เภสัชกรออกโรงเตือน! พ่อแม่ควรรู้วิธีใช้ยาลดไข้ ดูแลลูกน้อยใกล้ชิด ป้องกันโรคชัก พร้อมรักษาไอคิว

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--22 ก.ค.--คอมมูนิเคชั่น แอนด์ มอร์

เภสัชกรออกโรงเตือน!! พ่อแม่ควรรู้วิธีใช้ยาลดไข้ ดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด และควรระวังเมื่อลูกมีไข้สูงอย่านิ่งนอนใจ ส่งผลให้เกิดโรคชักและลดไอคิวได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝนตก ควรกระตุ้นให้พ่อแม่ใส่ใจและเตรียมพร้อมในการรับมือดูแลลูกเมื่อมีไข้ พร้อมเผย ยาลดไข้ประโยชน์สูง ช่วยป้องกันชักและรักษาไอคิวได้ ภญ.รศ.ดร.บุษบา จินดาวิจักษณ์ อุปนายกสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ปัจจุบันสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย จึงเป็นสาเหตุทำให้เด็กเล็กเกิดเจ็บป่วย ไม่สบายได้ง่ายๆ เป็นไข้มีอาการตัวร้อน เมื่อใช้ปรอทวัดอุณหภูมิร่างกายจะมีค่าสูงกว่าปกติ หากวัดทางรักแร้ได้สูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส จะถือว่ามีไข้ซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อโรคเช่น หวัด ท้องเสียจากการติดเชื้อ เป็นต้น ไม่ควรจะปล่อยให้เด็กมีไข้สูงติดต่อกันนาน เพราะอาจส่งผลให้ชักได้ เนื่องจากสมองของเด็กไวต่อการกระตุ้นจากไข้ โดยมากอาการชักพบมากในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือน – 5 ปี และส่วนใหญ่จะเกิดการชักเมื่อมีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส พบว่าเมื่อเด็กๆ เกิดอาการชักครั้งหนึ่งแล้ว ส่วนใหญ่จะมีโอกาสชักครั้งต่อไปได้อีกถ้ามีไข้สูง โดยพบได้ประมาณ 20-40 % ในเด็กเล็กที่เคยชัก ซึ่งหากเด็กมีอาการชักเกร็ง 1-2 นาที จะไม่อันตรายร้ายแรงและไม่มีผลต่อสติปัญญา แต่หากเด็กชักนานเกิน 15 นาที ชักบ่อยๆ หรือหลังจากที่ชักแล้วเด็กมีอาการซึม แขนขาอ่อนแรง หรือชักในขณะไม่มีไข้ ถือเป็นสัญญาณอันตราย อาจเกิดความเสียหายต่อสมอง ทำให้เด็กมีไอคิวต่ำ หรือทำให้สมองเสื่อม หรือปัญญาอ่อนได้ ดังนั้นเมื่อเด็กมีไข้ผู้ปกครองควรช่วยลดไข้เด็กเป็นอันดับแรกก่อนพาไปพบแพทย์ โดยวิธีที่ง่ายที่สุด คือ การเช็ดตัวเด็ก โดยทั่วไปใช้น้ำจากก๊อกก็พอ ไม่ต้องใช้น้ำเย็นหรือน้ำอุ่น แต่หากเด็กเกิดอาการหนาวสะท้านหลังการเช็ดตัว ควรหาเสื้อผ้าหนาๆ ให้ใส่ด้วย นอกจากนี้การใช้ยาลดไข้ก็เป็นตัวช่วยที่ดีและมีประโยชน์อย่างมาก แต่จะต้องใช้ให้เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิผลของยา ซึ่งยาลดไข้ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ พาราเซตามอล แอสไพรินและไอบูโพรเฟน 1.พาราเซตามอล เป็นตัวเลือกแรกที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้ มีทั้งชนิดเม็ด ชนิดน้ำ และชนิดฉีด ชนิดเม็ดมี 2 ขนาด ขนาดเม็ดละ 325 และ 500 มิลลิกรัม ชนิดน้ำส่วนใหญ่เป็นยาน้ำเชื่อมมีปริมาณพราราเซตามอล 120 มิลลิกรัม ต่อ 1 ช้อนชา หรือ 160 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา หรือ 250 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา โดยที่ 1 ช้อนชา เท่ากับ 5 ซีซี นอกจากนี้ยังมียาน้ำเชื่อมที่มีปริมาณพราราเซตามอล 500 มิลลิกรัม/ 5 ซีซี อีกด้วย โดยจะมีหลอดหยดยาแนบมาในกล่อง ยานี้ใช้สำหรับเด็กเล็กที่กินยายากและสามารถกินได้ครั้งละไม่มาก การป้อนยาจะต้องใช้หลอดหยดยาเสมอ ห้ามใช้ช้อนตวงยาเด็ดขาด การตวงยานี้ก็ทำเหมือนปกติคือดูดยาตามปริมาตรที่แพทย์สั่ง เช่น ดูดยาขึ้นมาหนึ่งหลอดหยด แล้วนำไปหยอดใส่ปากเด็ก สำหรับขนาดยาพาราเซตามอลจะให้ตามขนาดน้ำหนักตัวเด็ก กล่าวคือ หากเด็กทารกหนัก 10 กิโลกรัม ก็หยอดยาน้ำเชื่อมที่มีปริมาณพราราเซตามอล 500 มิลลิกรัม ต่อ 5 ซีซี ใส่ปาก 1 – 1.5 ซีซี ทุก 4-6 ชั่วโมง เวลามีไข้ ขนาดยาสูงสุดไม่เกินวันละ 5 ครั้ง ด้วยเหตุที่ยาน้ำพาราเซตามอลเป็นยาน้ำเชื่อม จึงมีรสหวาน น่ากิน แต่กลับเป็นอันตรายหากไม่เก็บยาให้พ้นมือเด็ก กล่าวคือ เด็กอาจเข้าใจผิดว่าเป็นน้ำหวาน และหยิบมากิน อาจกินจนหมดขวดในคราวเดียวและทำให้ได้รับยาในปริมาณสูงมากจนเป็นอันตราย 2.แอสไพริน เป็นยาเม็ด มีขนาดเม็ดละ 60 มิลลิกรัม ขนาดยาจะแปรไปตามอายุของเด็ก กล่าวคือ เด็กอายุ 1 ปีให้ครั้งละ 1 เม็ด ทุก 8 ชั่วโมง และให้ได้สูงสุดไม่เกินครั้งละ 5 เม็ด แต่การใช้ยาแอสไพรินมีข้อห้ามใช้ในเด็กหรือคนไข้ที่อายุต่ำกว่า 16 ปีที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก ตลอดจนเด็กที่เป็น ไข้หวัดใหญ่ โรคอีสุกอีใส เพราะอาจเกิดความผิดปกติรุนแรงของสมองและตับ โดยเป็นโรคที่เรียกว่า ไรย์ซินโดรม (Reye’s syndrome) 3.ไอบูโพรเฟน เป็นยาเม็ด มี 4 ขนาด ขนาดเม็ดละ 200, 400, 600, และ 800 มิลลิกรัม สำหรับชนิดน้ำทำเป็นยาน้ำเชื่อม ขนาด 100 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา ขนาดยาปกติจะต้องให้ตามน้ำหนักตัว กล่าวคือ ถ้าเด็กหนัก 20 กิโลกรัม ก็กินยาน้ำเชื่อม 1 - 2 ช้อนชาทุก 8 ชั่วโมง ขนาดยาเพิ่มได้อีกแต่ห้ามเกิน 40 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ข้อระวังในการใช้ยาชนิดนี้ ไม่ควรให้ยาไอบูโพรเฟนตอนท้องว่าง เพราะยาระคายกระเพาะอาหาร และไม่ควรหยอดยาลงในนม เพราะยาอาจทำให้รสชาติของนมเปลี่ยนไป และเด็กอาจไม่ยอมกินนม ไม่ให้ใช้ยานี้ในเด็กที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากยาจะทำให้มีภาวะเลือดออกรุนแรงขึ้น และไม่ใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน ดังนั้น... เมื่อเด็กมีไข้สูงพ่อแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิด รู้จักใช้ยาลดไข้ให้ประโยชน์ ใช้ให้ถูกขนาด ถูกวิธี เพื่อให้ปลอดภัยในการใช้ยาควรปรึกษาเภสัชกร พร้อมกันนี้ควรเช็ดตัวเด็กควบคู่ไปด้วย หากไข้ไม่ลดควรรีบพาไปพบแพทย์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมฝ่ายประชาสัมพันธ์ 0-2718-3800 ต่อ 132/136

ข่าวบุษบา จินดาวิจักษณ์+สมาคมเภสัชกรรมวันนี้

สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาลฯ แนะใส่ใจ 4 ข้อการใช้ยาง่ายๆ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย...

สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาลฯ แนะ!คนไทยหันมาใส่ใจวิธีการใช้ยาอย่างถูกต้องเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของยา โดยเฉพาะยาพื้นฐาน อาทิ ยาหม่อง ยาแก้ไอ และยาคุมกำเนิด เป็นต้น ซึ่งมักจะใช้บ่อยๆ แต่กลับใช้แบบผิดๆ ด้วยเหตุนี้ สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) จึงอยากรณรงค์ให้คนไทยใช้ยาอย่างถูกต้อง และเหมาะสมเพื่อสุขภาพที่ดี ภญ.รศ.ดร.บุษบา จินดาวิจักษณ์ อุปนายกสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า โดยปกติคนไทยเป็นคนที่มีนิสัยง่ายสบายๆ อยู่แล้ว เมื่อจำเป็นต้องใช้ยาสามัญประจำบ้านที่คุ้นเคย

ยาคุมฉุกเฉิน “ป้องกันการตั้งครรภ์ แต่ไม่ได้ป้องกันเอดส์” สมาคมเภสัชฯเตือนหากใช้พร่ำเพรื่อ มีอันตรายกว่าที่คิด

สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) เป็นห่วงวัยรุ่นไทย นิยมกินยาคุมฉุกเฉินแบบพร่ำเพรื่อ ชี้หากนำมาใช้ผิดๆ อันตรายกว่าที่คิด เพราะยาคุมฉุกเฉินแค่ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ ไม่ได้มีฤทธิ์ป้องกัน...

สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาลฯ จัดอบรมเสริมทักษะเภสัชกรสาขาโรคมะเร็ง

สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาลฯ เตือนผู้ป่วยมะเร็งอย่ากลัวผลข้างเคียงเคมีบำบัดเกินเหตุ จนไม่กล้ารักษาและปล่อยให้มะเร็งลุกลาม ชี้วงการแพทย์ยุคใหม่มีการคิดค้นสูตรยามะเร็งใหม่ๆช่วยแก้ไขปัญหาผลข้างเคียงรุนแรงจากเคมีบำบัด แนะผู้ป่วยปรึกษาแพทย์และ...

ภาพข่าว: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาลฯ จัดประชุมคณะกรรมการบริหาร

ภก.วิพิน กาญจนการุณ (นั่งที่ 2 จากซ้าย) นายกสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) เป็นประธาน ในการประชุมคณะกรรมการบริหารและที่ปรึกษาสมาคมฯ เพื่อวางแผนงานการจัดกิจกรรมต่างๆ สำหรับสมาชิกให้เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของเภสัชกรโรงพยาบาลที่ดี...

ภาพข่าว: แสดงความยินดี นายกสภาเภสัชกรรมคนใหม่

ภก.วิพิน กาญจนการุณ นายกสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และกรรมการบริหารสมาคมฯ อาทิ ภญ.รศ.ดร.บุษบา จินดาวิจักษณ์ อุปนายก ภญ.ปรานี ภิญโญวัฒยากร เลขาธิการ และ ภญ.ทิพวรรณ จิตพิมลมาศ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ มอบดอกไม้แสดงความยินดีกับ ภญ.รศ.ธิดา นิงสานนท์ นายกสภา...

ภาพข่าว: แสดงความยินดี นายกสภาเภสัชกรรมคนใหม่

ภก.วิพิน กาญจนการุณ นายกสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และกรรมการบริหารสมาคมฯ อาทิ ภญ.รศ.ดร.บุษบา จินดาวิจักษณ์ อุปนายก ภญ.ปรานี ภิญโญวัฒยากร เลขาธิการ และ ภญ.ทิพวรรณ จิตพิมลมาศ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ มอบดอกไม้แสดงความยินดีกับ ภญ.รศ.ธิดา นิงสานนท์ นายกสภา...

ภาพข่าว: แบ็กซเตอร์ฯ สนับสนุนประชุมวิชาการเภสัชกรรมโรงพยาบาล

บริษัท แบ็กซ์เตอร์ เฮลธ์แคร์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมสนับสนุนการจัดงานประชุมวิชาการ ซึ่งคณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล และสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล ได้จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ๆ ของการให้สารอาหารไขมันในผู้ป่วยหนัก และแนะแนวทางแก้...

มร.ปีเตอร์ หวง ประธานกรรมการผู้จัดการบริษ... ภาพข่าว: มอบทุนสนับสนุนวิชาชีพเภสัชกร — มร.ปีเตอร์ หวง ประธานกรรมการผู้จัดการบริษัททาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด เป็นประธานมอบ ทุนทาเคดา ประจำปี 2559 แก่...