสร้างอัตลักษณ์และแบรนด์ไทยที่มีความชัดเจนในระดับนานาชาติ

ดีพร้อม เดินเครื่องดันอุตฯ เสื้อผ้าไทย ปูพรมอัพสกิลบุคลากรทุกมิติ พร้อมดึงอัตลักษณ์สร้างแบรนด์ไทยสู่สากล หนุนพลังซอฟต์พาวเวอร์แฟชั่นไทยสู่ศูนย์กลางภูมิภาค

กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้การบริหารงานของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการยกระดับศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มไทยทุก ๆ มิติ ภายใต้นโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรมให้มีความทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส" ที่มุ่งเสริมแกร่งห่วงโซ่อุปทาน สร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ พัฒนาทักษะบุคลากร สร้างความเท่าเทียมให้เอสเอ็มอีไทยให้สามารถนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิต รวมถึงพัฒนาการออกแบบด้วยการผสมผสานความร่วมสมัย คงอัตลักษณ์ความเป็นไทย และสร้างโอกาสทางการตลาดก้าวสู่ระดับสากล จึงมอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) ดำเนินการหาแนวทางการพัฒนาและยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการไทยสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างแข็งแรง พร้อมปรับตัวและรับมือท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสัมคมในบริบทต่าง ๆ ในอนาคต ดีพร้อม เดินเครื่องดันอุตฯ เสื้อผ้าไทย ปูพรมอัพสกิลบุคลากรทุกมิติ พร้อมดึงอัตลักษณ์สร้างแบรนด์ไทยสู่สากล หนุนพลังซอฟต์พาวเวอร์แฟชั่นไทยสู่ศูนย์กลางภูมิภาค

นางสาวนันท์ กล่าวต่อว่า ดีพร้อม มีแนวทางการดำเนินงานที่มุ่งเน้นให้วิสาหกิจไทยสามารถอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่กับการปรับตัวให้เข้ากับวิถีใหม่อย่างมั่นคง ภายใต้นโยบาย "ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้" ของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ด้วยกลยุทธ์ 4 ให้ 1 ปฏิรูป ที่มุ่งส่งเสริม พัฒนา และยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการในทุก ๆ ด้านอย่างตรงจุด ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ การให้ทักษะใหม่ ด้วยการเพิ่มทักษะ ความรู้ ความสามารถบุคคลทั่วไปและผู้ประกอบการ เพื่อสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็นต่อการทำงานในอุตสาหกรรมแฟชั่นสาขาเสื้อผ้าและเครื่องนุ่มห่มไทย ผ่าน "กิจกรรมการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายไทย" ภายใต้โครงการพัฒนาและเชื่อมโยงเครือข่ายบุคลากรอุตสาหกรรมแฟชั่น (Fashion Alliance) ประจำปี 2568 โดยมุ่งส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าฯ รวมถึงต่อยอดองค์ความรู้ด้วยทักษะที่จำเป็นในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายอย่างสร้างสรรค์ รวมถึงความรู้ที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ เน้นการสร้างภาพลักษณ์ที่โดดเด่นให้กับเสื้อผ้า ตลอดจนการสร้างโอกาสและขยายช่องทางการตลาดไปสู่ตลาดต่างประเทศ อันจะเป็นการผลักดันอุตสาหกรรมเสื้อผ้าฯ ไทยกลายเป็น Hub ของสินค้าแฟชั่นในตลาดสากลได้

สำหรับกิจกรรมดังกล่าว เป็นการมุ่งยกระดับขีดความสามารถของนักออกแบบและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยสาขาเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า ทั่วประเทศ โดยคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ จำนวน 100 คน เข้ารับการถ่ายทอดองค์ความรู้และสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยนำกลไกของซอฟต์พาวเวอร์มาช่วยสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ทั้งด้านการออกแบบ พัฒนาธุรกิจ และการตลาด รวมถึงการใช้ทุนวัฒนธรรมในการค้นหาอัตลักษณ์ความเป็นไทยที่แตกต่างและมีเกลักษณ์โดดเด่น เพื่อสร้างแบรนด์และเรื่องราว (Storytelling) ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง นอกจากนี้ ยังมีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาโมเดลธุรกิจอย่างเข้มข้น พร้อมรับคำปรึกษาแนะนำด้านธุรกิจเชิงลึก บ่มเพาะและเชื่อมโยงเครือข่ายกับกูรูแฟชั่น การศึกษาดูงานกิจการที่ประสบความสำเร็จเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินธุรกิจของตน ตลอดจนสร้างและขยายโอกาสการเชื่อมโยงเครือข่ายในธุรกิจกิจแฟชั่นไทยไปสู่ตลาดต่างประเทศมากขึ้น อันจะเป็นการขับเคลื่อนให้เกิดพลังซอฟต์พาวเวอร์ และสร้างความแข็งแกร่งให้แก่อุตสาหกรรมแฟชั่นไทยไปสู่การส่งออกที่เติบโตขึ้นในระยะยาวโดยตั้งเป้าให้เกิดการเพิ่มรายได้และยอดขายเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 และผลักดันไทยสู่การเป็นศูนย์กลางแฟชั่นของภูมิภาค ซึ่งสอดรับกับนโยบายเรือธงสำคัญ (Flagship Policy) ของรัฐบาลที่มุ่งผลักดันและพัฒนาซอฟพาวเวอร์ของไทยให้เป็นที่รู้จักในระดับนานาประเทศและเป็นแม่เหล็กดึงดูดคนทั่วโลกให้เข้ามาท่องเที่ยวและใช้ชีวิตในเมืองไทย ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างยั่งยืน นางสาวนันท์ กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่นที่มีความสนใจโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 0 2430 6883 และติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ เว็บไซต์ www.diprom.go.th และ www.facebook.com/dipromindustry


ข่าวสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ+พัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอวันนี้

Kind+ Jugend ASEAN 2025 ร่วมกับ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ชูโครงการ SME ปัง! ตังได้คืน ขยายธุรกิจแม่และเด็กสู่ตลาดโลก

Kind+ Jugend ASEAN 2025 มหกรรมแสดงสินค้านานาชาติและเทคโนโลยีสำหรับผลิตภัณฑ์แม่และเด็กคุณภาพแห่งภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ 3 ร่วมกับ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME ในประเทศไทย ได้เข้าร่วมแสดงสินค้าในงานใหญ่ระดับนานาชาติ ภายใต้โครงการ SME ปัง! ตังได้คืน ปี 2 ผ่านระบบ BDS (Business Development Services) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่ต้องการขยายธุรกิจและพัฒนาศักยภาพในตลาดอาเซียนและทั่วโลก พร้อมเสริมสร้างความ

อุตสาหกรรมเสื้อผ้าไทย ต้องเผชิญกับความท้า... เมื่อ Digital Transformation คือจุดเปลี่ยนของธุรกิจอุตสาหกรรมเสื้อผ้าไทย — อุตสาหกรรมเสื้อผ้าไทย ต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่จากสถานการณ์การระบาดของโคว...

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) โดย สำนักงานเศรษฐ... อก. เร่งดันผู้ประกอบการแปรรูปกัญชงสู่พาณิชย์รองรับ BCG Model — กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) โดย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ผลักดันผู้ประกอบการแปรรูปกัญช...

นางทิพวรรณ พานิชการ ผู้อำนวยการศูนย์วิเคร... สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดห้องทดสอบสิ่งทอต้อนรับคณะผู้บริหารธุรกิจเคมี — นางทิพวรรณ พานิชการ ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ สถาบันพัฒนาอุตสาหก...

ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพ... โครงการพัฒนาต้นแบบวัสดุเชิงเทคนิคเพื่อรองรับอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (New S-Curve) — ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นปร...