ปลูกป่าชายเลนถาวรเฉลิมพระเกียรติได้ผลเกินเป้า ทช. สานต่อโครงการ ฯ พัฒนาต่อเนื่อง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--9 ส.ค.--ทช.

ผลโครงการปลูกป่าชายเลนถาวรเฉลิมพระเกียรติ 720,000 ไร่ กรม ฯ ทะเลได้ผลเกินคาด เตรียมงานสำรวจ ศึกษาวิจัย ส่งเสริมอาชีพ ตั้งศูนย์เรียนรู้ สานต่อโครงการ ฯ นายชากรี รอดไฝ ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เปิดเผยว่า ทช. ได้ดำเนินการโครงการปลูกป่าชายเลนถาวรเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ มาตั้งแต่ปี 2547 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองแนวพระราชดำริและสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถในการอนุรักษ์ป่าชายเลน รวมทั้งเพื่อรณรงค์ ส่งเสริมให้องค์กรทั้งในและต่างประเทศร่วมกันฟื้นฟูป่าชายเลนให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์และมีศักยภาพในการผลิตสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายปลูกป่าชายเลนในพื้นที่สำคัญเร่งด่วนเนื้อที่ 52,000 ไร่ พื้นที่ปลูกเสริมและปรับปรุงสภาพป่าชายเลนเนื้อที่ 368,000 ไร่ และการจัดทำเขตพิทักษ์ป่าชายเลนรักษ์สัตว์น้ำเนื้อที่ 300,000 ไร่ รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 720,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 23 จังหวัดที่มีพื้นที่ป่าชายเลน “จากผลการดำเนินงานของ ทช. เป็นระยะเวลา 6 ปี พบว่าสามารถปลูกป่าชายเลนในพื้นที่เร่งด่วนได้ 24,346 ไร่ รวมทั้งการปลูกเสริมและการปลูกบำรุงเนื้อที่รวม 176,542 ไร่ และจัดตั้งเขตพิทักษ์ป่าชายเลนรักษ์สัตว์น้ำได้เนื้อที่ 520,303 ไร่ รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 721,191 ไร่ คิดเป็น 48 % ของพื้นที่ป่าชายเลนทั่วประเทศที่มีประมาณ 1,500,000 ไร่พื้นที่และอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ทะเลและชายฝั่ง (รสทช.) รวม 659 รุ่น มีผู้ผ่านการฝึกอบรมทั้งสิ้น 32,950 คน กระจายอยู่ในชุมชนชายฝั่งทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังได้ทำการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำจำนวน 34,905,827 ตัว ซึ่ง ทช. สามารถดำเนินการได้สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด” ผอ.สำนักอนุรักษ์กล่าวต่อไปว่า ป่าชายเลนแต่ละแห่งมีความแตกต่างกันทั้งปัจจัยแวดล้อมและความต้องการของสังคม บางแห่งเป็นป่าชายเลนดั้งเดิมที่ถูกบุกรุก ที่รกร้าง มีวัชพืชขึ้นอยู่มากเต็มพื้นที่ บางพื้นที่เป็นป่าเลนงอกใหม่ใกล้ชายฝั่งทะเล บางพื้นที่อยู่ริมแม่น้ำลำคลองที่มีการกัดเซาะตลิ่ง พื้นที่นากุ้งที่ถูกทิ้งร้าง พื้นที่บุกรุกเลี้ยงกุ้งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือพื้นที่ที่ถูกบุกรุกเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น เกษตรกรรม เป็นต้น ซึ่งการปฏิบัติงานได้ในปริมาณที่แตกต่างกันได้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการกำหนดนโยบายที่ควรให้ความสำคัญกับความแตกต่างของพื้นที่ โดยเมื่อสิ้นสุดโครงการ ฯ ทช.จะได้ดำเนินการอีก 9 โครงการเพื่อให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนและทรัพยากรประมงอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ สำรวจและพัฒนาฐานข้อมูล บูรณาการทรัพยากร กำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการ วิจัยนวัตกรรม ส่งเสริมอาชีพชุมชน จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ สำรวจและจัดการพื้นที่ป่าชายเลน สร้างความเข้มแข็งให้กลุ่ม / เครือข่าย และเผยแพร่ความรู้ด้านทรัพยากรป่าชายเลน ชายฝั่งให้กับเยาวชน

ข่าวกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง+สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์วันนี้

อ.อ.ป. ร่วมประชุมภาคีป่าไม้แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 20 (UNFF20)

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) นำโดย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) พร้อมด้วย นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ และผู้แทนจากกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการต่างประเทศ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึง นายประสิทธิ์ เกิดโต รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

มิสทิน ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั... มิสทิน ร่วมกับ ทช. เดินหน้าโครงการยกเลิกการใช้สารที่เป็นอันตรายต่อปะการัง — มิสทิน ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เดินหน้าโครงการยกเลิกการใช้ส...

นายอรรถพล เจริญชันษา (ที่2จากซ้าย) อธิบดี... LET จัดอบรม e-Service การบริหารจัดการสัตว์ป่าตามพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ — นายอรรถพล เจริญชันษา (ที่2จากซ้าย) อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รัก...