สพภ.กระตุ้น10 ชุมชนนำร่อง นำทรัพยากรชีวภาพผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างเศรษฐกิจยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--15 ส.ค.--สพภ.

นายอภิวัฒน์ เศรษฐรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ สพภ. เปิดเผยว่า สพภ.เตรียม จัดงาน “มหกรรมทรัพยากรชีวภาพ...เส้นทางสู่เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนเข้มแข็ง” ขึ้น ในระหว่างวันที่ 21-23 สิงหาคม 2551 ณ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดยรูปแบบงานเป็นการประชุมสัมมนาทางวิชาการ เชิงปฏิบัติการ และการแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพและภาคธุรกิจ ซึ่งได้เชิญตัวแทนชุมชน ผู้ประกอบการจากทุกภาค ทั่วประเทศเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้เกิดการสร้างเครือข่ายความรู้และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพไปใช้ในการสร้างโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นและเศรษฐกิจในทุกระดับได้ สำหรับเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการมี 5 เรื่องสำคัญคือ (1) เรื่องเงื่อนไข/ข้อกำหนด/กฎระเบียบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านอาหารและยา (2) เรื่องสมุนไพรไทยโอกาสในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ (3) เรื่องการสร้างระบบฐานข้อมูลทรัยพยากรชีวภาพของชุมชนโดยชุมชน (4) เรื่องการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ และ (5) เรื่องโอกาสทางธุรกิจของการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ โดยหัวข้อเหล่านี้จะสร้างความเข้าใจ กระตุ้นองค์ความรู้ในชุมชนให้เกิดการต่อยอดผลิตภัณฑ์และเกิดรูปธรรมทางธุรกิจ มากขึ้น ที่ผ่านมา สพภ. ได้ส่งเสริมชุมชนให้เกิดการบริหารจัดการและนำทรัพยากรทางชีวภาพมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ให้เกิดกระบวนการสร้างงาน สร้างรายได้ และโอกาสให้แก่ประชาชน และเกิดความมั่นคงของชุมชนท้องถิ่น และการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ขณะนี้ สพภ.นำร่องส่งเสริมไปแล้ว 10 ชุมชน 10 จังหวัดจากทุกภาคทั่วประเทศ และ สพภ. ตั้งเป้าสร้างเครือข่ายการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพิ่มขึ้นภายในปี 2552 อีกประมาณ 25 ชุมชน ทั้งนี้จาก 10 ชุมชนนำร่องดังกล่าว ได้คัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช้ฐานทรัพยากรชีวิภาพมาผลิตเป็นสินค้า เช่น การย้อมครามของชนเผ่ากะเลิง จ.สกลนคร พันธุ์ข้าวพื้นเมืองบ้านนาเวียง จ.อำนาจเจริญ สมุนไพรจากบ้านสามหมอ จ.อุดรธานี ต้นขลู่ พืชมหัศจรรย์ จาก อ.ขลุง จ.จันทบุรี และจากฐานข้อมูลชีวภาพดังกล่าว พบว่ามีทรัพยากรชีวภาพนำร่อง 3 รายการ ที่มีโอกาสทางธุรกิจเชิงการค้า มีอนาคตสดใส ได้แก่ ธุรกิจสปาสมุนไพร การเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเชิงพาณิชย์ และธุรกิจเลี้ยงปลาสวยงามกับธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ซึ่งแต่ละธุรกิจมีมูลค่าทางการตลาดสูงมาก โดยเฉพาะธุรกิจสปาและสุขภาพมีมูลค่ารวมเฉลี่ยปีละ 10000 ล้านบาท ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจสปาแห่งเอเชีย (Capital Spa of Asia) และจากการสำรวจความนิยมของ Spa Asia Magazine ประเทศสิงคโปร์ พบว่า สปาไทยเป็นที่นิยมอันดับหนึ่งในเอเชีย โดยภาพรวมธุรกิจสปาไทยมีอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 20-30 โดยแบ่งเป็นลูกค้าต่างประเทศประมาณร้อยละ 80 % และลูกค้าไทยประมาณร้อยละ 20 % ก่อให้เกิดการจ้างงานโดยตรงกว่า 60,000 ราย และสามารถสร้างรายได้ทางอ้อมจากนักท่องเทียวต่างชาติได้ไม่ต่ำกว่า 20,000ล้านบาทต่อปี ส่วนธุรกิจเลี้ยงปลาสวยงาม ไทยมีโอกาสดีเช่นเดียวกัน เพราะปัจจุบันไทยส่งออกปลาสวยงามไปสู่ประเทศต่าง ๆ มากกว่า 50 ประเทศทั่วโลกทั้งปริมาณ และมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปลาสวยงามสามารถทำรายได้เข้าประเทศปีละไม่ต่ำ กว่า 600 ล้านบาทพิจาณาได้ในปี 2548 มีมูลค่า 561 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นในปี 2549 มีมูลค่า 615 ล้าน บาท ประเทศไทยมีปริมาณการส่งออกเป็นอันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์และฮ่องกง ตลาดหลักในการ ส่งออกปลาสวยงามคือ สหรัฐฯ โดยส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ร้อยละ 90 จำหน่ายในประเทศเพียงร้อยละ 10 นอกจากนี้ธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเชิงพาณิชย์ มีการทำกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ การเพาะเลี้ยงจระเข้ นกสวยงาม

ข่าวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์+มหกรรมทรัพยากรชีวภาพวันนี้

อ.อ.ป. ร่วมประชุมภาคีป่าไม้แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 20 (UNFF20)

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) นำโดย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) พร้อมด้วย นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ และผู้แทนจากกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการต่างประเทศ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึง นายประสิทธิ์ เกิดโต รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ผนึกกำลังมหาวิ... ราชภัฏรำไพฯ จับมือ ม.เกษตรฯ ยกระดับศักยภาพรอบด้าน สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและพัฒนาท้องถิ่น — มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ผนึกกำลังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส...

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ร่วมกับ คณะศึกษาศาสตร์ ... สัมมนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษ มาตรฐาน CEFR — ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ร่วมกับ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ British Council Thailand ขอเรียน...

รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลั... มทร.กรุงเทพ จับมือ 4 มหาวิทยาลัยดัง และ วิทยุการบิน ยกระดับกำลังคนกลุ่มอุตสาหกรรมการบิน — รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร....

หลังจากร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งระหว่าง สหก... เนื้อโพนยางคำ GI สกลนคร บุกตลาดชาบู! เสิร์ฟคุณภาพระดับพรีเมียมในร้าน Shabushi ทั่วประเทศ — หลังจากร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งระหว่าง สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ ก...