ผู้ว่าฯ อภิรักษ์ แจงนโยบายรับเปิดเทอม 51 สร้างความมั่นใจโรงเรียนคุณภาพกทม.

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--2 พ.ค.--กทม.

เมื่อวานนี้ (1 พ.ค. 51) เวลา 09.30 น. ณ โรงเรียนวัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน / นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมเครือข่ายผู้ปกครองผ่านระบบออนไลน์ทางเว็บไซต์ http://live.bmasmartschool.com/livebma/ ไปยังโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 435 โรงเรียน เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียนกว่า 350,000 คน ได้รับทราบนโยบายการศึกษาปี 2551 จากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยตรง ถึงการจัดยุทธศาสตร์การศึกษา 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1. มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสมดุล และถึงพร้อมทั้งด้านความรู้และคุณธรรม 2. ให้มีสิทธิและโอกาสเสมอกันอย่างไม่มีเงื่อนไขในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี อย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และ 3. ยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียนให้มีคุณภาพมาตรฐาน เน้นกระบวนการที่สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งเป็นการพบปะกับเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนในพื้นที่เขตปทุมวันที่มาร่วมรับฟังนโยบายการศึกษาที่โรงเรียนวัดปทุมวนารามอีกกว่า 500 คนด้วย ต่อเนื่องนโยบายเรียนฟรีไม่มีเงื่อนไข พร้อมเพิ่มค่าอาหารกลางวันให้เด็กอิ่มและสุขภาพดี นายอภิรักษ์ กล่าวว่า สำหรับปีการศึกษา 2551 กรุงเทพมหานครยังคงดำเนินการตามนโยบายเรียนฟรี เรียนดี อย่างมีคุณภาพ ต่อเนื่องจากปีการศึกษา 2550 พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการศึกษาให้นักเรียนทุกคน ทุกโรงเรียน และ ทุกระดับชั้นได้เรียนฟรีอย่างไม่มีเงื่อนไข ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการ อุปกรณ์การเรียน และกิจกรรมส่งเสริมการเรียน ครอบคลุม 20 รายการ ได้แก่ อาหารเสริม (นม) อาหารกลางวัน เครื่องแบบนักเรียน เครื่องแบบลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด พร้อมเครื่องหมายวิชาชีพ รวมทั้งชุดนอน/ชุดอนุบาล/ชุดพละ ประกันอุบัติเหตุ อุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัว เวชภัณฑ์ พาหนะบริการสุขภาพ อุปกรณ์เครื่องเขียน แบบเรียน แบบฝึกหัด วัสดุการศึกษา วัสดุการเรียนการสอน อุปกรณ์กีฬา คอมพิวเตอร์ หนังสือห้องสมุด หนังสือเสริมการเรียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และค่าจ้างครูสอนภาษาต่างประเทศ ทั้งนี้ปีการศึกษา 2551 กรุงเทพมหานครได้จัดสรรงบประมาณอาหารกลางวันเพิ่มเติมจากเดิม 10 บาทเป็น 15 บาทตัวคนต่อวัน รวมเป็นเงิน 342,000,000 บาท เพื่อให้จัดอาหารกลางวันที่มีคุณค่าและปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน ขยาย ม.ต้น เด็กมีที่เรียนเพิ่ม 3,500 คน พร้อมส่งเรียน ม.ปลายโรงเรียนคุณภาพ กรุงเทพมหานคร ได้ทำข้อตกลงความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ ในจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาเพิ่มเติม อีกทั้งร่วมกันพัฒนาและยกระดับคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษา โดยกรุงเทพมหานครจะเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อแก้ปัญหานักเรียนไม่มีที่เรียนต่อ ด้านกระทรวงศึกษาธิการจะขยายการรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย ซึ่งจากความร่วมมือดังกล่าวในปีการศึกษา 2551 กรุงเทพมหานครได้เปิดเพิ่มห้องเรียนอีก 42 ห้องเรียนในโรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีอยู่ 73 โรงเรียน และเพิ่มโรงเรียนให้เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นอีก 20 โรงเรียน จากเดิมที่มีอยู่ 73 โรงเรียนเป็น 93 โรงเรียน ทำให้ในปีนี้กรุงเทพมหานครสามารถรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้เพิ่มถึง 3,500 คน และเด็กในกรุงเทพมหานครจากทุกเขตพื้นที่มีที่เรียน นอกจากนี้ ในส่วนของนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จะได้รับสิทธิในการจัดสรรที่นั่งเป็นกรณีพิเศษให้เข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามโครงการโรงเรียนคู่พัฒนาคุณภาพของกระทรวงศึกษาธิการ อาทิ โรงเรียนศึกษานารี จัดสรรให้นักเรียนโรงเรียนเศวตฉัตร และโรงเรียนวัดสุทธาราม โรงเรียนละ 5 ที่นั่ง โรงเรียนหอวัง จัดสรรให้นักเรียนโรงเรียเสนานิคม โรงเรียนประชานิเวศน์ 10 ที่นั่ง ซึ่งในปีการศึกษาหน้าจะมีการจัดสรรที่นั่งเป็นกรณีพิเศษให้นักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครเพิ่มมากขึ้นด้วย จัดทุนให้ครูเพิ่มพูนความรู้ พร้อมนำเทคนิคใหม่พัฒนานักเรียน ผู้ว่าฯ อภิรักษ์ กล่าวด้วยว่า ไม่เพียงแต่สนับสนุนการศึกษาแก่นักเรียนเท่านั้น ยังพัฒนาคุณภาพผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนด้านการบริหารจัดการ การจัดกระบวนการเรียนรู้ การนิเทศ การติดตามและประมาณผล โดยจัดสรรงบประมาณ 37.5 ล้านบาทเพื่อพัฒนาบุคลากรครูทั้งหมด 15,000 คน เพื่อให้นำความรู้และเทคนิควิธีการสอนใหม่ๆ มาพัฒนาการเรียนการสอน ที่สำคัญยังได้จัดทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประมาณ 200 ทุน ซึ่งปี 2550 มีข้าราชการและข้าราชการครูได้รับทุนการศึกษารวม 40 คน ได้แก่ ปริญญาเอก 2 คน ปริญญาโทในประเทศ 36 คน และปริญญาโทต่างประเทศ 2 คน นอกจากนี้กรุงเทพมหานครยังได้แสวงหาความร่วมมือกับต่างประเทศในการพัฒนาการศึกษาด้านต่างๆ อาทิ โครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Harvard สหรัฐอเมริกา ซึ่งให้ทุนการศึกษาแก่บุคลากร จำนวน 5 คน ไปฝึกอบรม ณ สหรัฐอเมริกา พัฒนาโรงเรียนต้นแบบ และนำปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์ใช้ทุกแห่ง กรุงเทพมหานครได้ดำเนินโครงการโรงเรียนต้นแบบคุณภาพมาตรฐาน โดยคัดเลือกโรงเรียน 10 แห่ง ได้แก่ โรงเรียน วัดดอนเมือง โรงเรียนวัดเสมียนนารี โรงเรียนเบญจมพิตร โรงเรียนสุโขทัย โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ โรงเรียนพิชัยพัฒนา โรงเรียนบ้านบางกะปิ โรงเรียนสวัสดีวิทยา โรงเรียนวัดธาตุทอง และโรงเรียนนาหลวง เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาทั้งด้านกายภาพภายนอกและคุณภาพการจัดการเรียนรู้ให้ทัดเทียมโรงเรียนสาธิตและโรงเรียนเอกชนที่มีชื่อเสียง อาทิ ห้องสมุดและเทคโนโลยีสื่อการเรียนรู้ทันสมัย ห้องทดลองวิทยาศาสตร์สมบูรณ์แบบ การเสริมสร้างสมรรถนะร่างกาย และการสนับสนุนการศึกษาตามความถนัดของผู้เรียนโดยเน้นการปฏิบัติจริง ในขณะเดียวกัน ยังขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาเป็นรูปธรรม โดยการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนานักเรียน 3 ช่วงชั้น ตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกแห่งในสังกัดเพื่อประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ให้รู้จักพอเพียง ประหยัด และเอื้อเฟื้อแบ่งปัน ไม่เพียงเท่านั้นกรุงเทพมหานครยังได้จัดพิมพ์และเผยแพร่ไปยังสถานศึกษาทั้งในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และโรงเรียนเอกชนเพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนด้วย โรงเรียนกทม. ผ่านประเมินจาก สมศ.มากกว่า 90 % กรุงเทพมหานคร นำโรงเรียนในสังกัดทุกโรงเรียน เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกรอบที่ 2 จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ตั้งแต่ปี 2550 ยกเว้นโรงเรียนวัดใหม่ช่องลมที่เพิ่งรับโอนมาจากกระทรวงศึกษาธิการ จะเข้ารับการประเมินในปีนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อคุณภาพและมาตรฐานในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งผลการประเมินระดับปฐมวัย ปรากฎว่า ได้รับการรับรอง 407 โรงเรียนจากทั้งหมด 429 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 94.87 ส่วนระดับประถมศึกษา – มัธยมศึกษา ปรากฎว่า ได้รับการรับรอง 399 โรงเรียนจากทั้งหมด 434 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 91.94 สำหรับโรงเรียนที่ยังไม่ได้รับการรับรอง กรุงเทพมหานครจะเร่งดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้เพื่อให้ผ่านการรับรองคุณภาพการศึกษาภายนอกภายในปี 2551 ผู้ว่าฯ อภิรักษ์ กล่าวด้วยว่า แม้ว่าแต่ละโรงเรียนจะมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน แต่ด้านคุณภาพการเรียนการสอนนั้นได้พัฒนาไปพร้อมกัน อีกทั้งยังได้รับการรับรองมาตรฐานการเรียนการสอนจากหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามกรุงเทพมหานคร จะเร่งปรับปรุงคุณภาพการจัดการศึกษาผ่านการประเมินครบ 100% และจะพัฒนาทุกโรงเรียนในสังกัดให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีความปลอดภัยเหมาะแก่การเป็นสถานศึกษาคุณภาพต่อไป

ข่าวผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร+โรงเรียนวัดปทุมวนารามวันนี้

กทม. แจงประกวดราคาคัดเลือกซ่อมรถดับเพลิง 18 คัน ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ โปร่งใส และรอบคอบ

นายสุริยชัย รวิวรรณ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) กทม. กล่าวกรณีมีข้อสังเกตการประกวดราคาด้วยวิธีประกวดราคาแบบคัดเลือก จ้างเหมาซ่อมรถดับเพลิงพร้อมบันไดสูงไม่น้อยกว่า 13 เมตร ยี่ห้อสไตเออร์ จำนวน 18 คัน พบความผิดปกติที่ส่อไปในทางทุจริตว่า กรณีดังกล่าวสืบเนื่องจากบริษัท เทพยนต์ แอโรโมทีฟ อินดัสตรีส์ จำกัด ได้ทำหนังสือร้องเรียนถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน

นางสาวสุชิรา ศิลานนท์ ผู้อำนวยการเขตวัฒนา... เขตวัฒนาเร่งรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำลำรางสาธารณะใน ซ.ปรีดีพนมยงค์ 20 ตามคำพิพากษาศาลปกครอง — นางสาวสุชิรา ศิลานนท์ ผู้อำนวยการเขตวัฒนา กทม. กล่าวกรณีศาล...

นายอนุชิต พิพิธกุล ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ... กทม. คุมเข้มร้านอาหาร-หาบเร่แผงลอยไม่ปล่อยทิ้งไขมัน-น้ำเสียลงคลองและท่อระบายน้ำ — นายอนุชิต พิพิธกุล ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ (สนท.) กทม. กล่าวถึงมาตรการเพิ...

นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ... กลุ่มบริษัทบางจาก ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด ที่ศูนย์กีฬาเบญจกิติ — นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยืนแล...

ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ตอกย้ำเจต... ผู้บริหารเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมแสดงความยินดีเป็นส่วนหนึ่งของภาพประวัติศาสตร์ สมรสเท่าเทียม — ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ตอกย้ำเจตนารมย์ในการสนับสน...