สถาบันอาหารแห่งชาติปากีสถาน จับมือ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ลงนาม MOU ด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--31 พ.ค.--อินทิเกรเต็ด โปรโมชัน เทคโนโลยี

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้การต้อนรับและทำพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไฟซาลลาบัด ประเทศปากีสถาน (The National Institute of Food Science and Technology, University of Agriculture, Faisalabad, Pakistan – NIFSAT, UAF) ณ ห้องประชุม 203 อาคารจามจุรี 4 สำนักงานอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล, ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศ.ดร. อิคราร์ อาห์หมัด ข่าน, อธิการบดี UAF พร้อม ศ.ดร.ฟากี มูฮัมหมัด อันจัม, ผู้อำนวยการ NIFSAT, UAF ปากีสถาน ลงนามข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาความร่วมมือด้านวิชาการ การผลิตและพัฒนาบุคลากร และผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลต่อไป ปากีสถานเป็นประเทศมุสลิมขนาดใหญ่ มีศักยภาพทางด้านอุตสาหกรรมเกษตรสูง ประสงค์ที่จะเป็นหนึ่งในผู้นำของประเทศที่ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลที่สำคัญของโลก รวมถึงการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลไปยังกลุ่มประเทศมุสลิมตะวันออกกลาง ผนวกกับรัฐบาลปากีสถานได้เห็นถึงตัวอย่างความสำเร็จของประเทศไทย ในการนำวิทยาศาสตร์ฮาลาลเป็นจุดขายเพื่อการทำตลาดส่งออกสินค้าอาหารฮาลาล โดยเน้นการผลิตอาหารฮาลาลที่มีคุณภาพและปลอดภัยเป็นสำคัญ รวมถึง งานด้านการพัฒนาระบบ HAL-Q ซึ่งเป็นระบบการบริหารเพื่อการจัดเตรียมอาหารฮาลาลปลอดภัยของศูนย์ฯ ที่เพิ่งได้รับรางวัลชนะเลิศในการนำเสนอผลงานวิจัยในงาน World Halal Research Summit 2011 ณ ประเทศมาเลเซีย ด้วยเหตุนี้ ทางสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารแห่งชาติปากีสถานจึงประสงค์จะทำความร่วมมือกับศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์และความสำเร็จของประเทศไทย รองศาสตราจารย์ ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศในฐานะเป็นศูนย์ด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลแห่งแรกของโลก พร้อมให้ความช่วยเหลือและร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ฮาลาลแก่มหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ ในหลายประเทศทั่วโลก เช่นเดียวกับการลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไฟซาลลาบัด ประเทศปากีสถาน ในครั้งนี้ เป็นการให้ความร่วมมือระหว่างกันทางด้านการถ่ายทอดประสบการณ์และเทคโนโลยีทางด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล การแลกเปลี่ยนนักศึกษาและอาจารย์ การส่งนักวิทยาศาสตร์มาฝึกอบรมในประเทศไทย การพัฒนางานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาลร่วมกัน รวมถึงการร่วมมือกับคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ทางด้านการผลิตบัณฑิตสาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร เพื่อก่อเกิดประโยชน์สูงสุดแก่คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาในการพัฒนาผลงานด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลในอนาคตต่อๆ ไป” “นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้รับประโยชน์จากการลงนามข้อตกลงครั้งนี้ในด้านความเชื่อมั่นของรัฐบาลและผู้บริโภคปากีสถานต่อผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลจากประเทศไทย โดยปากีสถานแม้ต้องการก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางอาหารฮาลาล แต่ยังคงเป็นตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลของประเทศไทยที่มีอนาคตดี มีประชากรมาก การบริโภคสูง มีแนวโน้มที่จะตอบรับผลิตภัณฑ์อาหารในระดับคุณภาพมากขึ้น ซึ่งการขอเข้ามาเรียนรู้เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ฮาลาลจากประเทศไทย แสดงให้เห็นว่าปากีสถานยอมรับการเป็นผู้นำในสาขานี้ของประเทศไทย อันเป็นการนำเสนอภาพลักษณ์ที่ดีของผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลจากประเทศไทยตามสโลแกน ‘Halal Science Thailand Signature’ สู่โลกมุสลิมในทางอ้อม ซึ่งในปัจจุบัน มูลค่าตลาดอาหารฮาลาลระหว่างประเทศมีขนาดใหญ่ถึง 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จึงเป็นตลาดทางเลือกที่มีอนาคตของประเทศไทย รวมถึงรัฐบาลไทยให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ฮาลาลให้ได้มาตรฐาน เพื่อเตรียมความพร้อมการขยายตลาดและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าฮาลาลในตลาดโลก ซึ่งปัจจุบันไทยมีส่วนแบ่งในการส่งออกอาหารฮาลาลเป็นอันดับที่ 6 ของโลก หรือคิดเป็นมูลค่าเกือบ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากผู้บริโภคอาหารฮาลาลทั่วโลก 1,800 ล้านคนทั่วโลก ใน 157 ประเทศ” รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน กล่าวเสริม ข้อมูลเพิ่มเติม: การก่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลแห่งแรกของไทยและของโลก วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2546 คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณจัดตั้ง "ห้องปฏิบัติการกลางและศูนย์กลางข้อมูลวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาอาหารฮาลาล" หรือ The Central Laboratory and Scientific Information Center for Halal Food Development (Halal-CELSIC) ขึ้นที่คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นแม่ข่ายงานวิทยาศาสตร์ฮาลาล ของประเทศ เนื่องจากภารกิจของหน่วยงานดังกล่าวขยายออกไปครอบคลุมหลายหลายสาขาวิชา ครอบคลุมกิจกรรมในหลายประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงแยกหน่วยงานดังกล่าวออกจากคณะสหเวชศาสตร์และยกระดับขึ้นเป็น "ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล" (The Halal Science Center-เรียกย่อว่า HSC) ภายใต้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศว่าเป็นหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาลแห่งแรกที่เกิดขึ้นในโลก สร้างเกียรติภูมิแก่ประเทศในหลายประการ รับรางวัลระดับนานาชาติมากมาย สรรสร้างวิทยาศาสตร์ฮาลาลเสมือนทูตสันถวไมตรีของไทยในสังคมนานาชาติ ช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ประเทศต่างๆ ในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ฮาลาล ที่ปัจจุบันกลายเป็นส่วนสำคัญในหลายประเทศ สอบถามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ คุณสุวรรณา (นา) ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ c/o บริษัท อินทิเกรเต็ด โปรโมชัน เทคโนโลยี จำกัด โทร. 02-158-1312-5 โทรสาร 02-158-1319 สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์วันนี้

วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาหัวข้อเรื่อง "The China-Thailand Forum on Innovation and Development in Environmental Science and Engineering" จัดโดย กลุ่มบริการอุตสาหกรรม วว. ร่วมกับ Kunming University of Science and Technology National Science Park.,Ltd. (ประเทศจีน) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ภายใต้การดำเนิน

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว. ต้อนรับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในโอกาสเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน วทน. — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโ...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด "ใบเตย" เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โด...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว." — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. จัดอบรมฟรี ! เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจ...