สมัชชาสุขภาพแห่งชาติเปิดตัว หนังสือ “เจาะแผนพัฒนาภาคใต้” เนื้อหาข้อมูลเข้มข้น เจาะลึกโครงการอุตสาหกรรม สัมปทานรัฐ ที่แฝงด้วยอำนาจกลุ่มทุน-กลุ่มการเมือง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--6 ก.พ.--สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

เจาะแผนพัฒนาภาคใต้ หนังสือคุณภาพคับแก้ว เนื้อหาข้อมูลเข้มข้นที่แลกมาด้วยความเสี่ยง เจาะลึกโครงการอุตสาหกรรม สัมปทานรัฐ ที่แฝงด้วยอำนาจกลุ่มทุน-กลุ่มการเมือง โดยสุพจ จริงจิตร และคณะ หนังสือดีที่มีเพียง 1,000 เล่ม สนับสนุนการตีพิมพ์จากสภาพัฒนาการเมือง “เครือข่ายสมัชชาสุขภาพภาคใต้” กางแผนพัฒนาภาคใต้ เจาะลึก แหล่งขุมทรัพย์ อำนาจทุน อำนาจรัฐ โยงใยผลประโยชน์ข้ามชาติ หวั่นอุตสาหกรรมหนักทำลายสิ่งแวดล้อม เผยรัฐเตรียมใช้แนวทางเศรษฐกิจนำการเมือง ลงทุนอุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็กที่ปัตตานี เชื่ออำนาจเงินสลายความขัดแย้งได้ ด้านนักวิชาการ แนะปลูกฝังสร้างความรู้สู่ชุมชน รู้เท่าทันภัยจากอุตสาหกรรมหนัก ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ในการประชุมสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 4 พ.ศ.2554 ได้จัดเสวนา พร้อมแนะนำหนังสือ “เจาะแผนพัฒนาภาคใต้” และอภิปรายถึงแผนการพัฒนา โดยมีนายสุพจ จริงจิตร นักวิจัยอิสระ นักหนังสือพิมพ์ ในฐานะบรรณาธิการหนังสือเล่มนี้ กล่าวว่า แผนพัฒนาภาคใต้ คนส่วนใหญ่หรือแม้แต่คนในพื้นที่ไม่เข้าใจรายละเอียดที่แท้จริง เนื่องจากภาครัฐไม่เคยเปิดเผยข้อมูลเบื้องลึก โดยเฉพาะแนวคิดที่จะพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ให้กลายเป็นฐานของอุตสาหกรรมหนัก อาทิ โครงการเซาท์เทิร์นซีบอร์ดที่มีแผนขยายจากมาบตาพุดมาสู่พื้นที่ภาคใต้ ด้วยเหตุเพราะพื้นที่ภาคใต้มีปัจจัยที่เหมาะสมในทุกด้าน ทั้งสภาพแวดล้อมที่เป็นพื้นที่ชายฝั่งทะเล การขนส่งสะดวก เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติ และค่าแรงไม่แพง “มีกระแสชัดว่าโครงการเซาส์เทิร์นซีบอร์ด จะพัฒนาลงสู่ภาคใต้ มีการล๊อบบี้เรื่องการสร้างท่อน้ำมันสตูล ที่เป็นเสมือนโครงการยึดพื้นที่จ.สตูลด้วยโครงการพันล้าน, โครงการสร้างท่าเรือน้ำลึก ที่ส่งผลกระทบสร้างความเดือดร้อนต่อชาวบ้านในพื้นที่ ทำลายสิ่งแวดล้อม และอีกโครงการที่น่ากลัวคือแนวคิดการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ได้รับการต่อต้านมาแล้วจากในพื้นที่ บ่อนอก-หินกรูด จ.ประจวบคีรีขันธ์ อ.หนองแซง จ.สระบุรี อาจจะมาโผล่ในพื้นที่ภาคใต้ได้ และน่าเป็นห่วงเพราะไม่ใช่เพียงกลุ่มทุนในไทย แต่โยงใยถึงกลุ่มผลประโยชน์ข้ามชาติ” นายสุพจ กล่าว ขณะที่ นางสาวเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง นักวิชาการ มูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวว่า ภาพรวมของแผนพัฒนาภาคใต้มีความละเอียดอ่อนเปราะบาง เพราะหลังจากประเทศไทยมีแนวคิดปรับเปลี่ยนจากประเทศเกษตรกรรมมาเป็นประเทศอุตสาหกรรม ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ธรรมชาติร่อยหรอลงเรื่อยๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ดังนั้น เมื่อรัฐมีแนวคิดพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้ จึงหวั่นเกรง “เมื่อเปิดดูโครงการรัฐบาล ไม่ว่าจะรัฐบาลไหนก็มีแนวคิดเดียวกัน คือ เน้นผลักดันอุตสาหกรรม ทำให้เกิดโครงการที่น่าเป็นห่วงมากมาย เช่น โครงการพัฒนาเหล็กต้นน้ำ ที่จะนำแร่เหล็กมาถลุงที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ และปัญหาตามมาคือเกิดอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และแม้กระทั่งพื้นที่ชายแดนภาคใต้ อย่าง จ.ปัตตานี ภาครัฐมีแนวคิดลงทุนในเรื่องนี้ และหวังแก้ปัญหาความไม่สงบด้วยการใช้เศรษฐกิจนำการเมือง โดยคิดว่าเมื่ออำนาจเงินเมื่อลงสู่พื้นที่จะสลายความไม่พอใจได้” ด้าน ผศ.ดร.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ กล่าวว่า ประเทศมีแผนที่จะลงทุนด้านอุตสาหกรรมมาก เช่น ภาคเหนือลงทุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุตสาหกรรมสกปรก ซึ่งทั้งหมดล้วนอยู่ภายใต้กลุ่มทุนหนุนการเมือง และการเมืองก็เป็นฝ่ายกำกับรัฐ ทำให้แนวทางการแก้ไขและพัฒนาจึงเดินหน้าไปได้ยาก ดังนั้น ทางแก้ไขคือสร้างความรู้สู่สาธารณะให้ชุมชนรู้เท่าทันภัยที่กำลังจะเกิดขึ้น. -กผ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ+สภาพัฒนาการเมืองวันนี้

"อนุทิน" ปลื้ม ! WHO ยกย่องเวที 'สมัชชาสุขภาพไทย' บันทึกเป็น 'ผลงานเด่น' เผยแพร่ทั่วโลก

"อนุทิน" เปิดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ย้ำบทเรียนความสำเร็จคุมโควิด-19 ของไทย เกิดจากบูรณาการทุกภาคส่วน ชี้สงครามโรคครั้งนี้ยังไม่ยุติ จำเป็นต้องเว้นระยะห่างทางสังคมต่อไป ด้านผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ชี้ กระบวนการสมัชชาสุขภาพไทย เป็นกลไกที่ทรงพลัง พร้อมบันทึกเป็น "ผลงานเด่น" ในคู่มือ WHO เผยแพร่ทั่วโลก เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และภาคีเครือข่าย ได้จัดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2563

เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๑๐ ปิดฉา... สู่ทศวรรษที่สอง 'สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ’ นโยบายสาธารณะเพื่อปฏิรูปสังคมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน — เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๑๐ ปิดฉากอย่างยิ่งใหญ่ ประกาศ...

พระสงฆ์ทั่วประเทศพร้อมขับเคลื่อนธรรมนูญสุ... รวมพลังเคลื่อน 'ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ’ วางเป้า ๑๐ ปี พระแข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชนเป็นสุข — พระสงฆ์ทั่วประเทศพร้อมขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งช...

เปิดฉาก 'สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ' ครั้งที่ ๑... เปิดฉาก 'สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ’ ครั้งที่ ๑๐ หาฉันทมติ ๔ ระเบียบวาระ — เปิดฉาก 'สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ' ครั้งที่ ๑๐ หาฉันทมติ ๔ ระเบียบวาระ 'เพิ่มกิจกรรมทางกา...

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ (ที่2จากซ้าย) หัวหน้... ภาพข่าว: สู่ทศวรรษใหม่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 10 — นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ (ที่2จากซ้าย) หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข ประธานกรรมการจัดสมัชชาสุ...

เครือข่ายลดบริโภคเค็มและองค์การอนามัยโลก จัดงาน “การประชุมพิจารณามาตรการการควบคุมโซเดียมในอาหาร”

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับ เครือข่ายลดบริโภคเค็มและองค์การอนามัยโลก ได้ร่วมมือกันในการผลักดันการลดการบริโภคโซเดียมตามความมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ในเรื่องการลดบริโภค...