ทีมฟุตบอลหุ่นยนต์ไทย “พลาสมา ซี” คว้าแชมป์โลก จากการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์โลก 2008

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--28 ก.ค.--ซีเกท เทคโนโลยี

ทีมฟุตบอลหุ่นยนต์พลาสมา ซี (Plasma-Z) จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด และสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย คว้าแชมป์โลก สามารถโค่นทีมแชมป์เก่าอย่าง ทีมซีเอ็มดรากอน (CMDragons) จากมหาวิทยาลัยคาร์เนอกี้ เมลอน (Carnegie Mellon University) จากประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยคะแนน 4 ต่อ 2 ชนะขาดลอย ในการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ขนาดเล็ก หรือโรโบคัพ ซอกเกอร์ สมอลล์ ไซส์ ลีก (Robocup Soccer Small Size League) ในงานแข่งขันหุ่นยนต์ชิง แชมป์โลก เวิร์ล โรโบคัพ 2008 (World RoboCup 2008) ณ เมืองซูโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 14-21 กรกฎาคม ที่ผ่านมา สมาชิกทีมพลาสมา ซี ซึ่งคว้ารางวัลแชมป์โลก จากการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์โลก 2008 ประกอบด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มานพ วงศ์สายสุวรรณ หัวหน้าทีมนิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาทีม และสมาชิกจำนวนกว่า 10 คน โดยมีนายธีระพล วัธนเวคิน เป็นหัวหน้าทีม นายธีระพลกล่าวว่า “ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศครั้งนี้ สมาชิกในทีมทุกคนมีความตั้งใจแน่วแน่และมุ่งมั่นที่จะครองแชมป์โลกให้ได้ซึ่งจุดแข็งของทีมเราคือ “การทำงานเป็นทีม” ช่วยกันคิดและผลักดันจนประสบความสำเร็จ ผลงานในครั้งนี้พิสูจน์ว่าเยาวชนไทยทำได้จริงๆ แม้แต่คู่แข่งอย่างซีเอ็มดรากอน และศาสตราจารย์ด้านหุ่นยนต์จากมหาวิทยาลัยดังๆหลายแห่งให้การยอมรับ และถือว่าการแข่งขันในครั้งนี้เป็นการแข่งขันที่ดีที่สุดครั้งหนึ่งในการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์โลก 2008 ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องประดิษฐ์หุ่นยนต์ที่ใช้ระบบ การมองเห็น (อัตโนมัติหรือควบคุมแบบไร้สายด้วยคอมพิวเตอร์) ขนาดเล็กทีมละ 5 ตัว เพื่อแข่งขันฟุตบอลซึ่งมีเวลาทั้งหมด 30 นาที แบ่งเป็นครึ่งแรก 15 นาทีและครึ่งหลัง 15 นาที ทีมที่ทำประตูได้มากกว่าจะเป็นผู้ชนะ รศ.ดร. บุญสม เลิศหิรัญวงศ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า มหาวิทยาลัย ได้ให้การสนับสนุน กิจกรรมของชมรมนักประดิษฐ์ ซึ่งประดิษฐ์หุ่นยนต์เข้าร่วมการแข่งขัน ชมรมเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญ ต่อการพัฒนาหุ่นยนต์เตะฟุตบอลอัจฉริยะอย่างต่อเนื่อง นิสิตที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้มีทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมต่อการออกแบบและบังคับหุ่นยนต์อย่างเชี่ยวชาญ นอกจากนี้ ประสบการณ์การแข่งขันในระดับนานาชาติ จะส่งผลให้นิสิตเกิดทักษะในการทำงานเป็นทีม รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และเกิดการพัฒนาศักยภาพของตนต่อไป การแข่งขันนี้ แสดงให้เห็นว่า การปลูกฝังทักษะต่างๆ ให้แก่เยาวชนไทย ก็สามารถเป็นกำลังสำคัญในการสร้างบุคลากรทาง ด้านเทคโนโลยีรุ่นใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอในโลกปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ นายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา ทีมตัวแทนประเทศไทยมีการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ ในทุกๆด้าน อาทิเช่น ความสามารถในการยิงลูกบอลให้เร็วขึ้นและแรงขึ้นกว่าเดิม การเพิ่มความแม่นยำในการรับส่งลูกบอล และการเพิ่มขีดความสามารถพิเศษให้หุ่นยิงลูกบอลโด่งได้แม่นยำอีกด้วย ขณะที่ด้านคอมพิวเตอร์ ได้มีการพัฒนารูปแบบการเล่นให้ทันกับแผนการเล่นของฝ่ายตรงข้ามได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และเป็นที่มาของความสำเร็จอย่างงดงามของทีมพลาสมา ซี ในการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์โลก 2008 และสิ่งที่น่าภูมิใจคือในปีนี้ เราได้ส่งทีมเข้าแข่งขันทั้งหมด 3 ทีม โดยทีมสกูบ้าจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นอีกหนึ่งทีมที่สามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดันที่สองมาได้เช่นกัน นับเป็นภาพความสำเร็จของเยาวชนไทยและเป็นภาพลักษณ์ของประเทศไทยที่ทำให้เกิดการยอมรับของนานาชาติ ว่าไทยมีศักยภาพในระดับชั้นนำของโลก สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ผลัดกันเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขัน ร่วมกันจัดการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทย ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2545 และส่งทีมตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์โลกทุกปีอย่างต่อเนื่อง อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า “การที่ทีมสกูบ้าจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทีมไข่นุ้ย จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์โลกในปีนี้ ถือเป็นการเปิดโลกทัศน์ของทีมฟุตบอลหุ่นยนต์ไทยอย่างแท้จริง ประสบการณ์ต่างๆ จากการแข่งขันมีส่วนทำให้ทั้งสองทีมมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนจากการเข้าแข่งขันในเวทีโลกในระหว่างการแข่งขันได้เพียงไม่กี่วัน จากผลสำเร็จในครั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็จะสนับสนุนให้มีการแข่งขันลักษณะนี้ให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพของเยาวชนไทยให้เพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ด้านต่อไป นางสาวศิริรัตน์ เอี่ยวผดุง ผู้จัดการโรงงาน บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ซีเกทรู้สึกภาคภูมิใจ ที่ทีมหุ่นยนต์จากประเทศไทยสามารถคว้าชัยชนะมาได้ โดยใช้เวลาในการพัฒนาทีมเพียง 6 ปี ซึ่งถือว่าน้อยมากสำหรับเทคโนโลยีการทำงานระบบอัตโนมัติ ซีเกทในฐานะผู้ให้การสนับสนุนมาตั้งแต่เริ่มต้น ตระหนักดีว่าเยาวชนไทยเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว และเชื่อว่าการจัดการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ในประเทศเพื่อคัดเลือกทีมไปแข่งในเวทีโลกเป็นความจำเป็นต่อการพัฒนาเยาวชน และวันนี้ก็เป็นบทพิสูจน์ว่าประสบผลสำเร็จจริง “ซีเกทให้การสนับสนุนการจัดการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทยและการเข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติ อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นจวบจนถึงปัจจุบัน ซึ่งกล่าวได้ว่า การเป็นผู้สนับสนุนการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและในระดับนานาชาติเป็นหนึ่งในโครงการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนไทยที่สร้างสรรค์ที่สุดเท่าที่เคยมีมา” ซีเกทมีนโยบายให้การสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมในทุกชุมชนที่ซีเกทเข้าไปดำเนินธุรกิจ โดยหวังว่าเราจะมีส่วนช่วยพัฒนาเยาวชน ตลอดจนชุมชนและประเทศนั้นๆ ผ่านกิจกรรมอันหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ตลอดจนเทคโนโลยีหุ่นยนต์ โดยเยาวชนจะได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพผ่านกิจกรรมต่างๆหรือแม้จะเป็นเพียงการจุดประกายการเรียนรู้ที่สำคัญจากกิจกรรมเหล่านี้ การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ รู้จักการแบ่งเวลาจากการเรียนมาทำกิจกรรมกับกลุ่มเยาวชนด้วยกัน ก่อให้เกิดความสามัคคี และใช้พลังความคิดสร้างสรรค์เพื่อทำงานเป็นหมู่คณะ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่าความสามารถทางวิชาการ” การแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ขนาดเล็กหรือโรโบคัพ ซอกเกอร์ สมอลล์ ไซส์ ลีก (Robocup Soccer Small Size League) เป็นการแข่งขันประเภทหนึ่งของงานเวิร์ลโรโบคัพ ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี โดยหมุนเวียนจัดในประเทศต่างๆทั่วโลกซึ่งในปีนี้จัดขึ้นที่ เมืองซูโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน มีทีมเข้าแข่งขันจำนวน 17 ทีม จาก 8 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี เม็กซิโก ฟินแลนด์ อิหร่าน และไทย บริษัทซีเกท ซีเกทคือผู้นำทั่วโลกในการออกแบบ การผลิตและการตลาดฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และโซลูชั่นสำหรับบันทึกข้อมูลจากการนำเสนอผลิตภัณฑ์สำหรับระบบปฏิบัติการต่าง ๆ รวมทั้งองค์กร เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เครื่องคอมพิวเตอร์ มือถือ (Mobile Computing) อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (Consumer Electronics) และโซลูชั่นที่มียี่ห้อ (Branded Solutions) รูปแบบการดำเนินธุรกิจของซีเกทช่วยเสริมสร้างความเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีและการผลิตระดับโลก เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีคุณภาพในระดับชั้นนำของอุตสาหกรรมไปยังลูกค้าทั่วโลก ด้วยเป้าหมายในการเป็นผู้นำในการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดเป็นรายแรกในตลาดทั้งหมดที่เรามีส่วนร่วม บริษัทฯ มี ความมุ่งมั่นในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรางวัล การให้การสนับสนุนแก่ลูกค้าและมีความน่าเชื่อถือเพื่อตอบสนองความต้องการบันทึกข้อมูลที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาในโลก ท่านสามารถพบซีเกทได้ทั่วโลกและค้นหาข้อมูลซีเกทเพิ่มเติมที่ www.seagate.com ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ หรือนางสาวขวัญจิต สุดสวัสดิ์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด โทรศัพท์ 0-2715-2919 Email: [email protected] สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย+จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวันนี้

ภาพข่าว: รมว. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมอบรางวัลแก่ทีมชนะเลิศ ในการแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย 2552

ดร. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ซ้าย) มอบรางวัลเงินสด 300,000 บาทและโล่ห์เกียรติยศ แก่สมาชิกทีมรถอัจฉริยะไร้คนขับ “ทีมขึ้นช่าย” จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ ในการแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย 2552 (Thailand Intelligent Vehicle Challenge 2009) สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย ร่วมกับ ภาควิชาเมคาโทรนิคส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (เอไอที) โดยการสนับสนุนจากบริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด

การแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย 2552 Thailand Intelligent Vehicle Challenge 2009

29 กรกฏาคม 2552 สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย ร่วมกับ ภาควิชาเมคาโทรนิคส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (เอไอที) โดยการสนับสนุนจากบริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด จัดการ...

ทีมขึ้นช่าย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) คว้าชัย การแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย 2552

กรุงเทพฯ บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ประกาศ ให้ทีมรถอัจฉริยะไร้คนขับ ”ทีมขึ้นช่าย” จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ...

ซีเกท เทคโนโลยี จัด “การแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย 2552” รอบชิงชนะเลิศ

บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ชั้นนำของโลกร่วมกับสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (เอไอที) จะจัดการแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย 2552 (Thailand...

ซีเกท สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย และศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า เปิดตัวการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ขนาดเล็ก “ไทยแลนด์ลีค”

บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย และศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า ประกาศเปิดตัว การจัดการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ขนาดเล็ก “ไทยแลนด์ลีค” (Thailand Robocup...

ทีมแชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัย เดินทางถึงไทยแล้ว ท่ามกลางการต้อนรับอย่างอบอุ่น

ทีมแชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัย เดินทางถึงไทยแล้ว ท่ามกลางการต้อนรับอย่างอบอุ่น ด้านสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย เตรียมสานต่อโครงการยุทธศาสตร์หุ่นยนต์แห่งชาติ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ แชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัย World...

โรโบคัพฮิวแมนนอยด์

บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จะจัด “การแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ชิงแชมป์ประเทศไทย 2552 (Thailand...

ซีเกท สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทยและเอไอที ประกาศรายชื่อ 8 ทีมสุดยอดรถอัจฉริยะไร้คนขับเพื่อเข้ารอบชิงชนะเลิศ

บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับสมาคมวิชาการ หุ่นยนต์ไทย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ประกาศรายชื่อ 8 ทีมสุดยอดรถอัจฉริยะไร้คนขับ ที่ผ่านการแข่งขันรอบคัดเลือก โดยทั้ง 8...

ซีเกท เทคโนโลยี จัดแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย 2552 รอบคัดเลือก

บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ชั้นนำของโลกร่วมกับสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (เอไอที) ขอเรียนเชิญท่านร่วมสังเกตการณ์และทำข่าว “การแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย...

ภาพข่าว: “ซีเกท สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย และเนคเทค จัดการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ชิงแชมป์ประเทศไทย 2552

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ นายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย (กลาง) รับมอบเงินสนับสนุน จำนวน 1.7 ล้านบาท จาก นายเจฟฟรี่ย์ ดี. ไนการ์ด รองประธานและผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัทซี...