กทม. จับมือ ADPC เพิ่มขีดความสามารถป้องกันภัยพิบัติในกรุงเทพฯ

22 May 2009

กรุงเทพฯ--22 พ.ค.--กทม.

พร้อมเสนอวชิรพยาบาลเป็นโรงพยาบาลต้นแบบด้านการบรรเทาสาธารณภัยของกทม. เตรียมเพิ่มขีดความสามารถและพัฒนาทักษะของบุคลากร รวมทั้งฝึกซ้อมแผนเพื่อรองรับผู้ป่วยจากสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น

แพทย์หญิงมาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้การต้อนรับ ดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย หรือ Asian Disaster Preparedness Center (ADPC) และคณะทำงาน พร้อมทั้งหารือร่วมกันถึงการเพิ่มขีดความสามารถด้านการป้องกันภัยพิบัติในกรุงเทพมหานคร การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และเสริมสร้างศักยภาพของหน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของกทม.ให้พร้อมรับมือกับภัยพิบัติ

รองผู้ว่าฯ มาลินี เปิดเผยว่า ดร.พิจิตต รัตตกุล ในฐานะเป็นผู้อำนวยการ ADPC ซึ่งเข้าไปช่วยเหลือด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงและสนับสนุนการฝึกอบรมหน่วยป้องกันภัยพิบัติให้แก่ประเทศต่างๆ ในเอเชียและภูมิภาคน ี้ ตระหนักถึงความสำคัญด้านความปลอดภัยและการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคตในประเทศไทยและกรุงเทพมหานคร รวมถึงความจำเป็นยิ่งที่จะต้องมีการวางแผนงาน สำรวจข้อมูล ประเมินความเสี่ยง เพื่อหาทางป้องกันและรับมืออย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และเป็นมาตรฐานสากล เพื่อช่วยลดความเสียหาย รวมถึงปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจากเหตุภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น

สำรวจพื้นที่กรุงเทพฯ ประเมินความเสี่ยงและแผนรับมือ

รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวต่อไปว่า สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ ADPC จะจัดส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาศึกษาข้อมูลและประเมินความเสี่ยงแต่ละพื้นที่ของกรุงเทพฯ เพื่อจัดทำแผนเตรียมป้องกันและรับมือภัยพิบัติ รวมถึงฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และเตรียมพร้อมสถานพยาบาลเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยเมื่อเกิดเหตุอย่า งทันท่วงที เช่น ย่านสีลม สาทร สุขุมวิท ประตูน้ำ มีอาคารสูงจำนวนมาก อาจเป็นพื้นที่เสี่ยงจากแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว หรือเขตคลองเตย ซึ่งเป็นท่าเรือและคลังสินค้า อาจได้รับผลกระทบจากการรั่วไหลของสารพิษ เป็นต้น ซึ่ง ADPC จะรวมรวมข้อมูลแต่ละสภาพพื้นที่ รวมถึงโครงสร้างด้านภายภาพ สิ่งแวดล้อม จำนวนผู้อยู่อาศัย และอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากภัยพิบัติ

วชิรพยาบาลเป็นต้นแบบสถานพยาบาลรับเหตุภัยพิบัติ

ในส่วนของการเตรียมพร้อมของสถานพยาบาลนั้น กทม. เสนอให้วิทยาลัยแพทยศาสตร์และวชิรพยาบาล เป็นโรงพยาบาลต้นแบบด้านการบรรเทาสาธารณภัยของกทม. เพื่อฝึกอบรมบุคลากรและพัฒนาทักษะให้พร้อมรับมือภัยพิบัติ รวมถึงฝึกซ้อมแผนการรักษาผู้ป่วยหรือผู้ประสบเหตุจำนวนมาก การจัดการจราจรและเส้นทางการรับส่งผู้ได้รับบาดเจ็บจากจุดเกิดเหตุถึงโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เป็นต้น จากนั้นจ ะขยายผลไปยังโรงพยาบาลในสังกัดกทม.ทุกแห่งเพื่อให้พร้อมรับมือกับเหตุฉุกเฉินของแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้สถานีดับเพลิงและหน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของกทม.แต่ละแห่งจะได้รับการฝึกทักษะในการให้ความช่วยเหลือภัยพิบัติเฉพาะด้านและ มีอุปกรณ์ช่วยเหลือพิเศษแตกต่างกันตามสภาพพื้นที่และความเสี่ยงของภัยพิบัติไปพร้อมกันด้วย ขณะนี้สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม. กำลังร่างแผนและการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกทม. และ ADPC เพื่อขออนุมัติจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 1 สัปดาห์

ADPC เตรียมส่งผู้เชี่ยวชาญ เดินหน้าแผนร่วมกับกทม.

ดร.พิจิตต รัตตกุล กล่าวว่า ทาง ADPC มีผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะเข้ามาช่วยจัดระบบต่างๆ ที่เกี่ยวกับการรับมือเหตุฉุกเฉิน รวมถึงยกระดับเทคนิคและวิธีการที่เป็นสากลซึ่งจะนำมาใช้ร่วมกับมาตรการเดิมที่กรุงเทพมหานครดำเนินการอยู่ จากนั้นกทม. จะไปต่อยอดเพื่อดำเนินการขยายผลด้านพัฒนาบุคลากรให้แก่หน่วยงานและโรงพยาบาลในสังกัด โดยในส่วนของงบประมาณนั้นธนาคารโลก (World Bank) พร้อมจะให้การสนับสนุน ซึ่งหลายเมืองในเอเชีย อาทิ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ลาว ศรีลังกา ได้เสนอแผนเพื่อขอรับการช่วยเหลือและเดินหน้าโครงการแล้ว

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ

โทรศัพท์กลาง 0-2221-2141-69

อีเมล์ [email protected]