โครงการสร้างภาพลักษณ์ไหมไทยสู่สากล ประกาศผลรางวัลคัดสรรสุดยอดผ้าไหมมัดหมี่ และประกวดออกแบบลายผ้าไหมไทยร่วมสมัย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--19 พ.ค.--124 คอมมิวนิเคชั่นส คอนซัลติ้ง

กรมทรัพย์สินทางปัญญา และกรมหม่อนไหมประกาศผลรางวัลคัดสรรสุดยอดผ้าไหม ผู้ชนะเลิศจากสุรินทร์ เจ้าของผลงานทอผ้าสมปักปูม ได้รับโล่รางวัลพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมเงินรางวัล 30,000 บาท นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเปิดเผยว่ากรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้บูรณาการความร่วมมือกับกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการจัดทำโครงการสร้างภาพลักษณ์ไหมไทยสู่สากล ซึ่งเป็นโครงการย่อยภายใต้โครงการสร้างภาพลักษณ์ใหม่สินค้าไทยสู่สากล มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไหมไทยในภูมิภาคต่างๆ ถึงสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาวะตลาดสินค้าไหมไทยทั้งในประเทศและตลาดโลก และเจตนารมย์ของกระทรวงพาณิชย์ที่ต้องการให้ผผู้ประกอบการไทยประสานองค์ความรู้พื้นบ้าน ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ประกอบกับฝีมือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงรูปลักษณ์และการใช้ประโยชน์ของผ้าไหมไทย เพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณค่าของไหมไทยให้สูงขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างเอกลักษณ์และความต้องการจากหลายส่วนของทั้งในตลาดภายในประเทศและในต่างประเทศ โดยมีกิจกรรมการประกวดที่สำคัญได้แก่ การคัดสรรสุดยอดผ้าไหมมัดหมี่ และ การประกวดออกแบบลายผ้าไหมไทยร่วมสมัย “การคัดสรรสุดยอดผ้าไหมมัดหมี่มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นวงการอุตสาหกรรมไหมไทยให้เกิดการพัฒนาคุณภาพ และรูปแบบ ตลอดจนยกระดับสินค้าผ้าไหมไทยให้ได้รับความนิยมในระดับสากล ทั้งยังช่วยอนุรักษ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และรวบรวมองค์ความรู้ด้านผ้าไหมไทยเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษา ค้นคว้า นอกจากนี้ยังเป็นการสนองพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในการอนุรักษ์การทอผ้ามัดหมี่ในประเทศไทย ทั้งนี้สุดยอดผ้าไหมมัดหมี่ต้องเป็นผ้าไหมมัดหมี่ที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้คือ มีความสวยงาม มีเอกลักษณ์ความเป็นไทย และความคิดสร้างสรรค์” นางปัจฉิมากล่าว “กิจกรรมคัดสรรสุดยอดผ้าไหมมัดหมี่นั้นมีชาวบ้านส่งผ้าไหมมัดหมี่เข้าคัดสรรจำนวน 452 ผืน โดยเป็นผ้าจากจังหวัดเชียงใหม่ 5 ผืน, จังหวัดสกลนคร จำนวน 69 ผืน, จังหวัดอุดรธานี จำนวน 39 ผืน, จังหวัด ขอนแก่น จำนวน 83 ผืน, จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 30 ผืน, จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 29 ผืน, จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 16 ผืน, จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 36 ผืน, จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 64 ผืน, จังหวัดอุบลราชธานีจำนวน 32 ผืน จังหวัดสุรินทร์จำนวน 7 ผืน และจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 42 ผืน ซึ่งคณะกรรมการคัดสรรล้วนแต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในวงการผ้าไหมไทย” ได้แก่ นายประทีป มีศิลป์ รองอธิบดีกรมหม่อนไหม, สมพงษ์ ทิมแจ่มใส ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เจ้าของผลงานลวดลายและสีสันบนผ้าทอพื้นเมือง,อาจารย์แบน แสงโสม, อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ, อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย นักออกแบบผ้าไหม แกนนำกลุ่มทอผ้ายกทองจันทร์โสมา หมู่บ้านท่าสว่าง จังหวัดสุรินทร์ (หมู่บ้านทอผ้าเอเปก) และนายมีชัย แต้สุจริยา แห่ง “บ้านคำปุน” ศิลปินดีเด่นจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. ๒๕๔๔ ผู้คิดค้นและออกแบบผ้าลายกาบบัว ผ้าเอกลักษณ์จังหวัดอุบลราชธานี และมีดร.จรัลธาดา กรรณสูต ที่ปรึกษาสำนักราชเลขาธิการ และดิฉัน เป็นที่ปรึกษาโครงการ ทั้งนี้ผ้าไหมมัดหมี่ ๑๐๐ ผืนแรกที่ได้รับคัดเลือกจะนำไปจัดทำเป็นหนังสือภาพประกอบคำบรรยายจำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม“ นางปัจฉิมากล่าว นางปัจฉิมากล่าวต่อไปว่า “ถือเป็นเกียรติยศอันยิ่งใหญ่แก่กรมทรัพย์สินทางปัญญา และกรมหม่อนไหม ด้วยสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานโล่รางวัลให้กับผู้ชนะเลิศซึ่งผู้ชนะเลิศสุดยอดผ้าไหมมัดหมี่ คือคุณสุรโชติ ตามเจริญ จากจังหวัดสุรินทร์ เจ้าของผลงาน “ผ้าสมปักปูม” ซึ่งนอกจากจะได้รับโล่พระราชทานแล้วยังได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร” นางปัจฉิมากล่าวเพิ่มเติมว่านอกจากผู้ชนะเลิศแล้ว มีรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รองชนะเลิศอันดับ 2 และรางวัลชมเชยอีก 5 รางวัล จะได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท, 10,000 และ 5,000 บาทตามลำดับพร้อมโล่รางวัล และประกาศนียบัตร โดยรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางประนอม ทองประศาสน์ จากจังหวัดขอนแก่น ทอผ้าลายประตูไม้แกะสลัก รองชนะเลิศอันดับ 2 นางจำนง อินทร์สระคู จากจังหวัดร้อยเอ็ด ด้วยผ้าไหมมัดหมี่ลายขนมปัง และรางวัลชมเชย 5 รางวัลได้แก่ นางจรัสศรี วรานุเคราะห์ จากจังหวัดขอนแก่น เจ้าของผลงานผ้าไหมมัดหมี่ลายแห่เทียนเข้าพรรษา นางกองแพง จ้อยจีด จังหวัดสกลนคร จากผ้ามัดหมี่ลายกุ้งทะเล นางประนอม ทองประศาสน์ จังหวัดขอนแก่น ด้วยผลงานผ้ามัดหมี่ ลายขอแมงป่อง นางทองสุข จันทะวงษ์ จากจังหวัดขอนแก่น ผลงานมัดหมี่ลายกงเจ็ดสาย และนางสาววิไลวรรณ รุ่งเป้า จังหวัดบุรีรัมย์ จากผลงาน ขอนาคราช ส่วนการประกวดออกแบบลายผ้า หรือ Textile Designers เป็นการประกวดออกแบบลายผ้า ลายประยุกต์ หรือลายร่วมสมัย โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์มุ่งสร้าง และพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นิสิต นักศึกษาไทยในการรังสรรค์การออกแบบลายผ้า ซึ่งการออกแบบลายผ้ามีการประกวดเป็นสามรูปแบบ ได้แก่ การออกแบบลายผ้าประเภทผ้าทอ และผ้าพิมพ์สำหรับแฟชั่น และการออกแบบลายผ้าทอสำหรับอุตสาหกรรมตกแต่ง และเฟอร์นิเจอร์ ทั้งนี้คณะกรรมการสำหรับการประกวดออกแบบลายผ้า ล้วนแต่เป็นผู้มีชื่อเสียงในวงการแฟชั่น และสิ่งทอ ทั้งสิ้น ได้แก่ นายทินนาถ นิสาลักษณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ บริษัท จิม ทอมป์สัน จำกัด , จักกาย ศิริบุตร ศิลปินสิ่งทอ, ชัย เจียมกิตติกุลนักออกแบบเสื้อผ้าแบรนด์ Headquarter, ศศิวรรณ ดำรงศิริ นักออกแบบลายผ้าร่วมสมัย ชบา บาติก , ระพี ลีละสิริ นักออกแบบดีเด่นปี 2551 และ ดร.น้ำฝน ไล่ศัตรูไกล โดยมีเงินรางวัลแบ่งออกเป็นรางวัลชนะเลิศเงินรางวัลประเภทละ 30,000 บาท, รางวัล รองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทละ 20,000 บาท, รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ประเภทละ 10,000 บาท และรางวัลชมเชยประเภทละสองรางวัลๆละ 5,000 บาท ทั้งนี้ผู้ได้รับรางวัลประเภทผ้าพิมพ์สำหรับเครื่องแต่งกาย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวเปมิกา ติสภานุรัตน์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นางสาวสิริแสง ศรีเลิศรับสุข และ รองชนะเลิศอันดับ 3 นางสาววัลลิกา งามละเมียด และรางวัลชมเชย 4 รางวัล ได้แก่ นางสาว ชญตา ทรงเสี่ยงชัย นางสาว ธนพรรณ พุทธานุภาพ นางสาว ณัชชา พุกสุริยวงษ์ และ นางสาวธัญชนก เกียรติกำพล ผ้าทอสำหรับเครื่องแต่งกายไม่มีผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ และรองชนะเลิศ มีแต่รางวัลชมเชยสองรางวัล คือ นายพงษ์ธร ชินท่งจู และนางสาวกรรณิกา เพชรวิเศษ รางวัลประเภทผ้าทอสำหรับงานเคหะ และตกแต่งภายใน รางวัลที่ 1 ได้แก่ นายธรรมชาติ โชคแสน รางวัลที่ 2 นางสาวสิริแสง ศรีเลิศสุข และรางวัลที่ 3 นายชลิตรัฐ สุรฤทธิพงศ์ อนึ่ง โครงการสร้างภาพลักษณ์ไหมไทยสู่สากลเป็นหนึ่งในโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ซึ่งเป็นแผนงานพัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ที่รัฐบาลได้ประกาศพันธสัญญา 12 ข้อ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายและกำหนดเป้าหมายให้การขับเคลื่อนพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในภูมิภาคอาเซียน และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์จากร้อยละ 12 ของผลผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาขาติ (GDP) เป็นร้อยละ 20 ภายในปี 2555 รายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ อินทิรา ใจอ่อนน้อม Email: [email protected] บริษัท 124 คอมมิวนิเคชั่นส คอนซัลติ้ง จำกัด โทร. 02-718-1886

ข่าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์+กรมทรัพย์สินทางปัญญาวันนี้

รอง พด. สุรชาติ ร่วมคณะรมช.เกษตรฯ ลงพื้นที่ จ.สกลนคร มอบนโยบาย พบปะเกษตรกร และรับฟังปัญหาด้านการเกษตรในพื้นที่ พร้อมมอบปัจจัยการผลิตด้านการเกษตร

นายสุรชาติ มาลาศรี รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินด้านปฏิบัติการ พร้อมด้วย นายบุญช่วย ช่วยระดม ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 นายสมาน ก้อนศรีษะ ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินสกลนคร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมคณะ นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดสกลนคร เพื่อมอบนโยบาย พบปะเกษตรกร และรับฟังปัญหาด้านการเกษตรในพื้นที่ พร้อมมอบปัจจัยการผลิตด้านการเกษตร ตลอดจนเยี่ยมชมนิทรรศการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมี นายประยูร อินสกุล

นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่ง... เกษตรฯ จัดพิธีบวงสรวงคันไถ เตรียมในพระราชพิธีพืชมงคลฯ ปี 2568 — นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระน...

นางกาญจนา แดงรุ่งโรจน์ รองเลขาธิการสำนักง... รองฯ กาญจนา ร่วมเปิดงานมหกรรม จากพันธุกรรม สู่ความยั่งยืน — นางกาญจนา แดงรุ่งโรจน์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมเปิด...

นายวิโมกษ์ พรหมทอง เกษตรอำเภอเขาย้อย มอบห... ร่วมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 — นายวิโมกษ์ พรหมทอง เกษตรอำเภอเขาย้อย มอบหมายให้นางสาวจันทิมา...

"กลุ่มเหล็กสหวิริยา" (SSI-TCRSS-TCS-WCE-B... เหล็กสหวิริยาพัฒนาประมงบางสะพานยั่งยืน ผนึกกำลังเครือข่ายประมง-ทิ้งซั้งบอกรักทะเล — "กลุ่มเหล็กสหวิริยา" (SSI-TCRSS-TCS-WCE-BSBM-PPC) เครือข่ายชาวประมงบาง...