ผลวิจัยเผยยา CRESTOR(R) ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

บาร์เซโลน่า--1 ก.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์ – เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์


ผลวิเคราะห์ล่าสุดจากการศึกษาในชื่อ JUPITER แสดงให้เห็นว่ายา CRESTOR(R) (rosuvastatin) ขนาด 20 มิลลิกรัม สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด (กล้ามเนื้อหัวใจตาย หลอดเลือดสมองตีบ ไปจนถึงการต้องเข้ารับการผ่าตัดหลอดเลือดแดง การเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจากอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือการเสียชีวิตจากโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดรวมกัน) ลงได้ถึง 39% (p<0.001) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ใช้ยา placebo (ยาที่ให้ผลทางจิตใจแต่ไม่มีฤทธิ์ในการรักษา) ในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุที่มีระดับคอเลสเตอรอลต่ำจนถึงปกติแต่มีโปรตีน hsCRP ในระดับสูง โดยผลวิจัยครั้งนี้ได้จากการทดลองในผู้ป่วย 5,695 คน ซึ่งมีอายุ 70 ปีขึ้นไป และผลลัพธ์ที่ออกมาก็สอดคล้องกับการทดสอบในเบื้องต้นก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ ผลวิจัยล่าสุดจะได้รับการนำเสนอในวันนี้ที่การประชุมของสมาคมโรคหัวใจแห่งยุโรป (ESC) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน

ผลวิจัยเพิ่มเติมจากการทดลองในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ายา CRESTOR:

- ช่วยลดความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจวาย และหลอดเลือดสมองตีบ ลงได้เกือบ 40% (p=0.004 เมื่อเทียบกับยา placebo)

- ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดหัวใจวายได้ถึง 45% (p=0.046 เมื่อเทียบกับยา placebo) และลดความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดสมองตีบได้ถึง 45% (p=0.023 เมื่อเทียบกับยา placebo)

- ช่วยลดอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อผ่าตัดหลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดหัวใจตีบลงได้ถึง 49% (p=0.003 เมื่อเทียบกับยา placebo)

- ผลการรักษาเมื่อเทียบกับยา placebo มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากันทั้งในผู้ป่วยสูงอายุ (70 ปีขึ้นไป) และในผู้ป่วยกลุ่มที่มีอายุต่ำกว่า

“ผลวิเคราะห์ในครั้งนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากทำให้แพทย์ได้หลักฐานเพิ่มเติมว่ายา CRESTOR สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยสูงวัยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ” ไมเคิล เครสแมน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยยา CRESTOR ของแอสตร้าเซนเนก้า กล่าว “ข้อมูลที่ได้ล่าสุดสอดคล้องกับข้อมูลที่เคยตีพิมพ์ไปก่อนหน้านี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายา rosuvastatin ขนาด 20 มิลลิกรัม มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากกว่าปกติ อาทิ ผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยที่ทำแบบประเมินความเสี่ยง Framingham risk ได้คะแนนสูง”

ผลวิจัยเบื้องต้นจากการศึกษา JUPITER ซึ่งเดิมได้รับการนำเสนอในการประชุมวิทยาศาสตร์ประจำปีของสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว และได้รับการตีพิมพ์โดยวารสารการแพทย์ New England Journal of Medicine แสดงให้เห็นว่า ยา rosuvastatin ขนาด 20 มิลลิกรัม ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด (กล้ามเนื้อหัวใจตาย หลอดเลือดสมองตีบ ไปจนถึงการต้องเข้ารับการผ่าตัดหลอดเลือดแดง การเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจากอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือการเสียชีวิตจากโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดรวมกัน) ลงได้ถึง 44% เมื่อเทียบกับยา placebo (p<0.00001) นอกจากนั้นยังลดความเสี่ยงการเกิดหัวใจวาย หลอดเลือดสมองตีบ และการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดรวมกันได้ถึง 47% (p<0.00001)

ระหว่างการศึกษา JUPITER พบว่ายา rosuvastatin ขนาด 20 มิลลิกรัม มีฤทธิ์ต้านทานได้ดีในผู้ป่วยเกือบ 9,000 คน ซึ่งรวมถึงผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 70 ปี

ทั้งนี้ แอสตร้าเซนเนก้ายื่นขอให้มีการรับรองข้อมูลจากการศึกษา JUPITER ต่อองค์การอาหารและยาสหรัฐตั้งแต่ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้

เกี่ยวกับการศึกษา JUPITER

JUPITER เป็นการศึกษาแบบสุ่มในผู้ป่วยกลุ่มใหญ่ถึง 17,802 คนในระยะยาว โดยมียา placebo เป็นตัวควบคุม และทั้งผู้ทำการทดลองและผู้ถูกทดลองไม่รู้ตัวว่าได้รับยาอะไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบว่ายา rosuvastatin ขนาด 20 มิลลิกรัม สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวาย หลอดเลือดสมองตีบ และอาการอื่นที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือด ในผู้ป่วยที่มีระดับไขมัน LDL-C ต่ำจนถึงปกติแต่กลับมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเมื่อพิจารณาจากอายุ และมีระดับโปรตีน hsCRP สูง ได้หรือไม่ โดยผู้ป่วยส่วนมากมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นความดันโลหิตสูง, ไขมันดี HDL-C ต่ำ, ประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบมาก่อน หรือสูบบุหรี่ ทั้งนี้ โปรตีน hsCRP เป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงการติดเชื้อ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการหลอดเลือดแดงแข็งตัวได้

การศึกษา JUPITER เป็นส่วนหนึ่งของโครงการทดสอบทางคลินิกในชื่อ GALAXY ของแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อทำการวิจัยและหาคำตอบที่ยังไม่เคยมีใครค้นพบเกี่ยวกับยาลดไขมันในเลือดกลุ่ม statin ปัจจุบันมีผู้ป่วยกว่า 69,000 คนจาก 55 ประเทศทั่วโลกที่เข้าร่วมในโครงการ GALAXY นี้

เกี่ยวกับยา CRESTOR

จากการวิจัยหลายครั้งที่ผ่านมาพบว่ายา CRESTOR ช่วยลดระดับไขมัน LDL-C ลงได้อย่างมาก และยังช่วยเพิ่มไขมันดี HDL-C และช่วยชะลอการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ปัจจุบันยา CRESTOR ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการกำกับดูแลด้านยาในกว่า 95 ประเทศ และมีการสั่งยา CRESTOR ให้กับผู้ป่วยกว่า 17 ล้านคนทั่วโลก ทั้งนี้ ข้อมูลจากการทดสอบและการใช้งานจริงพบว่า ยา CRESTOR มีความปลอดภัยเช่นเดียวกับยาลดไขมันในเลือดกลุ่ม statin ตัวอื่นที่วางขายในตลาด

เกี่ยวกับ แอสตร้าเซนเนก้า

แอสตร้าเซนเนก้า เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพรายใหญ่ระดับนานาชาติ โดยบริษัททำการวิจัย พัฒนา ผลิต และทำตลาดด้านใบสั่งเวชภัณฑ์ รวมทั้งการให้บริการด้านสุขภาพ นอกจากนั้นบริษัทยังเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการดูแลสุขภาพระดับโลกด้วยยอดขายมากกว่า 3.16 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งยังเป็นผู้นำในด้านการขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร หลอดเลือดหัวใจ ระบบประสาท ทางเดินหายใจ เนื้องอก และโรคติดเชื้อ ท่านที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ http://www.astrazeneca.com

แหล่งข่าว: แอสตร้าเซนเนก้า

-- เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --


ข่าวโรคหัวใจและหลอดเลือด+หลอดเลือดหัวใจตีบวันนี้

ตรวจหาปริมาณแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ ได้แล้วที่โรงพยาบาลธนบุรี 2

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทยอย่างต่อเนื่องอาการที่สังเกตได้ คือ อาการเจ็บหน้าอก เหนื่อย กลุ่มผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เกิดจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน เนื่องจากมีการสะสมไขมันในผนังหลอดเลือด และมีการสะสมของแคลเซียมหรือหินปูน ใครที่ควรเข้ารับการตรวจปริมาณแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ผู้มีปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, อ้วน, สูบบุหรี่ ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ

หลอดเลือดหัวใจ มีความสำคัญอย่างมากต่ออวัย... ขยายหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน.. ด้วยการใช้หัวกรอฝังเพชร (Rotablator) — หลอดเลือดหัวใจ มีความสำคัญอย่างมากต่ออวัยวะที่เรียกว่า "หัวใจ" ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค...

การตรวจหัวใจด้วยเทคโนโลยี Cardiac MRI บอก... จะรู้ได้อย่างไรว่าคุณเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า? — การตรวจหัวใจด้วยเทคโนโลยี Cardiac MRI บอกเราได้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้การตรวจหัวใจด้วย Cardiac MRI...

โดย นพ.ดำรงค์ สุกิจปัญญาโรจน์ อายุรแพทย์โ... ผู้สูงวัย เสี่ยง!! โรคหัวใจ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ — โดย นพ.ดำรงค์ สุกิจปัญญาโรจน์ อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะ...

สถาบันโรคหัวใจมอนทรีออลค้นพบวิธีรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดจำเพาะบุคคลเป็นแห่งแรกของโลก

- ผู้ป่วยที่มีพันธุกรรมเหมาะสมและตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาตัวใหม่ จะมีอัตราการเกิดหัวใจวายและอัตราการเสียชีวิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ คณะนักวิจัยจากสถาบันโรคหัวใจมอนทรีออล (Montreal Heart Institute) เผยผลการวิจัยซึ่งแสดง...

Resverlogix ปิดรับผู้ป่วยเข้าร่วมการทดลอง ASSURE

- ข้อมูลจาก IVUS จะประเมินการลดลงของคราบพลัคในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ - Resverlogix ซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์โทรอนโต (TSX: RVX) Resverlogix Corp. (TSX:RVX) ประกาศว่า การรับสมัครผู้ป่วยเข้าร่วมการทดลอง ASSURE ซึ่งเป็นการทดลองทางคลินิกขั้น 2b ...

"โรคลิ้นหัวใจ" นับเป็นปัญหาสำคัญที่สัมพัน... โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติก…ภัยร้ายที่อาจมองข้าม รู้ทันสัญญาณอันตราย! ก่อนสายเกินแก้ — "โรคลิ้นหัวใจ" นับเป็นปัญหาสำคัญที่สัมพันธ์กับสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย ...

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญพย... ขอเชิญชวนพยาบาลและบุคลากรสุขภาพเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ECG Interpretation and Nursing Care — คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญพยาบาลและบ...

เพราะทุกจังหวะของหัวใจมีค่า และทุกชีวิตสม... "OPEN BOX for OPEN HEART" คอนเสิร์ตแห่งการให้ รวมพลังศิลปินช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคหัวใจ 200 ราย — เพราะทุกจังหวะของหัวใจมีค่า และทุกชีวิตสมควรได้รับโอกาสให้หั...