“ข้าวและเกษตรกรไทย” ก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--17 ธ.ค.--ทีมสื่อสารสาธารณะ-ทีดีอาร์ไอ

ศ.ดร. มรกต ตันติเจริญ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ตระหนักว่าข้าวมีความสำคัญต่อประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งวิถีชีวิตของคนไทย ดังนั้น กว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา สวทช. มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการปรับปรุงพันธุ์และการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าข้าว โดยร่วมมือกับพันธมิตรภาครัฐ เอกชน และชุมชน โดยมีเป้าหมายให้คนไทยทุกภาคส่วนมีข้าวเพียงพอต่อการบริโภค รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่นำไปสู่ความยั่งยืนของข้าวไทยทั้งระบบ ที่ผ่านมาประเทศไทยใช้ทุนทางธรรมชาติและทุนทางสังคมในการผลิตข้าว ในอนาคตเราต้องปฏิรูปการผลิตข้าวไทยไปใช้ทุนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมมากขึ้น เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ลดลง การขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ภัยแล้งและอุทกภัย นอกจากนี้ คู่แข่งและคู่ค้าข้าวของประเทศไทยต่างเพิ่มการลงทุนการวิจัยและพัฒนา จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้เกี่ยวกับดีเอ็นเอ สวทช. ได้ใช้ความรู้ดังกล่าวในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวตั้งแต่ปี 2532 ภายใต้โครงการความร่วมมือของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ และในปี 2542 ได้เข้าร่วม “โครงการวิจัยจีโนมข้าวนานาชาติ” ที่นับว่าเป็นการวางรากฐานการวิจัยวิทยาศาสตร์ด้านข้าวเชิงลึกของประเทศไทย มีบทบาทสำคัญส่งผลให้การพัฒนาข้าวไทยเป็นไปอย่างก้าวกระโดด มีองค์ความรู้สะสมมากพอที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการได้ทันสถานการณ์ ดังตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในกรณีของการพัฒนาข้าวหอมดอกมะลิให้ทนน้ำท่วม ที่ผ่านการทดสอบการยอมรับของเกษตรกรในหลายจังหวัดมาเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ข้าวหอมดอกมะลิทนน้ำท่วมดังกล่าวได้ใช้ชื่อว่า “ข้าวหอมชลสิทธิ์” ซึ่งนอกจากทนน้ำท่วมฉับพลันแล้วยังไม่ไวแสง ปลูกได้ในพื้นที่ภาคกลางที่มักประสบปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน ในปี 2553 มีการปลูกพันธุ์หอมชลสิทธิ์เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีในพื้นที่ อ.ผักไห่ จ.อยุธยา และได้เกิดภาวะน้ำท่วมทำให้แปลงข้าวพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์จมอยู่ใต้น้ำเป็นเวลา 12 วัน ถึงแม้ว่าข้าวหอมชลสิทธิ์ที่จมอยู่ใต้น้ำไม่ตาย แต่เนื่องจากข้าวอยู่ในระยะตั้งท้องและเริ่มออกดอกพอดี ไม่สามารถผสมเกสรใต้น้ำ จึงทำให้เกิดการสูญเสียผลผลิตเมล็ดบางส่วน ในขณะที่พันธุ์หอมปทุมตายทั้งหมด เก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้ นอกจากที่ อ.ผักไห่แล้ว มีเกษตรกรที่ อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี ปลูกข้าวหอมชลสิทธิ์เช่นกัน แปลงดังกล่าวได้รับผลกระทบจมอยู่ใต้น้ำเป็นเวลา 7 วัน ภายหลังน้ำลดข้าวหอมชลสิทธิ์ฟื้นตัวได้ดีภายใน 3 วัน ขณะที่พันธุ์ กข 31 ที่ปลูกในบริเวณใกล้เคียงกันไม่ฟื้นตัว นอกจากการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้ทนต่อสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว สวทช. ยังได้ปรับปรุงพันธุ์ข้าวเศรษฐกิจให้ทนต่อศัตรูพืช เช่น ข้าว กข 6 ต้านทานโรคไหม้ ที่ได้เผยแพร่ให้เกษตรกรปลูกในพื้นที่จังหวัดน่าน เชียงราย และลำปาง และได้รับพระราชทานชื่อพันธุ์ข้าวจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีว่า “ธัญสิริน” เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2553 นอกเหนือจากการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ความรู้ด้านดีเอ็นเอถูกนำมาใช้ในการแก้ปัญหาการค้าการปลอมปนของข้าวหอมดอกมะลิ นำไปสู่วิธีมาตรฐานที่กระทรวงพาณิชย์ยอมรับ ทำให้ประเทศไทยแก้ปัญหาการปลอมปนข้าวหอมมะลิ รวมถึงการสร้างมาตรฐานคุณภาพของข้าวหอมมะลิไทยทำให้ประเทศไทยส่งออกข้าวหอมมะลิได้เพิ่มขึ้น สวทช. ให้ความสำคัญกับความมั่นคงด้านอาหารในระดับครัวเรือนด้วยการให้ความรู้ผ่านการฝึกอบรมให้กลุ่มเกษตรกรเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองคุณภาพดีไว้ใช้เองในชุมชน ถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้พันธุ์ดีที่เหมาะสมในหลายพื้นที่ที่ประสบปัญหาข้าวไม่พอกินตลอดทั้งปี เช่น ในพื้นที่ของจังหวัดน่าน สกลนคร และเชียงราย เป็นต้น ผลของการดำเนินงานนำไปสู่การ “มีข้าวพอกิน” และ เกิดอาชีพ “การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว” จำหน่ายในชุมชน เป็นรายได้เสริมให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่ง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของระบบการผลิตข้าว จำเป็นต้องมีการวิจัยพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ สวทช.สนับสนุนการศึกษาวิจัยให้เกิดการพัฒนาในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตข้าวโดยร่วมกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น มหาวิทยาลัยต่างๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการผลิต/จำหน่ายเครื่องจักรกลเกษตร และชุมชนเกษตรกรใน จังหวัดต่างๆ อาทิ การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตในกระบวนการอบและสีข้าวของโรงสีให้ดีขึ้นด้วยเทคนิควิศวกรรมที่ไม่ซับซ้อนเพื่อแก้ปัญหากระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพต่ำทั้งในแง่ปริมาณผลผลิต ปริมาณข้าวหัก(สูญเสีย) การใช้พลังงาน และการหยุดของเครื่องจักร ส่งผลให้โรงงานอบและสีข้าวที่ร่วมโครงการมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ในส่วนของโรงงานแปรรูปข้าวในกลุ่มเอสเอ็มอี ได้ให้คำปรึกษาจัดทำระบบประกันคุณภาพ GMP และ HACCP แก่โรงงานกลุ่มแป้งและผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว 12 โรงงาน ประเทศไทยถือว่าเป็นจุดศูนย์กลางของความหลากหลายทางชีวภาพของข้าว ทำให้มีข้าวที่มีคุณสมบัติหลากหลาย เหมาะนำมาใช้ในการแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของแป้งจากสายพันธุ์ข้าวต่างๆ ถูกนำไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อาทิ เครื่องดื่มชนิดผงจากข้าวกล้อง เครื่องดื่มนมข้าว และผลิตภัณฑ์เส้นก๋วยเตี๋ยวใยอาหารสูงจากข้าวกล้อง รวมทั้งผลิตภัณฑ์อาหารที่มีธาตุเหล็กสูงจากข้าว 2 ชนิด คือ เส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและขนมขบเคี้ยวชนิดสุกพอง โดยการใช้แป้งข้าวทดแทนแป้งสาลีบางส่วนและเสริมธาตุเหล็ก เพื่อตอบสนองผู้บริโภคในกลุ่มวัยเรียนอายุ 6-14 ปี ที่เสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็กและภาวะโลหิตจาง ทั้งหมดเป็นเพียงบางตัวอย่างที่เป็นผลของความพยายามในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนของข้าวไทย อย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังมีความจำเป็นต้องสร้างมวลวิกฤตทั้งด้านผลงานวิจัยและนักวิจัยเพื่อให้มีองค์ความรู้ด้านข้าวที่ครบวงจรเพียงพอที่จะรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม กองทุนวิจัยข้าวไทยจะเป็นแนวทางสำคัญที่จะสร้างอนาคตที่มั่นคงให้กับข้าวไทย.

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+มรกต ตันติเจริญวันนี้

FoSTAT และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จับมือ ProPak Asia 2025 จัดสัมมนา ปั้นอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสู่มาตรฐานสากล ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และ สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) และ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน ProPak Asia 2025 งานแสดงเทคโนโลยี เครื่องจักร และโซลูชันด้านกระบวนการผลิต การแปรรูป และบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรมอาหาร อาหารแปรรูป เครื่องดื่ม และบรรจุภัณฑ์ ยังคงยึดมั่นในพันธกิจที่จะส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตไทยให้แข็งแกร่งเป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจประเทศ เพื่อเดินหน้ายกระดับองค์ความรู้สู่ผู้ประกอบการในทุกภูมิภาค ดังนั้นทั้ง 3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567 — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกร... วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทย...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สวทช. โดย นาโนเทค เฟ้นหา 8 ผู้ประกอบการ ต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์นาโนเท...

ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบั... สสวท. ประกาศชัยครู - นักเรียน ยอดฝีมือ เวทีประกวดงานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม GLOBE SRC 2025 — ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนว...

"การใช้สื่อชุดกิจกรรม IPST SMART BOX สร้า... สสวท. อบรมครูวิทย์และเทคโนโลยี 4 ภาค สมัครได้ถึง 3 พฤษภาคมนี้ — "การใช้สื่อชุดกิจกรรม IPST SMART BOX สร้างผลงานโดยไม่เขียนโปรแกรม" สถาบันส่งเสริมการสอนวิท...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว. ต้อนรับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในโอกาสเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน วทน. — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโ...