เซลเลสทิสตอบโต้กรณีองค์การอนามัยโลกแนะนำวิธีการตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยวัณโรคชนิดแสดงอาการ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

เมลเบิร์น, ออสเตรเลีย--25 ก.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์ – เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์


การตรวจเลือดยังจำเป็นต่อการตรวจหาเชื้อโรคที่ไม่แสดงอาการ คำแนะนำจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ไม่สามารถใช้ได้กับชุดทดสอบ QuantiFERON-TB Gold (QFT) สำหรับการตรวจหาวัณโรคที่ไม่แสดงอาการ

คำแนะนำเกี่ยวกับนโยบายใหม่ที่เผยแพร่โดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมได้เตือนถึงการใช้วิธีตรวจทางซีรั่มวิทยา หรือการตรวจเลือดเพื่อตรวจวินิจฉัยวัณโรค (TB) ชนิดแสดงอาการ โดยการตรวจทางซีรั่มวิทยาเป็นการวัดระดับสารแอนติบอดี้ของวัณโรคในน้ำเหลืองของเลือดและมีความแตกต่างจากใช้ QuantiFERON ซึ่งเป็นการตรวจวัดอัตราการตอบสนองของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีต่อโปรตีนเฉพาะกลุ่มของเชื้อวัณโรค

เชื้อวัณโรคเกิดขึ้นเมื่อสารอินทรีย์ในเชื้อวัณโรคทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและมีการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้เกิดอาการทางคลินิก รายงานจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ในทุกๆ 17 วินาที ทั่วโลกจะมีผู้เป็นวัณโรค 1 ราย (1) ผู้ที่เป็นวัณโรคชนิดแสดงอาการมักแพร่เชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรควัณโรคต่อผู้อื่น ผู้ที่ติดเชื้อแบคทีเรียวัณโรคแต่ไม่แสดงอาการหรือไม่มีอาการป่วยด้วยโรคนี้ถูกเรียกว่า เป็นผู้ติดเชื้อวัณโรคแต่ไม่แสดงอาการ (LTBI)(2) โดยผู้ป่วยวัณโรคประเภทนี้มีความเสี่ยงที่โรคจะพัฒนาไปเป็นวัณโรคที่แสดงอาการ โดยเฉพาะในรายที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเริ่มอ่อนแอ (2)

QuantiFERON(R)-TB Gold หรือ QFT ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยเหลือในการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อวัณโรคทั้งชนิดที่แสดงอาการและไม่แสดงอาการ และไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างอาการทั้งสองชนิดนี้ บริษัท เซลเลสทิส จำกัด (Cellestis Limited) ผู้ผลิตชุดทดสอบ QFT เริ่มตระหนักว่า รายงานของสื่อบางฉบับสร้างความสับสนเกี่ยวกับแถลงการณ์ขององค์การอนามัยโลก ข่าวประชาสัมพันธ์จากองค์การอนามัยโลกระบุไว้อย่างชัดเจนถึงการตรวจทางซีรั่มวิทยา (การตรวจวัดระดับสารแอนติบอดี้) สำหรับวัณโรคที่แสดงอาการ และความคิดเห็นขององค์การอนามัยโลกไม่สามารถใช้ได้กับรายงานการทดสอบ Interferon-Gamma Release Assays (IGRAs) สำหรับการวินิจฉัยวัณโรคชนิดที่ไม่แสดงอาการ ข้อมูลนี้ได้รับการยืนยันจากจดหมายโดยตรงจากองค์การอนามัยโลกที่ส่งถึงเซลเลสทิส

“QuantiFERON-TB ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์การทดสอบรุ่นก่อนหน้านี้ที่องค์การอนามัยโลกกล่าวถึง เราเห็นด้วยอย่างยิ่งกับข้อคิดเห็นขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับการตรวจทางซีรั่มวิทยาสำหรับวัณโรคที่แสดงอาการ” ดร.จิม โรเธล (Dr Jim Rothel) ประธานเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ของเซลเลสทิสกล่าว “มีความจำเป็นที่จะต้องตระหนักว่า วัณโรคยังคงเป็นหนึ่งในเชื้อโรคที่เป็นอันตรายแก่ชีวิตมากที่สุดในโลก เราเชื่อมั่นว่าชุดทดสอบ QFT สามารถลดภาระด้านการดูแลสุขภาพในอนาคตของโรควัณโรคได้ และช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับวัณโรค ตลอดจนลดความเสี่ยงจากการระบาดของโรคดังกล่าว”

ชุดทดสอบ QFT ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากหน่วยงานสาธารณสุขและการควบคุมโรคติดเชื้อและเป็นอุปกรณ์ที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพทางคลินิก นอกจากนี้ อุปกรณ์การรักษาวัณโรคยังเป็นที่ยอมรับมาเป็นเวลาหลายปีในรายงานการศึกษากว่า 600 ฉบับที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ชื่อดังทั่วโลก (3,4,5,6)

เกี่ยวกับ QuantiFERON(R)-TB Gold (QFT)

ชุดทดสอบ QuantiFERON(R)-TB Gold (QFT) เป็นชุดตรวจเลือดที่ระบุถึงการติดเชื้อไมโคแบคทีเรี่ยม ทูเบอร์คูโลสีส (Mycobacterium tuberculosis) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดวัณโรค (TB) ได้อย่างแม่นยำ ในขณะที่ทางเลือกสมัยใหม่ในการทดสอบวัณโรคบนผิวหนัง (Tuberculin Skin Test: TST) หรือที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่าแมนทู (Mantoux) นั้นมีการใช้งานกันมา 110 ปี แต่ชุดทดสอบ QFT ให้ข้อมูลจำเพาะที่เหนือกว่า มีการตอบสนองสูงและใช้งานง่าย QFT สามารถทำให้แพทย์สามารถทำการรักษาวัณโรคได้อย่างตรงจุดด้วยข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ เชื่อถือได้ ด้วยเครื่องมือตรวจวินิจฉัยวัณโรคที่ใช้งานได้สะดวก QFT สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยโดยไม่ได้รับผลกระทบจากการให้วัคซีน BCG ในก่อนหน้านี้รวมถึงเชื้อไมโคแบคทีเรียตัวอื่นๆ โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจรักษาเป็นรายคนเท่านั้นและต้องดำเนินการทดสอบในห้องปฏิบัติการที่อยู่ภายใต้การควบคุม ซึ่งให้ผลตามความเป็นจริง และตรวจสอบได้หลายครั้งโดยไม่ได้รับผลกระทบจากการตีความโดยอิงความเห็นส่วนตัว ซึ่งแตกต่างจากวิธี TST

QFT ใช้สำหรับขั้นตอนการรักษาทางคลินิกซึ่งโดยทั่วไปมักใช้วิธี TST ในการหาเชื้อโรค ตัวอย่างการตรวจหาเชื้อโรคประกอบด้วยการตรวจหาช่องทางการติดต่อ การทดสอบลูกจ้างประจำ เช่น พนักงานดูแลสุขภาพ รวมถึงโครงการคัดกรองนักโทษและคนเข้าเมือง การใช้ชุดทดสอบ QFT ในการตรวจหาผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแออยู่ก่อนแล้วไปจนถึงการรักษาด้วยรังสีอัลฟาที่ต่อต้านสาร TNF และในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี (HIV) มะเร็ง หรือปลูกถ่ายอวัยวะนั้นสามารถตรวจวินิจฉัยได้ดีกว่ามากเมื่อเทียบกับวิธี TST

QFT มีวางจำหน่ายโดยตรงในสหรัฐโดยบริษัท เซลเลสทิส อิงค์ และจำหน่ายผ่านบริษัท เควสท์ ไดแอกนอสติกส์ อิงค์ (Quest Diagnostics, Inc.) บริษัทแลบคอร์ป (LabCorp) และห้องปฏิบัติการเชิงพาณิชย์อื่นๆ ในยุโรป QFT วางจำหน่ายโดยเซลเลสทิส จีเอ็มบีเอช เยอรมนี (Cellestis GmbH (Germany)) ส่วนในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์นั้นวางจำหน่ายโดยเซลเลสทิส อินเตอร์เนชั่นแนล พีทีวาย จำกัด (ออสเตรเลีย) (Cellestis International Pty. Ltd. (Australia)) นอกจากนี้ QFT ยังมีวางจำหน่ายผ่านทางเซลเลสติส คอมเมอร์เชียล พาร์ทเนอร์ส (Cellestis Commercial Partners) ในญี่ปุ่น ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา อเมริกาใต้ และเอเชีย

เกี่ยวกับบริษัท เซลเลสทิส จำกัด

เซลเลสทิส จำกัด เป็นบริษัทจดทะเบียนสัญชาติออสเตรเลียที่ดำเนินธุรกิจด้านเทคโนโลยีชีวภาพซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2543 ที่นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย โดยบริษัทดำเนินการพัฒนาและผลิตชุดทดสอบ QuantiFERON-TB Gold (QFT) ซึ่งเป็นชุดตรวจเลือดที่มีการพัฒนาขึ้นสำหรับใช้ในการตรวจหาและควบคุมวัณโรค เทคโนโลยี QuantiFERON เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการจดสิทธิบัตรสำหรับใช้ตรวจหาการตอบสนองระบบภูมิคุ้มกันแบบ cell mediated immune (CMI) ของเชื้อ T-cell lymphocytes ในตัวอย่างเลือดทั้งหมด ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับวิธีการที่ใช้อยู่เดิมของการตรวจวัด CMI นั้น เทคโนโลยีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะนี้ให้ข้อมูลที่แม่นยำและเที่ยงตรงซึ่งช่วยประหยัดเวลาการผ่าตัด แรงงานคน และตัวยาต่างๆ ทั้งนี้ เซลเลสทิส พัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยที่ตรวจวัดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเชื้อโรคสำหรับโรคที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์โดยใช้เทคโนโลยี QuantiFERON ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร

เซลเลสทิสภูมิใจที่ได้แสวงหาโอกาสในการเสริมสร้างความพยายามในระดับโลกเพื่อยับยั้งการระบาดของวัณโรค เซลเลสทิสเป็นพันธมิตรในภาคอุตสาหกรรมของ FIND (มูลนิธิด้านการวินิจฉัยโรคใหม่ที่ทันสมัย) และ Stop-TB Partnership

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาเข้าชมที่ http://www.cellestis.com และ http://www.TackleTB.com

เอกสารอ้างอิง

(1) World Health Organization. Tuberculosis. World Health Organization, 2011.

Available at: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs104/en/.

(2) Centers for Disease Control and Prevention. The Difference Between Latent

TB Infection and Active TB Disease. Centers for Disease Control and Prevention,
2011. Available at:
http://www.cdc.gov/tb/publications/factsheets/general/LTBIandActiveTB.htm .

(3) Diel R, Loddenkemper R, Niemann S, Meywald-Walter K, Nienhaus A. "Negative

and positive predictive value of a whole-blood IGRA for developing active TB --
an update." Am J Respir Crit Care Med (2008).

(4) Diel et al. "Evidence-based comparison of commercial interferon-gamma

release assays for detective active TB: a metaanalysis." Chest (2010) 137: 952
-- 968.

(5) Anderson P, Munk ME, Pollock JM, Doherty TM. "Specific immune-based

diagnosis of TB." Lancet (2000) 356: 1099 -- 1104.

(6) Higuchi K, Harada N, Mori T, Sekiya Y. "Use of QuantiFERON(R)-TB Gold to

investigate tuberculosis contacts in a high school." Respirology (2007) 12: 88
-- 92.

แหล่งข่าว: บริษัท เซลเลสทิส จำกัด

ติดต่อ: เอมี โลแซก (Amy Losak) จาก Ketchum Public Relations

โทรศัพท์ +1-646-935-3917

อีเมล [email protected]

AsiaNet 45648

-- เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --


ข่าวองค์การอนามัยโลกแนะนำ+องค์การอนามัยโลกวันนี้

งานวิจัยเผยว่าไม่มีที่ไหนบนโลกปลอดภัยจากมลภาวะ แล้วเราทำอะไรได้บ้าง? Ian Brough ผู้เชี่ยวชาญจาก Dyson เผยข้อมูลพร้อมแนวทางการป้องกันตัวเองจากมลภาวะทางอากาศ

จากงานวิจัยล่าสุดของมหาวิทยาลัย Monash ประเทศออสเตรเลียได้เผยว่า แทบไม่มีพื้นที่ที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศเหลืออยู่บนโลกนี้แล้ว โดยจากการศึกษาและวิจัยข้อมูลที่ได้จากสถานีตรวจสอบสถาพอากาศและดาวเทียม เผยว่ามีพื้นที่บนบกเพียง 0.18% หรือนับเป็นประชากรร้อยละ 0.001% เท่านั้นที่ได้รับมลพิษทางอากาศต่ำกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ จึงสามารถพูดโดยรวมได้ว่าทุกคนบนโลกกำลังได้รับผลจากมลพิษทางอากาศ ไม่ว่าคนคนนั้นจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ในประเทศไทย สถานการณ์มลภาวะทางอากาศที่เราคุ้นชินที่สุดคงหนี

องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้ทุกวันที่ ... GSK ร่วมรณรงค์ "สัปดาห์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโลก 2025" ชูการป้องกันโรคสำหรับทุกวัย — องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้ทุกวันที่ 24-30 เมษายนของทุกปีถือเป็...

องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า วัณโรค (... การต่อสู้กับวัณโรค: ทำไมการป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ — องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า วัณโรค (TB) อาจกลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักจากการติดเชื้อทั่วโลก...

นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระท... สธ. จับมือภาคีหนุนส่งนมแม่ฟรี ดันเป้าเด็กแรกเกิดกินนมแม่ 6 เดือนแรก มากกว่าร้อยละ 50 — นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในโอกาสเ...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย นมแม่มีสาร... นมแม่มีประโยชน์ กรมอนามัย แนะ ทารก ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย นมแม่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ แนะ ทารกกินน...

ม.มหิดล วิจัยไขปัญหาเด็กไม่กินผัก ได้รับความสนใจจากสื่อออสเตรเลียขยายผลไปทั่วโลก

รศ. พญ. ชุติมา ศิริกุลชยานนท์ ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า องค์การอนามัยโลกแนะนำให้บริโภคผักและผลไม้อย่างน้อยวันละ ๔๐๐ กรัม หรือ ๔ ขีด แต่จากรายงานการสำรวจภาวะอาหารบริโภคและ...

“คนอร์ ซุปก้อน” ชวนกินซุปผักเพื่อเด็กไทยสุขภาพแข็งแรง จัดเรียลลิตี้โชว์“ตะลุยครัว เพื่อตัวเล็ก” บุกก้นครัว 3 บ้านคนดัง

คนอร์ ซุปก้อนโดยยูนิลีเวอร์ชวนเด็กไทยรับประทานซุปผักเพิ่มวันละ 2 ชาม ช่วยเพิ่มปริมาณผักที่ควรได้รับในแต่ละวันให้ได้ตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ ส่งแคมเปญใหม่ช่วยพ่อ...