ปภ. อำนาจเจริญ เตือนระวังอัคคีภัยในช่วงฤดูหนาว

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--8 ม.ค.--ปภ.

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอำนาจเจริญ จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยหนาว เพื่อเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยหนาว พร้อมเตือนเกษตรกรให้ระมัดระวังการเกิดไฟไหม้ยุ้งฉางเก็บข้าว เนื่องจากสภาพอากาศแห้งและลมพัดแรง นายนิรันดร์ บุญสิงห์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอำนาจเจริญ เปิดเผยว่า ฤดูหนาวของประเทศไทยในปีนี้ จะมีอากาศหนาวเย็นกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ประชาชนในหลายพื้นที่ต้องประสบกับภาวะอากาศหนาวเย็น และขาดแคลนเครื่องนุ่งห่ม ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยหนาว สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอำนาจเจริญ ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยหนาวจังหวัด ณ สำนักงาน ปภ. จังหวัด และได้ประสานให้อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบต. เทศบาล และ อบจ. จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจฯ ประจำอำเภอ/ตำบล โดยเร่งสำรวจข้อมูลผู้ประสบภัยหนาวที่ขาดแคลนเครื่องนุ่งห่มกันหนาว เพื่อจัดทำบัญชีผู้ประสบภัยหนาว พร้อมเปิดรับบริจาคเครื่องนุ่มห่มกันหนาว เพื่อนำไปแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัย โดยในระดับอำเภอสามารถติดต่อขอบริจาคได้ที่ อำเภอ ในระดับตำบลบริจาคได้ที่ อบต. ส่วนในระดับจังหวัดบริจาคได้ที่ศาลากลางจังหวัด หรือที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เพื่อให้การช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัยหนาวเป็นไปอย่างทั่วถึง นายนิรันดร์ กล่าวต่อไปว่า ในช่วงฤดูหนาวสภาพอากาศแห้งและลมพัดแรง ขอเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอัคคีภัยและไฟป่า โดยเฉพาะเกษตรกร ที่มักก่อไฟผิงเพื่อให้ความอบอุ่น ควรดับไฟให้สนิทก่อนออกจากโรงนา หรือยุ้งฉาง เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย และไม่ควรเผาตอซางข้าวและหญ้าแห้ง เพราะอาจทำให้เพลิงลุกลามอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดเพลิงไหม้บ้านเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างได้ ทั้งนี้ หากประชาชนจังหวัดอำนาจเจริญขาดแคลนเครื่องห่มกันหนาวหรือต้องการบริจาคเครื่องห่มกันหนาว สามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอำนาจเจริญ โทรศัพท์ 0-4551-1954 หรือสายด่วนสาธารณภัย 1784 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานและให้ความช่วยเหลือโดยด่วน ต่อไป

ข่าวกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย+นิรันดร์ บุญสิงห์วันนี้

NT ร่วม ปภ. ทดสอบระบบ Cell Broadcast ในพื้นที่ครั้งแรก แจ้งผลมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ครอบคลุม เสริมความพร้อมระบบเตือนภัยแห่งชาติ

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมกับ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทดสอบระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติผ่านเทคโนโลยี Cell Broadcast เป็นครั้งแรกของประเทศในลักษณะเสมือนจริงในพื้นที่ระดับเล็ก ภายในอาคารและบริเวณโดยรอบ ประกอบด้วย ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ศาลากลางจังหวัดสงขลา และอาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา กรุงเทพมหานคร โดยผลการทดสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถส่งข้อความแจ้งเตือนไปยัง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกั... NT ยืนยันความพร้อม ร่วมทดสอบระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast ในพื้นที่จริง — กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้...

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส... ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ — ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดก...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ป... 'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...

เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและก... สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์ — เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...

นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำ... กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้ — นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพั...

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. เร่งถ่ายเทไหลเวียนน้ำในคลองช่องนนทรี เตรียมขุดลอกดินเลน-ทำความสะอาดท่อลอด — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวชี้แจงกร...

กทม. เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำรองรับสถานการณ์ฝน

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวกรณีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังว่า กทม. ได้จัดทำแผนเตรียมความพร้อมด้านระบบระบายน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ฝนตกหนัก โดยใช้แผน...