มหาวิทยาลัยมหิดล จัดสัมมนา “นโยบายด้านบุคลากรเครื่องมือแพทย์ของประเทศไทย”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--19 ม.ค.--มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยงยุทธ ขจรปรีดานนท์ หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ชีวการแพทย์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า เครื่องมือแพทย์ได้ถูกนำมาใช้ในโรงพยาบาลจำนวนมหาศาล มีหลากหลายชนิดและประเภทของการนำมาใช้งาน และวิธีการที่นำมาใช้จากง่ายไปถึงยุ่งยากและซับซ้อน จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์อย่างเป็นระบบ เพื่อระดมความคิด และร่วมกันหาแนวทางในการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์อย่างเป็นระบบครบวงจรและเป็นสากล ศูนย์วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ชีวการแพทย์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมอุปกรณ์การแพทย์ไทย สมาคมวิจัยวิศวกรรมการแพทย์ไทย และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย จัดสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “นโยบายด้านบุคลากรเครื่องมือแพทย์ของประเทศไทย” ในวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องกรุงธนบอลรูม โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ หัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ “วิสัยทัศน์ของประเทศไทยด้านอุปกรณ์การแพทย์ในบทบาทของ Asian Medical Hub เน้นในแง่บุคลากร” โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล, “คนกับเครื่องมือแพทย์ในระบบคุณภาพโรงพยาบาล” โดย นพ.สมเกียรติ โพธิสัตย์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมประชุมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่ โทร.๐-๒๔๔๑-๙๓๕๐ www.thaibmi.org

ข่าวสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล+โรงพยาบาลจำนวนมหาศาลวันนี้

งานสัมมนา Mahidol Sustainable and Modern Energy for All "Solar Cell"

ศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม (MICC) โดยสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ม.มหิดล ขอเชิญชวนผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจ เข้าร่วมงานสัมมนา Mahidol Sustainable and Modern Energy for All "Solar Cell" วันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม 2566 (เวลา 09.00-12.00 น.)ณ MaSHARES Co-Working Space สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลหรือทาง FB LIVE ของสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม Highlight Topic - นโยบายภาครัฐกับโซลาเซลล์- การพัฒนาเรือพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการท่องเที่ยวตามแนวปะการัง- นวัตกรรม 'เพอรอฟสไกต์'

สมรภูมิแห่งการควบคุมโรคธาลัสซีเมีย โดยเฉพ... ม.มหิดลร่วมแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีไทย-จีน เพื่อควบคุมป้องกันโรคธาลัสซีเมีย — สมรภูมิแห่งการควบคุมโรคธาลัสซีเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย ไม่เคยห่างหาย...

โปรตีนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ การศ... ม.มหิดลเสริมทักษะคิดเชิงวิเคราะห์ขั้นสูงให้นศ.ทดลองออกแบบและผลิตวัคซีน — โปรตีนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ การศึกษาเกี่ยวกับโปรตีน (Proteomics) มีความส...

เมื่อโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นถือเป็นความท... ม.มหิดล เร่งสร้างขุมพลังยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ — เมื่อโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยและงา...

กว่าจะคิดค้นและผลิตยารักษาโรคแต่ละชนิดต้อ... ม.มหิดล ย่อโลกการแพทย์แม่นยำสร้างสรรค์ AI ช่วยออกแบบยา "MANORAA" — กว่าจะคิดค้นและผลิตยารักษาโรคแต่ละชนิดต้องใช้เวลากว่าหนึ่งทศวรรษ และต้องอาศัยการลงทุนด้...

ความหายนะทางเศรษฐกิจจากการที่เกษตรกรฟาร์ม... ม.มหิดล - ไบโอเทค ค้นพบ "โพรไบโอติกส์ต้านโรคสัตว์น้ำ" จากการวิจัยในระดับ "ยีน" ครั้งแรก — ความหายนะทางเศรษฐกิจจากการที่เกษตรกรฟาร์มกุ้งไทยส่วนใหญ่ต้องประส...