โครงการสัมมนาเรื่อง “ รับสมัครเฉพาะทางเน็ต : ละเมิดสิทธิจริงหรือ ? ”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--20 ธ.ค.--คณะอนุกรรมการสื่อสารสาธารณะเพื่อสิทธิมนุษยชน

๑. หลักการและเหตุผล การสอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ในระบบ Admission ในปัจจุบัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบกลางในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๙ แทนระบบเอ็นทรานซ์ที่ใช้อยู่เดิม โดยมีองค์ประกอบในการยื่นคะแนนเข้ามหาวิทยาลัย คือ ๑. ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (GPAX) ๒. ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test : O - NET) ๓. ผลการสอบความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test หรือ GAT) ๔. ผลการสอบความถนัดเฉพาะด้านวิชาการ ( Professional Aptitude Test หรือ PAD ) ซึ่งการรับสมัครสอบระบบ Admission จะเปิดรับสมัครเฉพาะทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น จึงอาจส่งผลกระทบต่อนักเรียนหรือผู้สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบข้อมูลสารสนเทศ (ICT) ได้ทั่วถึง ดังนั้นคณะอนุกรรมการสื่อสารสาธารณะเพื่อสิทธิมนุษยชน จึงเห็นควรจัดการสัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจต่อสาธารณชน รวมทั้งระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนของสังคมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสอบแข่งขันในระบบ Admission ได้เข้าใจสภาพปัญหาที่เกิด จากการรับสมัครสอบทางอินเทอร์เน็ตเพียงอย่างเดียว ว่าอาจมีผลกระทบต่อผู้สมัครจำนวนมากที่ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบข้อมูลสารสนเทศ (ICT) ของรัฐอย่างทั่วถึง เพื่อหาทางออกที่เหมาะสมและให้เกิดความเป็นธรรมกับบุคคลดังกล่าว รวมทั้งเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะเป็นการทำความเข้าใจที่ถูกต้องและสร้างการเรียนรู้ให้แก่ประชาชนในสังคมไทย ๒. วัตถุประสงค์ ๒.๑ เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้และยกระดับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องสิทธิทางการศึกษา โดยเฉพาะการรับสมัครสอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในปัจจุบันซึ่งนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สมัคร แต่ขณะเดียวกันอาจส่งผลกระทบต่อบุคคลที่ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้เช่นกัน ๒.๒ เพื่อเป็นเวทีให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและสะท้อนแนวคิดเพื่อให้เกิดการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ๒.๓ เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์องค์กร ๓. กลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๑๕๐ คน ประกอบด้วย ๓.๑ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ๓.๒ ประชาชนที่สนใจ ๓.๓ นักวิชาการสถาบันการศึกษา / นักวิชาการอิสระ ๓.๔ เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ ๓.๕ เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคม ๓.๖ สื่อมวลชน ๓.๗ อนุกรรมการฯ ๓.๘ เจ้าหน้าที่สำนักงานฯ ๔. ระยะเวลาดำเนินงาน วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องเสวนา ชั้น ๖ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ๕. ผู้รับผิดชอบโครงการ - คณะอนุกรรมการสื่อสารสาธารณะเพื่อสิทธิมนุษยชน - สำนักส่งเสริมและประสานงานเครือข่าย ๖. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๖.๑ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสอบสอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ในระบบ Admission เข้าใจและตระหนักในเรื่องสิทธิมนุษยชนและนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้เพื่อหาทางออกที่เหมาะสมในการกำหนดรูปแบบการรับสมัครสอบแข่งขันที่เอื้อประโยชน์และเป็นธรรมกับผู้สมัครทุกฝ่าย ๖.๒ ประชาชนเห็นความสำคัญและสนใจติดตามการสัมมนา ซึ่งจะก่อให้เกิดการยกระดับการรับรู้และจิตสำนึกในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ๖.๓ ประชาชนได้มีโอกาสสะท้อนมุมมอง ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสามารถประมวลข้อคิดเห็นที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานต่อไป ๖.๔ สาธารณชนให้ความเชื่อถือและการยอมรับต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ๖.๕ สื่อมวลชนให้ความสนใจและนำผลการสัมมนาไปเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งจะทำให้เกิดความตระหนักและการขับเคลื่อนงานด้านสิทธิมนุษยชนในสังคมอย่างกว้างขวางต่อไป ๖.๖ เป็นการเผยแพร่กิจกรรมและสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้เป็นที่รู้จักของสังคม กำหนดการ เวลา ๑๒.๓๐ – ๑๓.๓๐ นาฬิกา - ลงทะเบียนการสัมมนา เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๓.๔๕ นาฬิกา - กล่าวเปิดและแจ้งวัตถุประสงค์การสัมมนา โดย นายแท้จริง ศิริพานิช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประธานอนุกรรมการสื่อสารสาธารณะเพื่อสิทธิมนุษยชน เวลา ๑๓.๔๕ – ๑๖.๓๐ นาฬิกา - อภิปรายเรื่อง “ รับสมัครเฉพาะทางเน็ต : ละเมิดสิทธิจริงหรือ? ” โดย ๑. เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ๒. นายอำนวย สุนทรโชติ ประธานชมรมค่านิยมเพื่อสร้างชาติ ๓. รศ. นพ. สรนิต ศิลธรรม รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล ๔. นางสาวศรัญญา จันนามวงค์ ตัวแทนนักเรียน ดำเนินรายการโดย นายธีรพันธ์ นาทีกาญจนลาภ อนุกรรมการสื่อสารสาธารณะเพื่อสิทธิมนุษยชน เวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา - กล่าวปิดการสัมมนา โดย นายแท้จริง ศิริพานิช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประธานอนุกรรมการสื่อสารสาธารณะเพื่อสิทธิมนุษยชน หมายเหตุ - ถ่ายทอดสดทางเครือข่ายวิทยุชุมชนและวิทยุอินเทอร์เน็ต ๒๐ สถานีทั่วประเทศ - บริการอาหารว่างและเครื่องดื่มในห้องประชุม

ข่าวสถาบันอุดมศึกษา+ทางการศึกษาวันนี้

"จากโอกาสสู่ประสบการณ์จริงที่มีคุณค่า" นักศึกษาในกองทุน PIM SMART ฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่น เติมเต็มความสำเร็จในอนาคต

ยุคที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว สังคมต้องการผู้ที่สามารถปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ การบริหารจัดการ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ แต่สิ่งจะได้มาซึ่งความรู้ ความสามารถ ทักษะเหล่านั้นจะต้องผ่านการเรียนรู้ สะสมประสบการณ์เพื่อนำไปพัฒนาตนเองให้เป็นคนคุณภาพ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) ในฐานะสถาบันอุดมศึกษา มีหัวใจหลักคือ จัดการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพ สนับสนุนโอกาสทางการศึกษาเพื่อเยาวชน ให้ความสำคัญกับรูปแบบ Work-based Education การเรียนรู้ควบคู่กับการฝึกปฏิบัติงาน ส่งเสริมให้ผู้

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มห... จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับโดย THE Asia University Rankings 2025 — จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย และ Top 200 ของ...

รศ.วิเชษฐ ทิพย์ประเสริฐ รักษาราชการแทน อธ... มทร.ล้านนา ปรับ 8 หลักสูตร รองรับนักศึกษาต่างชาติ รับมือเด็กเกิดน้อย — รศ.วิเชษฐ ทิพย์ประเสริฐ รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (...

รองศาสตราจารย์ ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการ... ม.หอการค้าไทย ร่วมลงนามความร่วมมือกับ สถาบันอุดมศึกษาตามแนวทาง CWIE+EEC Model Type A — รองศาสตราจารย์ ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ...

ม.พะเยา รับรางวัลสถาบันอุดมศึกษาที่ส่งเสร... ม.พะเยา รับรางวัลสถาบันอุดมศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาอาจารย์ต้นแบบ — ม.พะเยา รับรางวัลสถาบันอุดมศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาอาจารย์ต้นแบบ และอาจารย์ ม.พะเยา รับ...

นายอัคค์สัจจา ดวงสุภาสิญจ์ รองอธิการบดีฝ่... "มทร.ล้านนา" ดูแลสุขภาพกาย-ใจ นศ. เน้นจัดสวัสดิการ สมุดความดี กิจกรรม No-S No-L — นายอัคค์สัจจา ดวงสุภาสิญจ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัม...