แมคเคิลสฟิลด์, อังกฤษ--20 ส.ค.--พีอาร์นิวสไวร์ – เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์
ไซโพรเท็กซ์ พีแอลซี (Cyprotex PLC) (LSE:CRX) บริษัทผู้ให้บริการด้านการค้นคว้าทดลองเบื้องต้นเกี่ยวกับสารพิษที่มีผลต่อประสิทธิภาพของสารประกอบยา (ADME Tox) ประกาศเปิดตัวบริการใหม่สำหรับการทดลองด้านพิษวิทยาในหลอดแก้วภายใต้ชื่อ Cyprotox(R) โดยบริษัทได้ขยายพื้นที่ในห้องปฏิบัติการที่โรงงานของไซโพรเท็กซ์ ในเมืองแมคเคิลสฟิลด์ สหราชอาณาจักร เพิ่มอีก 90 ตารางเมตร เพื่อรองรับบริการดังกล่าว ซึ่งจะทำให้โรงงานแห่งนี้เป็นศูนย์รวมเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดด้านการวิจัยด้านเซลล์และการตรวจจับภาพเรืองแสงอัตโนมัติที่เกิดจากหลายปัจจัย นอกจากนี้ บริการใหม่ยังช่วยให้โรงงานของไซโพรเท็กซ์ ในเมืองแมคเคิลสฟิลด์สามารถให้บริการด้านพิษวิทยาได้เหมือนกับห้องปฏิบัติการของ Apredica (เมืองวอเตอร์ทาวน์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา) ที่ไซโพรเท็กซ์ ซื้อกิจการไปเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2553
โรงงานแห่งใหม่นี้ได้เพิ่มการติดตั้งเครื่องอ่านข้อมูล VTI HCS Reader รุ่น Thermo Scientific Cellomics ArrayScan(R) ซึ่งเพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์ Cellomics HCS จำนวน 4 ชิ้นที่ใช้ในโรงงานของ Apredica โดย ArrayScan(R) ช่วยให้เครื่องอ่านข้อมูล HCS สามารถค้นหาสารพิษที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ เทคโนโลยีเครื่องอ่านข้อมูล HCS นับเป็นความก้าวหน้าครั้งล่าสุดในการประเมินสารประกอบด้านพิษวิทยาเบื้องต้นที่มีการนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งในปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้กันเป็นวงกว้างในภาคอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์
นอกเหนือจากการติดตั้งเครื่องอ่านข้อมูล HCS แล้ว โรงงานแห่งนี้ยังมีบริการอื่นๆ อีกมากมายที่ใช้สำหรับการทดลองด้านพิษวิทยา เช่น
- การตรวจจับปฏิกิริยาการเผาผลาญ
- พิษของไมโทคอนเดรีย
- ตัวยับยั้ง hERG
- ข้อกำหนดด้านยีนที่เป็นพิษ
- phospholipidosis
- สารพิษที่เกิดจากแสง
- ฮีโมไลซิส
- พิษทางพันธุกรรม และ
- การทดสอบปฏิกิริยาตอบสนองระหว่างสารประกอบยากับยา
ดร.แอนโทนี แบกซ์เตอร์ (Dr Anthony Baxter) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของไซโพรเท็กซ์แสดงความเห็นถึงการเปิดตัวโรงงานเพื่อให้บริการด้านพิษวิทยาครั้งนี้ว่า
“สารพิษในยา โดยเฉพาะสารประกอบยาที่เป็นอันตรายต่อตับ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การทดลองทางคลินิกประสบความล้มเหลว และทำให้ต้องมีการเก็บยาที่ผ่านการอนุมัติในก่อนหน้านี้ออกจากท้องตลาด ปัญหาเกี่ยวกับสารพิษในตัวยาทำเกิดการใช้เงินทุนอย่างสิ้นเปลืองมากที่สุดสำหรับการพัฒนายาในปัจจุบัน การกำหนดตัวเลขค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากในช่วงเริ่มต้นค้นคว้าและพัฒนายาจะช่วยลดความเป็นไปได้ของการประสบความล้มเหลวด้านการพัฒนายาในภายหลัง และยังเป็นเครื่องยืนยันว่า การทดลองด้านพิษที่มีผลต่อประสิทธิภาพของสารประกอบยา (ADME) ในเบื้องต้นจะช่วยยกระดับการพัฒนายาที่มีคุณภาพให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน”
“โรงงานแห่งใหม่ของไซโพรเท็กซ์ที่มีการขยายพื้นที่เพื่อรองรับบริการด้านพิษวิทยาช่วยทำให้ธุรกิจ ADME ของเรามีความสมบูรณ์แบบ อีกทั้งยังช่วยยกระดับมาตรฐานการบริการที่โรงงานของไซโพรเท็กซ์ในสหราชอาณาจักรให้ทัดเทียมกับโรงงานของ Apredica ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งไซโพรเท็กซ์ได้ซื้อกิจการไปเมื่อต้นเดือนนี้ ทั้งนี้ การรวบรวมบริการต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการทดลอง ADME ในหลอดแก้ว การทดลองด้านพิษวิทยาในหลอดแก้ว และเทคโนโลยี CellCiphr(TM) ที่ไซโพรเท็กซ์ซื้อมาจาก Cellumen ทำให้ลูกค้าของไซโพรเท็กซ์สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและทันสมัยมากที่สุดสำหรับบริการ ADME Tox เบื้องต้นของตลาดในทุกวันนี้”
สอบถามข้อมูล:
ไซโพรเท็กซ์ พีแอลซี
โทรศัพท์: +44(0)1625-505-100
ดร.แอนโทนี แบกซ์เตอร์ (Dr Anthony Baxter) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร
จอห์น ดูทสัน (John Dootson) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน
มาร์ก วอร์เบอร์ตัน (Mark Warburton) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการและที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
อีเมล: [email protected]
เว็บไซต์: http://www.cyprotex.com
ซิงเกอร์ แคปิตอล มาร์เก็ตส์ ลิมิเต็ด (Singer Capital Markets Limited) (ตัวแทนของไซโพรเท็กซ์)
โทรศัพท์ : +44(0)203-205-7500
ชอน ด็อบสัน (Shaun Dobson)
อีเมล: [email protected]
คลาส สแปง (Claes Spang)
อีเมล: [email protected]
เว็บไซต์: http://www.singercm.com
ไฟแนนเชียล ไดนามิกส์ (Financial Dynamics)
โทรศัพท์: +44(0)20-7831-3113
เบน บริวเวอร์ตัน (Ben Brewerton)
เบน แอทเวลล์ (Ben Atwell)
โม นูแนน (Mo Noonan)
อีเมล: [email protected]
เว็บไซต์: http://www.fd.com
แหล่งข่าว: ไซโพรเท็กซ์ พีแอลซี
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --
อะวิดิตี ไซแอนซ์ (Avidity Science) มีความภาคภูมิใจในการเปิดตัวระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์คุณภาพสูงในห้องปฏิบัติการอย่างอะวิดิตี ไซแอนซ์ โซโล เอส (Avidity Science Solo(TM) S) ซึ่งเป็นระบบแรกของโลกที่ใช้ไส้กรองพลาสติกแบบใช้ซ้ำได้ โดยอะวิดิตี ไซแอนซ์ ได้จัดแสดงระบบโซโล เอส ที่ว่านี้ ในงานแสดงนวัตกรรมห้องแล็บ (The Lab Innovations Trade Show) ณ เมืองเบอร์มิงแฮม สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 1-2 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โซโล เอส เป็นระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์แบบตั้งโต๊ะประเภทที่ 1 ผลิตน้ำบริสุทธิ์คุณภาพสูงจากน้ำประปาได้
TMAN แจงเหตุเพลิงไหม้ห้องปฏิบัติการไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต เร่งปรับปรุงพื้นที่เพื่อกลับมาเปิดดำเนินงาน พร้อมเพิ่มมาตรการความปลอดภัย
—
"บมจ.ที.แมน ฟาร...
กรมวิทย์ฯ บริการ เสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพยางแท่ง เอสทีอาร์ (STR) ตามมาตรฐานสากล
—
กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดย ศูนย์ทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ...
ผถห. BKGI อนุมัติจ่ายปันผล 0.05 บ./หุ้น รับทรัพย์ 28 พ.ค.นี้
—
ลุยขยายให้บริการด้านการแพทย์จีโนมิกส์- เปิดห้องปฏิบัติการเพิ่ม ปักหมุดปี 68 รายได้เติบโต 20...
จี-ไอดี แลบอราทอรีส์ เปิดตัวห้องแล็บตรวจสอบอัญมณีมาตรฐานระดับสากล ชูจุดเด่นเน้นความแม่นยำ-เทคโนโลยีสุดล้ำและทีมงานผู้เชี่ยวชาญ
—
จี-ไอดี แลบอราทอรีส์ เปิด...
วว. ต้อนรับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในโอกาสเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน วทน.
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโ...
AMARC ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ พร้อมอนุมัติจ่ายปันผลอีก 0.02 บาท/หุ้น
—
รศ.นพ. วิรัตน์ วงศ์แสงนาค (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานกรรมการบริษ...
รพ.ธนบุรี จับมือ รพ.ศิริราช จัดงานประชุมวิชาการแพทย์ด้านกระดูกสันหลังนานาชาติ
—
รพ.ธนบุรี ในเครือ THG นำโดย ศ.คลินิก.นพ.วิศิษฏ์ วามวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าท...