สมัชชาสุขภาพแนะเสพข่าวภัยพิบัติด้วยสติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--7 ก.พ.--สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติกะเทาะบทเรียน ภาคประชาชนชี้ต้องมีสติในการดูข่าว ต้องเช็คข้อมูลให้รอบด้าน ขณะที่ “กิตติ”กระตุ้นสื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางช่วยเหลือชาวบ้านยามผจญภัยพิบัติ ด้าน กสทช. เตรียมจัดสรรคลื่นความถี่ทีวีภัยพิบัติ ติงสื่อดราม่าได้แต่ต้องมีคุณภาพ ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ภายในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 พ.ศ.2554 ได้จัดเสวนาในหัวข้อ “ข่าวภัยพิบัติ เสพอย่างไรไม่ให้ตื่นตูม” โดยนายกิตติ สิงหาปัด บรรณาธิการข่าวสามมิติ น.ส.วิลาวัลย์ บุญจันทร์ อาสาสมัครจากกลุ่มไทยฟลัด และ น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เข้าร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนาครั้งนี้ นายกิตติ กล่าวว่า เมื่อต้องติดตามข่าวภัยพิบัติ ผู้ชมหรือผู้ฟังต้องกระตือรือร้นในการหาความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติด้วยตนเอง เพราะหากมีข้อมูลหรือหาความรู้ด้วยตนเองก็จะไม่ตื่นกับข่าว เช่น หากนำเสนอข่าวหมอดูว่ามีการทำนายว่าจะเกิดแผ่นดินไหวในอีก 2- 3 วัน ซึ่งความจริง ตามหลักวิทยาศาสตร์ แผ่นดินไหวจะเกิดหรือไม่เกิดนั้น ไม่อาจทำนายได้ เพราะการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนเองก็อาจจะไม่เต็มร้อย ตนในฐานะสื่อมวลชนก็อาจจะไม่ได้เสนอข้อมูลอย่างสมบูรณ์ที่สุด แต่ตนก็พยายามนำเสนอข้อมูลอย่างรอบด้านที่สุด บรรณาธิการข่าวสามมิติกล่าวว่า การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในสถานการณ์ภัยพิบัตินั้นตนได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ 1.นำเสนอข้อมูลข่าวสารข้อเท็จจริง 2.นำเสนอข้อมูลประกอบเสริมเพื่อให้ประชาชนใช้การตัดสินใจในการป้องกันตนเองจากภัยพิบัติ 3.ผันตัวเองเป็นสื่อกลางในการระดมการบริจาคเพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน เนื่องจากสื่อโทรทัศน์จะมีพลังมหาศาลในการะดมของบริจาค “สิ่งที่เราจะรับผิดชอบและทำร่วมกันคือ การหาข้อมูลเพื่อเตรียมพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติและช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่” ด้านน.ส.วิลาวัลย์ กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับสถาณการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาคือ ข่าวสารที่ออกมานั้นมีจำนวนมากจนประชาชนไม่รู้จะเลือกเสพข่าวไหนหรือว่าจะเลือกเชื่อสื่อใด สิ่งสำคัญที่สุดคือ ประชาชนที่ประสบภัยพิบัติจะต้องใช้สติในการเสพสื่อ ไม่ตื่นตูม และจะต้องแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ต้องเชื่อตนเองและผลักดันให้คนที่มีหน้าที่ได้ทำหน้าที่ของเขา โดยเฉพาะคนเมืองต้องทลายกำแพง “ความเป็นคนเมือง” ของ และร่วมมือกับชุมชนหาแนวร่วมในการป้องกันตนเอง สร้างตนเองให้เข้มแข็ง เพราะเมื่อรัฐไม่ดูแลเรา เราก็จะต้องร่วมมือกันเพื่อดูแลตนเองให้ได้ “การเสพสื่อ เราก็ควรที่จะมีการตึกตรองอย่างหลายชั้น โดยเฉพาะปัจจุบันที่มีนิวส์มีเดียเกิดขึ้นมากมาย เราก็สามารถตรวจสอบได้อีกทาง” ขณะที่ น.ส.สุภิญญา กล่าวว่า เรากำลังเข้าสู่ยุคข้อมูลสารสนเทศเต็มรูปแบบ ซึ่งทำให้ข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นล้นเกินออกมาเป็นจำนวนมาก การเสพสื่อในรูปแบบสื่อทั่วไป หลายคนอาจจะวิพากษ์วิจารณ์ว่าดราม่า แต่สำหรับตนแล้ว เห็นว่า “ความเป็นดราม่า” ก็มีได้ตามธรรมชาติและวิธีการของสื่อนั้นๆ แต่สิ่งสำคัญต้องมีคุณภาพและต้องให้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงแก่ประชาชน “เราจะต้องสร้างจรรยาบรรณวิชาชีพ (code of conduct) ให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นบรรทัดฐานในการทำหน้าที่ของสื่อ และสิ่งสำคัญที่สุดอีกเรื่องคือ เราจะต้องติดอาวุธให้แก่ประชาชน ให้เขารู้เท่าทันสื่อที่เราเสพให้ได้ กสทช. เองก็เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ เราได้เตรียมการในการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในการรู้เท่าทันสื่อรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้ เรายังได้เตรียมการจัดสรรคลื่นความถี่ซึ่งอาจจะเป็นรูปแบบในลักษณะของช่องภัยพิบัติโดยเฉพาะ” -กผ-

ข่าวสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ+กิตติ สิงหาปัดวันนี้

"อนุทิน" ปลื้ม ! WHO ยกย่องเวที 'สมัชชาสุขภาพไทย' บันทึกเป็น 'ผลงานเด่น' เผยแพร่ทั่วโลก

"อนุทิน" เปิดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ย้ำบทเรียนความสำเร็จคุมโควิด-19 ของไทย เกิดจากบูรณาการทุกภาคส่วน ชี้สงครามโรคครั้งนี้ยังไม่ยุติ จำเป็นต้องเว้นระยะห่างทางสังคมต่อไป ด้านผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ชี้ กระบวนการสมัชชาสุขภาพไทย เป็นกลไกที่ทรงพลัง พร้อมบันทึกเป็น "ผลงานเด่น" ในคู่มือ WHO เผยแพร่ทั่วโลก เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และภาคีเครือข่าย ได้จัดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2563

เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๑๐ ปิดฉา... สู่ทศวรรษที่สอง 'สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ’ นโยบายสาธารณะเพื่อปฏิรูปสังคมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน — เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๑๐ ปิดฉากอย่างยิ่งใหญ่ ประกาศ...

พระสงฆ์ทั่วประเทศพร้อมขับเคลื่อนธรรมนูญสุ... รวมพลังเคลื่อน 'ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ’ วางเป้า ๑๐ ปี พระแข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชนเป็นสุข — พระสงฆ์ทั่วประเทศพร้อมขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งช...

เปิดฉาก 'สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ' ครั้งที่ ๑... เปิดฉาก 'สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ’ ครั้งที่ ๑๐ หาฉันทมติ ๔ ระเบียบวาระ — เปิดฉาก 'สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ' ครั้งที่ ๑๐ หาฉันทมติ ๔ ระเบียบวาระ 'เพิ่มกิจกรรมทางกา...

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ (ที่2จากซ้าย) หัวหน้... ภาพข่าว: สู่ทศวรรษใหม่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 10 — นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ (ที่2จากซ้าย) หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข ประธานกรรมการจัดสมัชชาสุ...

เครือข่ายลดบริโภคเค็มและองค์การอนามัยโลก จัดงาน “การประชุมพิจารณามาตรการการควบคุมโซเดียมในอาหาร”

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับ เครือข่ายลดบริโภคเค็มและองค์การอนามัยโลก ได้ร่วมมือกันในการผลักดันการลดการบริโภคโซเดียมตามความมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ในเรื่องการลดบริโภค...