ฟิทช์ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ (ไทย) และเพิ่มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินเป็น ‘C’

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--12 พ.ย.--ฟิทช์ เรทติ้งส์

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ (ไทย) (UOBT; ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นธนาคารเอเชีย) ดังต่อไปนี้: อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-term Foreign Currency Issuer Default Rating (IDR)) ที่ ‘A-’ (A ลบ) แนวโน้มมีเสถียรภาพ อันดับเครดิตสากลสกุลเงินตราต่างประเทศระยะสั้นที่ ‘F2’ อันดับเครดิตสนับสนุนที่ ‘1’ อันดับเครดิตภายในประเทศ (National Ratings) ระยะยาวที่ ‘AA+(tha)’ แนวโน้มมีเสถียรภาพ และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ ‘F1+(tha)’ ในขณะเดียวกัน ฟิทช์ได้ปรับเพิ่มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ UOBT เป็น ‘C’ จาก ‘C/D’ เนื่องจากธนาคารมีคุณภาพสินทรัพย์ เงินกองทุน และผลประกอบการที่แข็งแกร่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามจากการที่ UOBT เป็นธนาคารขนาดเล็กและมีเครือข่ายสาขาไม่มากนัก เมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์ไทยที่ใหญ่ที่สุด 3 แห่ง ถือเป็นปัจจัยที่จำกัดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ UOBT อันดับเครดิตของ UOBT มีพื้นฐานมาจากการที่ United Overseas Bank ของสิงคโปร์ (UOB ซึ่งได้รับการจัดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศที่ ‘AA-’(AA ลบ)) ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่โดยปัจจุบันมีสัดส่วนการถือหุ้นที่ 99.6% เมื่อพิจารณาถึงชื่อเสียงและความแข็งแกร่งของ UOB รวมทั้งชื่อของ UOBT ที่ใกล้เคียงกับบริษัทแม่ของธนาคาร ฟิทช์เชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงมากที่ UOBT จะได้รับการสนับสนุนจาก UOB ในกรณีที่มีความจำเป็น ผลประกอบการของ UOBT สำหรับงวดครึ่งปีแรกปี 2551 ได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างมาก โดยธนาคารมีกำไรสุทธิ 0.9 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับผลขาดทุนจำนวน 0.9 พันล้านบาทในช่วงครึ่งปีแรกปี 2550 เนื่องจากการกันสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ลดลง และการขยายสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นของธนาคาร นอกจากนั้นส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (net interest margin) ของธนาคารยังได้ปรับตัวสูงขึ้นเป็น 3.4% ในช่วงครึ่งปีแรกปี 2551 จาก 3.1% ในช่วงครึ่งปีแรกปี 2550 เนื่องจากการลดลงของต้นทุนทางการเงิน แต่ด้วยรายได้ที่สูงขึ้นในขณะที่ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยทรงตัวอยู่ในระดับเดิม ส่งผลให้สัดส่วนค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยต่อรายได้รวมลดลงเหลือ 62% ในครึ่งปีแรกปี 2551 จาก 73% ในครึ่งปีแรกปี 2550 สำหรับสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของ UOBT นั้นได้ลดลงอย่างมาก โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2551 มียอดอยู่ที่ 7.6 พันล้านบาท หรือ ประมาณ 5% ของสินเชื่อรวม ซึ่งลดลงจาก 12% ณ สิ้นปี 2549 เนื่องจากธนาคารมีการขายสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จำนวน 1.1 หมื่นล้านบาทในปี 2550 อย่างไรก็ตามปัญหาด้านการเมืองในประเทศและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่รุนแรง จะส่งผลให้เศรษฐกิจมีความผันผวนเพิ่มมากขึ้นและอาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารในอนาคต ประมาณ 80% ของฐานการระดมเงินของธนาคารอยู่ในรูปเงินฝาก โดยมีสัดส่วนเป็นเงินฝากระยะสั้นสูงถึง 83% (มีอายุสั้นกว่า 6 เดือน) แต่จากการที่ UOBT มีสัดส่วนสินเชื่อระยะสั้น (call loans) อยู่สูงถึง 20% ของสินเชื่อทั้งหมด และธนาคารยังมีการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสูงถึง 10.5% ของสินทรัพย์รวม ทำให้สามารถช่วยลดความเสี่ยงในด้านสภาพคล่องของธนาคารได้ ฐานะเงินกองทุนขั้นที่ 1 และเงินกองทุนรวมของ UOBT จัดว่าอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2551 ธนาคารมีเงินกองทุนขั้นที่ 1 อยู่ที่ 17.6% และเงินกองทุนรวมที่ 18.9% ของสินทรัพย์เสี่ยง (RWA) โดยธนาคารได้มีการเพิ่มทุนจำนวน 2.3 พันล้านบาทในเดือนมีนาคม 2551 ซึ่งการเพิ่มทุนดังกล่าว คาดว่าจะช่วยให้ธนาคารสามารถรองรับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่รุนแรงในปี 2552 ได้ UOBT ก่อตั้งในปี 2482 โดย UOB ของสิงคโปร์ได้เข้าซื้อหุ้นของธนาคารในปี 2547 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดที่สำคัญของ UOB นอกเหนือจากสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศที่ธนาคารแม่ตั้งอยู่ โดยตลาดที่สำคัญอื่นๆ ของ UOB ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และจีน UOBT เป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 10 ของประเทศไทยโดยมีสาขามากกว่า 150 สาขา และมีส่วนแบ่งการตลาดทางด้านสินเชื่อและเงินฝากที่ 3% ในขณะที่ UOB มีส่วนแบ่งการตลาดทางด้านเงินฝากใหญ่เป็นอันดับสองของธนาคารในประเทศสิงค์โปร์ นอกจากนั้น UOB ยังมีสินทรัพย์ 132.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และในช่วงครึ่งปีแรกปี 2551 UOB มีกำไรสุทธิ 0.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หมายเหตุ : การจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ (National Ratings) ใช้วัดความน่าเชื่อถือของบริษัทในประเทศที่อันดับเครดิตของประเทศนั้นอยู่ในระดับต่ำกว่าอันดับเครดิตระดับเพื่อการลงทุน หรือมีอันดับเครดิตอยู่ในระดับต่ำแม้จะอยู่ในระดับเพื่อการลงทุน อันดับเครดิตของบริษัทที่ดีที่สุดของประเทศจะอยู่ที่ระดับ “AAA” และการจัดอันดับเครดิตอื่นในประเทศ จะเป็นการเปรียบเทียบความเสี่ยงกับบริษัทที่ดีที่สุดนี้เท่านั้น อันดับเครดิตภายในประเทศนั้นถูกออกแบบมาเพื่อนักลงทุนภายในประเทศในแต่ละประเทศนั้นๆ และมีสัญลักษณ์ที่กำหนดไว้ต่อท้ายจากอันดับเครดิตสำหรับแต่ละประเทศ เช่น “AAA(tha)” ในกรณีของประเทศไทย อันดับเครดิตภายในประเทศนั้นไม่สามารถนำไปใช้เปรียบเทียบระหว่างประเทศได้ ติดต่อ ดารุณี เพียรมานะกิจ, พชร ศรายุทธ, Vincent Milton, กรุงเทพฯ +662 655 4755

ข่าวฟิทช์ เรทติ้งส์+ธนาคารยูไนเต็ดวันนี้

BAFS เตรียมเสนอขายหุ้นกู้ชุดใหม่ ชูดอกเบี้ย 4.75 - 5.10% ต่อปี คาดเปิดจองซื้อแก่ "สถาบัน-รายใหญ่" วันที่ 9 - 14 พ.ค. นี้ รองรับการขยายตัวธุรกิจในอนาคต

BAFS เตรียมออกหุ้นกู้ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ อายุ 3 ปี 9 เดือน อัตราดอกเบี้ยคงที่ [ 4.75 5.10 ] % ต่อปี กำหนดชำระดอกเบี้ยทุก 6 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ ด้วยอันดับความน่าเชื่อถือ "BBB (tha)" จาก ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) เตรียมเสนอขายผู้ลงทุนสถาบัน นักลงทุนรายใหญ่ คาดจองซื้อระหว่างวันที่ 9 และ 13 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย), บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส และ บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี ม.ล. ณัฐสิทธิ์ ดิศกุล

ฟิทช์คงอันดับเครดิตของ บล. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่ 'AA(tha)' แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ของบริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LHS ที่ 'AA(tha)' และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น ...

ฟิทช์ประกาศคงอันดับเครดิตของ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส และ บจก.แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค ในเครดิตพินิจแนวโน้มเป็นลบ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงเครดิตพินิจแนวโน้มเป็นลบ (Rating Watch Negative; RWN) ของอันดับเครดิต บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ท...