เหตุใด “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ 2009 เอช 1 เอ็น 1” แพร่ได้จากคนสู่คน!!

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--4 พ.ค.--สวทช.

สถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ 2009 เอช 1 เอ็น 1ล่าสุด องค์การอนามัยโลก(WHO)เตือนระดับการแพร่ระบาดเป็นระดับ 5 คือมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสติดจากคนสู่คนในกลุ่มกว้างมากขึ้น ขณะที่หลายคนยังสงสัยว่า “ทำไมไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ 2009 เอช 1 เอ็น 1” จึงแพร่จากคนสู่คนได้เร็วยิ่งนัก แต่ไข้หวัดนกกลับยังไม่พบการแพร่จากคนสู่คน ? ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ นักวิชาการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) และที่ปรึกษาด้านวิชาการศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. อธิบายว่า เหตุผลที่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แพร่จากคนสู่คนได้ดี เนื่องจากชิ้นส่วนพันธุกรรม ทั้ง 8 ท่อน ของไวรัสสายพันธุ์นี้ มีความคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ของคน หมู และสัตว์ปีก โดยจุดสำคัญคือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 นี้ มีส่วนของโปรตีนฮีมแอกลูตินิน(Hemagglutinin) หรือ HA ที่อยู่บนผิวไวรัส เป็นชนิด H1 ซึ่งมีความคล้ายกับไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่มีการระบาดทั่วไปในคน ด้วยเหตุนี้โปรตีน H1 ของไวรัสจึงเข้าจับกับโปรตีนที่อยู่บริเวณผิวของเซลล์มนุษย์ได้อย่างดี และส่งผลให้เชื้อไวรัสเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการไอหรือจาม ที่แม้จะมีเชื้อไวรัสเพียงเล็กน้อย แต่เชื้อไวรัสก็สามารถแพร่เข้าสู่ร่างกายผู้ที่อยู่ใกล้ชิดและเพิ่มจำนวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ไข้หวัดนกยังไม่พบการแพร่จากคนสู่คน เนื่องจากชนิดของโปรตีนฮีมแอกลูตินินของไวรัสไข้หวัดนก เอช 5 เอ็น 1 (H5N1) ไม่สามารถจับกับโปรตีนบริเวณผิวเซลล์มนุษย์ได้ ด้วยลักษณะบางประการที่แตกต่างระหว่างโปรตีนบนผิวเซลล์ของสัตว์ปีกและมนุษย์ เชื้อจึงทำได้เพียงแค่ก่อโรคในคน ส่วนการแพร่จากคนสู่คนนั้นยังคงเป็นไปได้ยาก ดร.นำชัย กล่าวว่า สำหรับแนวทางการรับมือที่ทุกฝ่ายต่างเร่งดำเนินการขณะนี้ คือ 1. การพัฒนาชุดตรวจเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่สามารถให้ผลตรวจอย่างรวดเร็วและมีความแม่นยำ 2. การผลิตวัคซีนที่มีความจำเพาะต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 อย่างรวดเร็ว ซึ่งปกติจะต้องใช้เวลาการผลิตประมาณ 6 เดือน และ 3 การพัฒนายาต้านไวรัส ที่มีประสิทธิภาพมากว่า โอเซลทามิเวีย (Oseltamivir) หรือ เร่งดำเนินการผลิตยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียให้มากเพียงพอ เพื่อเตรียมรับมือกับการระบาดที่อาจเกิดขึ้นให้มากที่สุด อย่างไรก็ดีแม้วิทยาศาสตร์และประสิทธิภาพของระบบสาธารณสุขจะมีความก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ช่วงเวลาการเริ่มต้นศตวรรษใหม่เพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มนุษย์กลับต้องเผชิญกับโรคร้ายแรงที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่มาแล้วถึง 3 สายพันธุ์ คือ ไข้หวัดนก-ซาร์-ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โรคอุบัติใหม่ร้ายแรงที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกในชั่วพริบตา ด้วยเหตุนี้“ไวรัสกลายพันธุ์” จึงยังคงเป็นเชื้อมรณะที่ต้องเฝ้าระวังและจับตามองทุกขณะ ขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. โทรศัพท์ 0-2564-7000 ต่อ 1461-1462 [email protected]

ข่าวศูนย์พันธุวิศวกรรม+นำชัย ชีววิวรรธน์วันนี้

สวทช. ร่วมกับ กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัด กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดอภิปรายเรื่อง "200 ปี รำลึก ชาร์ลส์ ดาร์วิน กับ 150 ปี แห่งตำนานทฤษฎีวิวัฒนาการ"

ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. ร่วมกับ กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัด กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอเชิญร่วมฟังการอภิปรายเรื่อง "200 ปี รำลึก ชาร์ลส์ ดาร์วิน กับ 150 ปี แห่งตำนานทฤษฎีวิวัฒนาการ" ในวันพุธที่ 17 ธันวาคม 2551 เวลา 13.00 15.30 น. ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยากร : ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ นักวิชาการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. นางฤทัย จงสฤษดิ์ นักวิชาการศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสังคม สวทช. นายปีย์ชนิตว์

รู้สู้โรค “ฉี่หนู” เชื้อร้ายที่มากับน้ำท่วม

ภาวะฝนที่ตกหนักจนเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศไทยขณะนี้ ไม่เพียงส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักแล้ว ภาวะน้ำท่วมขังยังนำมาซึ่งโรคร้ายหลายชนิด ยิ่งเฉพาะโรคฉี่หนูที่มีการระบาดหนักและมีรายงานการเสียชีวิตทุกปี ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... ไบโอเทค สวทช. พัฒนาแบคทีรีโอฟาจ ทำลายเชื้อแบคทีเรียก่อโรคพืชในดิน — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโ...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... ไบโอเทค สวทช. พัฒนาวัคซีนรวมสำหรับสุกรในเข็มเดียว ป้องกันไวรัสนิปาห์ และ ไวรัสพีอาร์อาร์เอส — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานพัฒ...