ปภ.ชี้ยังต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--21 ต.ค.--ปภ.

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระบุยังมีพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยเป็นพิเศษ โดยเฉพาะใน 4 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา 3 อำเภอในจังหวัดลพบุรี รวมถึงพื้นที่จังหวัดขอนแก่นเป็นพื้นที่รับน้ำจากเขื่อน จุฬาภรณ์และเขื่อนลำปะทาว จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเฉพาะบริเวณอำเภอสะตึก เพราะเป็นพื้นที่แรกที่รับน้ำจากลำน้ำมูล จังหวัดนครราชสีมา ตลอดจนพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและปทุมธานี ขอให้ประชาชน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว เตรียมขนย้ายสิ่งของขึ้นบนที่สูง ติดตามประกาศแจ้งเตือนภัย และปฏิบัติตามคำแนะนำของหน่วยงานราชการอย่างเคร่งครัด นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์อุทกภัย พบว่า ยังมีพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิดในหลายจังหวัด ดังนี้ จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอปักธงชัย อำเภอพิมาย อำเภอสูงเนิน และอำเภอโชคชัย ซึ่งระดับน้ำยังคงทรงตัว และคาดการณ์ว่าในอีก 1- 2 วันนี้ น้ำจะไหลหลากเข้าสู่พื้นที่ท้ายน้ำทำให้ระดับน้ำท่วมเพิ่มสูงขึ้นใน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอจักรราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอโนนไทย และอำเภอโนนสูง จังหวัดลพบุรี พื้นที่ที่สถานการณ์น้ำท่วมยังวิกฤตหนัก ได้แก่ อำเภอท่าวุ้ง อำเภอบ้านหมี่ และอำเภอเมืองลพบุรี เนื่องจากในปีนี้เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีปริมาณน้ำมากที่สุดตั้งแต่สร้างเขื่อน จังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ อำเภอท่าตะโก ระดับน้ำอยู่ที่ 1.20 – 1.5 เมตร เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำจากจังหวัดลพบุรีและเพชรบูรณ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะเป็นจุดรวมในการรับน้ำจากแม่น้ำป่าสัก แม่น้ำน้อย แม่น้ำลพบุรี ซึ่งมีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับในช่วงวันที่ 23 – 25 ตุลาคม 2553 จะมีน้ำทะเลหนุน จึงต้องเฝ้าระวังพื้นที่ดังกล่าวเป็นพิเศษ จังหวัดปราจีนบุรี ในพื้นที่อำเภอกบินทร์บุรี สถานการณ์ยังคงวิกฤต ระดับน้ำทรงตัวอยู่ที่ 1.50 เมตร และขณะนี้น้ำไหลลงสู่พื้นที่อำเภอศรีมหาโพธิ์แล้ว จึงต้องเฝ้าระวังพื้นที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จังหวัดปทุมธานี เนื่องจากเป็นจุดรับน้ำจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยสถานการณ์ อุทกภัยในพื้นที่ดังกล่าวขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย ได้แก่ ปริมาณน้ำเหนือที่ไหลเข้ามา ภาวะฝนตก (ขณะนี้พบว่ามีการก่อตัวของกลุ่มฝน) รวมถึงภาวะน้ำทะเลหนุนในช่วงวันที่ 23 – 26 ตุลาคม 2553 จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเฉพาะบริเวณอำเภอสะตึก เพราะเป็นพื้นที่แรกที่รับน้ำจากลำน้ำมูล จังหวัดนครราชสีมา แต่คาดว่าสถานการณ์จะไม่รุนแรงมากนัก เนื่องจากลำน้ำมูลค่อนข้างกว้าง จึงคาดว่าจะสามารถรับปริมาณน้ำที่หลากเข้ามาในพื้นที่ได้ จังหวัดขอนแก่น เป็นพื้นที่รับน้ำจากเขื่อนจุฬาภรณ์และเขื่อนลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งคาดว่าภายใน 12 ชั่วโมง น้ำจะไหลเข้าสู่พื้นที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งทั้ง 2 จังหวัดได้ประสานแจ้งเตือนหน่วยงานในพื้นที่ให้เฝ้าระวังสถานการณ์ภัยแล้ว ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานไปยังจังหวัดดังกล่าวแจ้งเตือนนายอำเภอ กำนันผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่ภาครัฐในพื้นที่ให้ประกาศแจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนแล้ว จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยในจังหวัดดังกล่าว เตรียมขนย้ายสิ่งของขึ้นบนที่สูง ติดตามประกาศแจ้งเตือนภัยอย่างใกล้ชิด และปฏิบัติตามคำแนะนำของหน่วยงานราชการอย่างเคร่งครัด ท้ายนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์อุทกภัย สามารถติดต่อขอรับการช่วยเหลือได้ที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด 75 จังหวัด และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตทั้ง 18 เขต หรือทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานและให้การช่วยเหลือต่อไป

ข่าวกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย+จังหวัดนครราชสีมาวันนี้

ปภ.ชี้แจงสถานการณ์ภัยแล้งในจังหวัดนครราชสีมา และพิจิตร บูรณาการทุกภาคส่วนลดผลกระทบจากภาวะขาดแคลนน้ำ

นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) เปิดเผยว่า จากกรณีสื่อมวลชนรายงานสถานการณ์ภัยแล้งในจังหวัดนครราชสีมา และพิจิตร โดยจังหวัดนครราชสีมา แหล่งน้ำที่ใช้ผลิตน้ำประปาในพื้นที่หมู่บ้านโนนกราด อำเภอลำคอหงส์ อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา มีสภาพแห้งขอด ส่งผลให้ชาวบ้านกว่า 40 หลังคาเรือนได้รับความเดือดร้อน ขณะที่จังหวัดพิจิตร ลุ่มแม่น้ำยมแห้งขอด ส่งผลให้ฝายแม้วในพื้นที่วังลูกช้าง ตำบลสามง่าม อำเภอสามง่าม

ปภ.รายงานยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในจังหวัดนครราชสีมา สุพรรณบุรี และชุมพร เร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัย

11 พ.ย. 63 เวลา 09.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก ดินสไลด์ และวาตภัย ในพื้นที่ 36 จังหวัด รวม 162 อำเภอ 582 ตำบล 2,549 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 93...

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกั... NT ยืนยันความพร้อม ร่วมทดสอบระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast ในพื้นที่จริง — กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้...

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส... ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ — ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดก...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ป... 'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...

เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและก... สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์ — เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...

นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำ... กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้ — นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพั...

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. เร่งถ่ายเทไหลเวียนน้ำในคลองช่องนนทรี เตรียมขุดลอกดินเลน-ทำความสะอาดท่อลอด — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวชี้แจงกร...

กทม. เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำรองรับสถานการณ์ฝน

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวกรณีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังว่า กทม. ได้จัดทำแผนเตรียมความพร้อมด้านระบบระบายน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ฝนตกหนัก โดยใช้แผน...