ปอดบวม…ภัยร้ายใกล้ตัวเด็กเล็กที่ถูกลืม

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--1 ก.ย.--คอมมูนิเคชั่น แอนด์ มอร์

ในระยะหลังมีโรคร้ายใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น โรคไข้หวัดนก โรคมือเท้าปาก ทำให้พ่อแม่ส่วนใหญ่เกิดทั้งความตระหนกและตระหนักกับโรคร้ายเหล่านี้ จนลืมไปว่ายังมีโรคร้ายใกล้ตัวเด็กเล็ก ที่คร่าชีวิตเด็กเล็กมาแล้วมากมายอย่าง “โรคปอดบวม” ซึ่งอาจเป็นเพราะเป็นโรคคุ้นหูทีได้ยินชื่อมายาวนานแล้ว พ่อแม่ส่วนใหญ่จึงคิดว่าเป็นโรคธรรมดา และมองข้ามอันตรายของโรคนี้ไป จากการเปิดเผยของ พญ.สมฤดี ชัยวีระวัฒนะ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินหายใจในเด็ก เปิดเผยว่า สาเหตุของการเกิดโรคปอดบวมส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งมีทั้งเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียขึ้นกับช่วงอายุ โดยปอดบวมในเด็กเล็กส่วนใหญ่จะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียมากที่สุด ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อย ได้แก่ เชื้อแบคทีเรียในกลุ่มสเตปโตคอคคัส นิวโมเนียอี หรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักในชื่อของ “นิวโมคอคคัส” ซึ่งโดยปกติจะมีอยู่ในโพรงจมูก ลำคอ หรือบริเวณหอคอยของทุกคน แต่เนื่องจากร่างกายของเรามีภูมิต้านทานคอยป้องกันอยู่ จึงสามารถควบคุมเชื้อไม่ทำให้เกิดโรค แต่เมื่อไรที่ร่างกายอ่อนแอลง เชื้อเหล่านี้ก็จะมีการแบ่งตัวมากขึ้น ร่างกายกำจัดเองไม่ไหว ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย พญ.สมฤดี กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการความรุนแรงของโรคปอดบวม จะมีความสัมพันธ์กับอายุของเด็กรวมถึงชนิดและปริมาณของเชื้อที่ได้รับ และระดับภูมิต้านทานในตัวเด็ก ยิ่งเด็กเล็กมีภูมิต้านทานต่ำ อันตรายก็จะมีมากขึ้น และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี ดังนั้นถ้าลูกน้อยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็อาจเป็นอันตรายรุนแรงต่อตัวเด็ก โอกาสที่จะเสียชีวิตก็มีมากขึ้น พบว่าเชื้อกลุ่มสเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี เป็นสาเหตุของโรคปอดบวมในเด็กได้สูงถึงประมาณ 50% โดยเชื้ออาจทำให้เกิดการติดเชื้อในเลือดหรือที่เยื่อหุ้มสมอง หรือที่เรียกว่าโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดรุนแรงที่เรารู้จักกันในชื่อ โรคติดเชื้อไอพีดี (IPD; Invasive Pneumococcal Disease) ซึ่งมีความรุนแรงมากกว่า “โรคปอดบวมในเด็กเล็กโดยทั่วไป อันตรายก็มีมากอยู่แล้ว เพราะทำให้เกิดอาการได้ในหลายๆ ระบบ ยิ่งหากเป็นปอดบวมจากการติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดลุกลามรุนแรง หรือโรคไอพีดี ก็จะยิ่งอันตรายมาก เพราะปัจจุบันเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคไอพีดีส่วนใหญ่ จะมีอัตราการดื้อต่อยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาสูง การรักษาจึงยากขึ้น ทำให้เกิดการลุกลามได้รวดเร็ว มีอาการรุนแรงและมักมีอันตรายต่อชีวิตของเด็กมากกว่าปอดบวมจากเชื้อชนิดอื่น” พญ.สมฤดี กล่าวเสริม อย่างไรก็ดี เด็กที่ป่วยเป็นโรคปอดบวมนั้น ไม่ว่าจะเกิดจากเชื้อชนิดใด อาการที่แสดงออกส่วนใหญ่จะไม่แตกต่างกัน คือ มักจะมีไข้ขึ้นสูง ถ้าเกิดจากกลุ่มของเชื้อไวรัสก็อาจมีน้ำมูก ตาแดง เสียงแหบ ร่วมด้วย ส่วนกลุ่มแบคทีเรียก็จะมีไข้ขึ้นสูง มีน้ำมูกได้เหมือนกัน และตามด้วยอาการไอ ไอมากขึ้น มีเสมหะ หายใจหอบ อีกอาการที่อาจพบได้ในเด็กเล็ก คือ เด็กจะไอมากจนอาเจียน และมีเสมหะมาก ทำให้ไม่ยอมดื่มนมหรือกินอาหารไม่ได้ นอกจากนี้อาจมีภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ในเด็กรายที่มีอาการไข้ขึ้นสูงมากๆ อาจจะมีภาวะชักร่วมด้วย หรือในรายที่เด็กไอมากๆ หอบ จนดื่มนมและน้ำไม่ได้ ก็จะเกิดภาวะขาดน้ำ ขาดอาหารตามมา หรือเด็กบางคนไอมาก มีเสมหะหรือหอบจนหายใจไม่ไหว ก็อาจมีภาวะเขียว ขาดออกซิเจน โดยเฉพาะเด็กเล็กค่อนข้างดูอาการได้ลำบาก บอกความรู้สึกเองก็ไม่ได้ ดังนั้น เวลาเจ็บป่วยเด็กจะโยเย งอแง ปฏิเสธการกินมากกว่าปกติ พญ.สมฤดี กล่าวให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า พ่อแม่ที่มีลูกน้อยควรดูแลสุขภาพเด็กให้ดี โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงคือ เด็กสุขภาพดีที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี และกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากกว่า คือ เด็กที่พ่อแม่ต้องพาไปอยู่เนอสเซอร์รีหรือสถานเลี้ยงเด็กกลางวัน (Day Care) หรือเด็กที่มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับภูมิต้านทานที่ต่ำ เช่น โรคเลือด ม้ามทำงานได้ไม่ดี หรือเด็กที่เป็นหวัดบ่อยๆ เป็นภูมิแพ้ เป็นต้น “การเสริมภูมิคุ้มกันที่ดีสำหรับลูกน้อย อันดับแรกคือ การส่งเสริมให้ลูกน้อยได้กินนมแม่ได้นานที่สุด ประการต่อมา คือ ไม่ควรให้เด็กเล็กอยู่ในที่แออัด ถ้าเป็นไปได้ก็อย่ารีบส่งลูกไปอยู่เนอสเซอร์รี่ หรือสถานเลี้ยงเด็กกลางวันเร็วเกินไป เพราะโอกาสติดเชื้ออาจมีมากขึ้น รวมถึงการดูแลเรื่องของอาหารให้ปรุงสุก สด สะอาด และให้ครบทั้ง 5 หมู่ สำหรับเด็กที่อยู่กับพี่เลี้ยง ก่อนที่จะรับพี่เลี้ยงเด็ก ก็ควรพิจารณาถึงสุขลักษณะ ความสะอาด และเช็คสุขภาพของพี่เลี้ยงด้วย” “อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพบว่าโอกาสที่เด็กจะเกิดโรคติดเชื้อไอพีดีมีมากขึ้น ตัวเชื้อเองก็มีความรุนแรงและดื้อยามากขึ้น ดังนั้นการที่ลูกน้อยได้รับวัคซีนก็จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและลดการป้องกันการติดเชื้อที่รุนแรงนี้ลงได้ แต่ทั้งนี้ปัจจุบันวัคซีนไอพีดีสำหรับเด็กเล็กในบ้านเรายังเป็นวัคซีนทางเลือกหรือวัคซีนเสริม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจพิจารณาถึงความจำเป็นและค่าใช้จ่าย เนื่องจากราคาค่อนข้างสูง โดยแพทย์อาจจะพิจารณาให้วัคซีนนี้ในเด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือเด็กต่ำกว่า 5 ขวบ” พญ.สมฤดี กล่าว สื่อมวลชนต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ บุษบา (บุษ) / พิธิมา (ก้อย) โทร. 0-2718-3800 ต่อ 133 / 138

ข่าวสมฤดี ชัยวีระวัฒนะ+โรคมือเท้าปากวันนี้

คาโอเดินหน้าดูแลสุขอนามัยในเด็ก ผนึกกรุงเทพมหานคร จัดโครงการ "เสริมสร้างความสะอาด มีอนามัย ห่างไกลโรคติดต่อในโรงเรียน"

บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด นำโดย ผลิตภัณฑ์ไฮเตอร์ และมาจิคลีน ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร สำนักการศึกษา เปิดตัวโครงการ "เสริมสร้างความสะอาดมีอนามัย ห่างไกลโรคติดต่อในโรงเรียน" มุ่งรณรงค์ให้เกิดการสร้างสุขอนามัยที่ดี เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดและการติดเชื้อโรคมือเท้าปากในกลุ่มเด็กเล็ก และโรคติดเชื้ออื่นๆ ที่เกิดจากการสัมผัสพื้นผิวที่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคต่างๆ โดยการจัดกิจกรรมฯ เปิดตัวครั้งแรกที่โรงเรียนวิชูทิศ เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร โดยมีคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุง

ชวนคุณแม่และน้อง ๆ สุขภาพดีรับปีใหม่ในราค... รพ.วิมุต จัดแคมเปญตรวจสุขภาพและวัคซีนต้อนรับวันเด็ก "STAY SAFE AND HEALTHY" — ชวนคุณแม่และน้อง ๆ สุขภาพดีรับปีใหม่ในราคาสุดคุ้มกับ 7 แพ็กเกจหลัก พร้อมรับ ...

โรคมือเท้าปาก เกิดจากการติดเชื้อที่ชื่อว่... ปกป้องลูกน้อยด้วย..วัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก — โรคมือเท้าปาก เกิดจากการติดเชื้อที่ชื่อว่า Enterovirus 71 และ Coxsackie virus A16 พบได้บ่อยในทารกและ...

"มือ เท้า ปาก" โรคที่ติดต่อง่ายในเด็กเล็ก... "มือ เท้า ปาก" โรคที่ติดต่อง่ายในเด็กเล็ก... มีวัคซีนป้องกันแล้ว — "มือ เท้า ปาก" โรคที่ติดต่อง่ายในเด็กเล็ก... มีวัคซีนป้องกันแล้ว มือเท้าปาก เป็นโรคที่พ...

โรคมือเท้าปาก เกิดจากการติดเชื้อที่ชื่อว่... ปกป้องลูกน้อยด้วย..วัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก — โรคมือเท้าปาก เกิดจากการติดเชื้อที่ชื่อว่า Enterovirus 71 และ Coxsackie virus A16 พบได้บ่อยในทารกและ...

โรคมือเท้าปาก เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้... ติดตามสถานการณ์โรคมือเท้าปากในช่วงฤดูฝน — โรคมือเท้าปาก เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อได้ง่าย พบบ่อยในเด็กเล็ก โดยเฉพาะในเด...

ทีวีไกด์: รายการ "108 Living" สัปดาห์นี้สาววุ้นพาไปรู้จักกับ “งานปั้น” กิจกรรมดีๆ ที่ตอนนี้ใครๆ ก็หลงเสน่ห์

ช่วงวาไรตี้สัปดาห์นี้สาววุ้นชวนคุณผู้ชมทางบ้านไปพบกับความน่าสนใจของ “งานปั้น” งานศิลปะอีกหนึ่งแขนงที่จะมาช่วยเปิดโอกาสให้คุณได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ที่แอบซ่อนอยู่ในตัวคุณให้ใครๆ ได้รู้ที่...

ภาพข่าว: เวชธานี จัดสัมมนา "ฮัดเช๊ย...ลูกแค่จามหรือลุกลามเป็นโรคอื่น"

ศูนย์กุมารเวชกรรม (Kids Center) โรงพยาบาลเวชธานี ลาดพร้าว 111 จัดเสวนา หัวข้อ “ฮัดเช๊ย…ลูกแค่จามหรือลุกลามเป็นโรคอื่น” โดยมี พญ.สมฤดี ชัยวีระวัฒนะ กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคทางเดินหายใจและภูมิแพ้, พญ.มณินทร วรรณรัตน์ กุมารแพทย์เฉพาะทาง...

กุมารแพทย์เตือนระวังโรคปอดอักเสบ…ภัยร้ายใกล้ตัวเด็กเล็ก

จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า โรคปอดอักเสบเป็นโรคที่พบได้ประมาณร้อยละ 8-10 ของผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจ และนับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของโรคติดเชื้อในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีของเด็กไทย พญ...