บ.ลัดดา จก.จัดสัมมนา“เพิ่มผลผลิตกล้วยไม้ไทย...ด้วยไฮโดรไลซ์ กรดอะมิโน “

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--28 ก.ค.--เบรนเอเซีย คอมมิวนิเคชั่น

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้วางยุทธศาสตร์และตั้งเป้าหมายจะพัฒนาการค้ากล้วยไม้ของไทย ปี 2559 ไว้ถึง 1 หมื่นล้านบาท โดยปัจจุบัน ประเทศไทยมีการปรับปรุงสายพันธุ์กล้วยไม้ขึ้นมาเองและได้รับการยอมรับจากตลาดกล้วยไม้ทั่วโลกทำให้ไทยมีการส่งออกกล้วยไม้ปริมาณมากที่สุดในโลกปีละ กว่า 25,000 ตัน แสดงให้เห็นถึงความสามารถและศักยภาพของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกล้วยไม้คนไทยได้เป็นอย่างดี ดร.สุจินต์ จันทรสอาด( Dr.Sujin Chantarasa-ard )ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ รับเชิญมาเป็นวิทยากรพิเศษ กล่าวว่า ตลาด กล้วยไม้วันนี้มีการแข่งขันเข้มข้นขึ้นทุกขณะ ลูกค้าเองก็ต้องการคุณภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งขนาดดอกใหญ่ ก้านที่ยาวแข็งแรง และอายุดอกกล้วยไม้ที่ยาว นานขึ้น ไม่เหี่ยวเฉาง่าย การเลี้ยงกล้วยไม้ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จกันได้ทุกคน เพราะการเลี้ยงกล้วยไม้ให้มีคุณภาพดีนั้นมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผล ต่อคุณภาพของดอกกล้วยไม้และการส่งออก บ.ลัดดา จำกัด ในเครือลัดดา กรุ๊ป ผู้ผลิตและจำหน่าย ไฮโดรไลซ์ กรดอะมิโนที่สกัดจากโปรตีนพืขด้วยขบวนการใช้ เอนไซม์ ได้จัดสัมมนาวิชาการและเผยผลงานทดสอบในแปลงกล้วยไม้ หัวข้อ การเพิ่มผลผลิตกล้วยไม้ไทย ด้วยสารอะมิโน แอซิด สำหรับบำรุงพืช โดยมีเกษตรกร และเจ้าของฟาร์มกล้วยไม้มาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง ดร.สุจินต์ จันทรสอาดได้ให้ข้อมูลความรู้เทคโนโลยีเกษตรที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ไฮโดรไลซ์ กรดอะมิโน(Amino Acids) กับการเกษตร กรดอะมิโน เป็นองค์ประกอบของโปรตีน ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ โดยธรรมชาติ พืชสามารถสร้างสารอะมิโนแอซิ ดขึ้นได้เอง ด้วยการใช้แร่ธาตุต่างๆที่ได้จากดิน จากน้ำ และที่มีอยู่ในอากาศ แต่ก็มักจะมีข้อจำกัดตามธรรมชาติที่พืชไม่สามารถสร้างกรดอะมิโน เพื่อ นำไปสร้างโปรตีน ได้ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ทำให้บางสถานะพืชขาดโปรตีน จนทำให้พืชไม่สมบูรณ์หรืออกดอกออกผลได้ไม่มาก หรือผลผลิต ไม่สมบูรณ์ไม่มีคุณภาพ ดังนั้น ด้วยความรู้ที่มีของนักวิทยาศาสตร์ทางการเกษตร จึงได้มีการนำเอา กรดอะมิโน สำเร็จรูปมาใช้ในการเกษตรเพื่อให้พืชนำ ไปใช้ประโยชน์ได้เลย ไม่ต้องผ่านขบวนการทางชีวเคมีที่พืชสร้างขึ้นเองตามธรรมชาติ เสมือหนหนึ่งเป็นอาหารเสริมบำรุงพืช (Plant Growth Promoter) เพื่อช่วยกระตุ้นให้กล้วยไม้มีการเจริญเติบโตที่ดี ช่วยเพิ่มผลผลิตและช่วยเพิ่มคุณภาพของผลผลิต มีก้านยาว ดอกใหญ่ สีสันสวยสดใส ตรงกับความต้องการ ของตลาด และยังช่วยให้กล้วยไม้มีภูมิต้านทานต่อความเครียด อันเกิดจากสภาวะอากาศที่ไม่เหมาะสม เช่น ร้อนเกินไป ฝนตกมากเกินไป หรือหนาวเกินไป กล่าว โดยสรุป กรดอะมิโน มีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ดังต่อไปนี้ ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีนให้กับต้นพืช ช่วยลดความเครียดของต้นพืชที่เกิดจากสภาวะที่ไม่เหมาะสม เช่น อากาศร้อน น้ำมากเกินไป ขาดน้ำ ความหนาวเย็น ช่วยในการสังเคราะห์แสงของต้นพืช ช่วยในการบังคับการ ปิด-เปิด ปากใบของพืช เพื่อลดการสูญเสียน้ำในต้นพืช ช่วยกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนพืช เช่น อ๊อกซิน (auxins) เอทิลีน (ethylene) ช่วยส่งเสริมการผสมละอองเกสรและการติดผล ช่วยทำให้ผนังเซลล์ของเนื่อเยื่อพืชแข็งแรง ทำให้ผลไม้มีคุณภาพและสุกตามอายุ ในทางการค้า ได้มีผู้ทำการผลิตสารอะมิโน แอซิด เพื่อใช้ในการเกษตร ในชื่อการค้าต่างๆกัน สินค้าที่มาจากแหล่งต่างๆ จึงอาจมีความแตกต่าง กันในเชิงคุณภาพของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปและประสิทธิภาพในการใช้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาใช้และขบวนการผลิตของผู้ผลิตแต่ละราย ในแวดวง วิชาการเห็นว่ากรดอะมิโนที่มีประสิทธิภาพสูงได้จากขบวนการผลิต แบบใช้เอนไซม์ (Enzymatic hydrolysis) ซึ่งในทางเคมี ถือว่าวิธีการนี้จะยังคง คุณสมบัติของกรดอะมิโนตามธรรมชาติได้ดีกว่าวิธีการอื่นๆ ผลการทดสอบสารอะมิโน แอซิด กับ ประสิทธิภาพในกล้วยไม้ ผลการทดลองประสิทธิภาพของ กรดอะมิโน ในกล้วยไม้สกลุหวายโดยใช้ฉีดพ่นทางใบในอัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร พบว่า เมื่อฉีดพ่นไฮโดรไลซ์ทุกๆ 7 วัน จำนวน 8 ครั้งติดต่อกัน ช่วยเพิ่มจำนวนช่อดอกกล้วยไม้จากก่อนฉีดพ่นได้ถึง 102 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 21-21-21 ที่ให้ดอกกล้วยไม้เพิ่มเพียง 46.8 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าไฮโดรไลซ์มีประสิทธิภาพช่วยให้กล้วยไม้ออกดอกได้มากขึ้นและดีกว่าปุ๋ยทางใบสูตร 21-21-21 ที่เกษตรกรใช้อยู่เป็นประจำอย่างเห็นได้ชัด กรรมวิธี อัตราการใช้ต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวนช่อ/ดอกแปลง % ที่เพิ่มขึ้น ก่อนใช้ หลังใช้ อะมิโน ไฮโดรไลซ์ 20 ซีซี 126.5 255.5 102.0 สารเปรียบเทียบ 1 5 ซีซี 129.5 247.5 91.1 สารเปรียบเทียบ 2 20 ซีซี 133.5 259.5 94.4 ปุ๋ยทางใบสูตร 21-21-21 50 กรัม 162.5 238.5 46.8 ผลิตภัณฑ์ กรดอะมิโน ที่ได้จากสารเคมีอินทรีย์จากธรรมชาติ (Natural Organic Chemical) จะมีความปลอดภัยต่อการบริโภค และได้รับการจัดให้ อยู่ในบัญชีรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในเกษตรอินทรีย์ (IFOAM Indicative List of Substances for Organic Production and Processing) ในการประชุมสัมมนา ครั้งนี้ นอกจากการนำเสนอ การเพิ่มผลิตและเพิ่มคุณภาพกล้วยไม้ ด้วย กรดอะมิโนแล้ว ทางบริษัท ลัดดา จำกัด ยังได้นำ เสนอ เรื่องการดูแลรักษาต้นกล้วยไม้ เพื่อให้ปลอดโรคที่เกิดจากเชื้อรา ด้วยสารเคมีคลอโรทาโลนิล (CHLOROTHANIL ) ซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมในการ ป้องกันกำจัด โรคใบปื้นเหลืองในกล้วยไม้ ซึ่งเป็นปัญหามากกับต้นกล้วยไม้ โดยเฉพาะในช่วง อากาศเย็นตอนปลายฝน ต่อต้นฤดูหนาว ดังนั้นเกษตรกรต้อง ระวังรักษากล้วยไม้ ไม่ให้เกิดโรคนี้ เพราะจะทำให้ต้นกล้วยไม้ทรุดโทรมผลผลิตลดลง ผลการทดสอบของ บริษัท ลัดดา จำกัด ยืนยันว่า สารคลอโรทาโลนิล ให้ ผลในการป้องกำจัดโรคใบปื้นเหลือง ได้ดีกว่าสารแคปแทน สารคาร์เบดาซิม ซึ่งเป็นสารเคมีที่เกษตรกรใช้อยู่เป็นประจำ นอกจากโรคใบปื้นเปลืองแล้ว สารคลอ โรทาโลนิล ยังสารมารถป้องกันกำจัดเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคกล้วยไม้อื่นๆ ด้วย ดร.สุจินต์ จันทรสอาด บ.ลัดดา จำกัด กล่าวว่า ปัญหาที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาการเกษตรไทย คือ ทำอย่างไร จึงจะสามารถเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน เพื่อเพิ่มประสิทธิผล (Productivity) การเพิ่มผลผลิต จะทำได้ต้องใช้ปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมี สารอาหารเสริม การลดต้นทุน สามารถทำได้ ถ้า เกษตรกรรู้จักใช้ปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การใช้อย่างมีประสิทธิภาพ หมายความว่า ประการแรก รู้จักเลือกชนิดของ สารเคมีได้เหมาะสม, ประการที่สอง รู้จักวิธีใช้ที่ถูกต้อง ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค ,ประการที่สาม รู้จักใช้ในระยะเวลาที่เหมาะสม ทั้งหมดนี้ จะช่วยให้เกษตรกรประหยัดการใช้สารเคมีและมีประสิทธิภาพสูงสุด การประชุมสัมมนาวิชาการที่ บริษัท ลัดดา จำกัด ได้ดำเนินการอยู่เป็นประจำนี้ นับเป็นการถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกร ซึ่งแตกต่างจากการ ประชุมทั่วๆไปในวงการธุรกิจเกษตรเคมี ด้วยบริษัท ลัดดา มีนโยบายเน้นการให้ความรู้เทคโนโลยี การผลิต การอารักขาพืชแก่เกษตรกร ก่อนการจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ ด้วยข้อมูลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เมื่อเกษตรกรมีความรู้ ก็จะนำมาสู่การพัฒนาความก้าวหน้าของการเกษตรและธุรกิจที่ยั่งยืน ได้ประโยชน์ ทั้งผู้ซื้อ ผู้จำหน่ายและประชาชน ผู้บริโภค www.ladda.com PR AGENCY : บ.เบรนเอเซีย คอมมิวนิเคชั่น จำกัด Tel. 02-911-3282 (5 Auto Lines) Fax 02-911-3208 Email: [email protected] สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์+สุจินต์ จันทรสอาดวันนี้

รอง พด. สุรชาติ ร่วมคณะรมช.เกษตรฯ ลงพื้นที่ จ.สกลนคร มอบนโยบาย พบปะเกษตรกร และรับฟังปัญหาด้านการเกษตรในพื้นที่ พร้อมมอบปัจจัยการผลิตด้านการเกษตร

นายสุรชาติ มาลาศรี รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินด้านปฏิบัติการ พร้อมด้วย นายบุญช่วย ช่วยระดม ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 นายสมาน ก้อนศรีษะ ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินสกลนคร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมคณะ นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดสกลนคร เพื่อมอบนโยบาย พบปะเกษตรกร และรับฟังปัญหาด้านการเกษตรในพื้นที่ พร้อมมอบปัจจัยการผลิตด้านการเกษตร ตลอดจนเยี่ยมชมนิทรรศการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมี นายประยูร อินสกุล

นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่ง... เกษตรฯ จัดพิธีบวงสรวงคันไถ เตรียมในพระราชพิธีพืชมงคลฯ ปี 2568 — นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระน...

นางกาญจนา แดงรุ่งโรจน์ รองเลขาธิการสำนักง... รองฯ กาญจนา ร่วมเปิดงานมหกรรม จากพันธุกรรม สู่ความยั่งยืน — นางกาญจนา แดงรุ่งโรจน์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมเปิด...

นายวิโมกษ์ พรหมทอง เกษตรอำเภอเขาย้อย มอบห... ร่วมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 — นายวิโมกษ์ พรหมทอง เกษตรอำเภอเขาย้อย มอบหมายให้นางสาวจันทิมา...

"กลุ่มเหล็กสหวิริยา" (SSI-TCRSS-TCS-WCE-B... เหล็กสหวิริยาพัฒนาประมงบางสะพานยั่งยืน ผนึกกำลังเครือข่ายประมง-ทิ้งซั้งบอกรักทะเล — "กลุ่มเหล็กสหวิริยา" (SSI-TCRSS-TCS-WCE-BSBM-PPC) เครือข่ายชาวประมงบาง...