นักวิจัย มรภ.สงขลา ใช้โปรแกรม GIS วางระบบฐานข้อมูลภูมิศาสตร์ ร.ร.

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--7 ก.พ.--มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา พัฒนาโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) รวบรวมข้อมูลสถานศึกษากว่า 1,000 แห่ง ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา แสดงผลในรูปข้อมูลเชิงพื้นที่ หวังกระตุ้นคนรุ่นใหม่ภาคภูมิใจในองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น นายศักดิ์ชาย คงนคร อาจารย์โปรแกรมวิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงงานวิจัยในโครงการจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สถานศึกษา ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ดำเนินการศึกษาวิจัยในโครงการจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สถานศึกษา ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ซึ่งมีพื้นที่ศึกษา 25 อำเภอ ใน 3 จังหวัด คือ สงขลา พัทลุง และ นครศรีธรรมราช ประกอบด้วยสถานศึกษามากกว่า 1,000 แห่ง นายศักดิ์ชาย กล่าวว่า ทั้งนี้ก็เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านต่าง ๆ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำทะเลสาบ มาจัดการปรับปรุงข้อมูล ดัดแปลง แก้ไข จัดการ และวิเคราะห์ ให้แสดงผลในรูปของข้อมูลเชิงพื้นที่ ที่สามารถอ้างอิงตำแหน่งได้ในทางภูมิศาสตร์ (ภาพแผนที่ แผนผัง) และจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดในระบบฐานข้อมูลที่สามารถศึกษาและใช้งานได้ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยมีเป้าหมายให้คนในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต ได้มีความรู้ ความตระหนัก มีจิตสำนึก และเกิดความภาคภูมิใจในองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นของตน สำหรับวิธีดำเนินโครงการ คือ กำหนดหัวข้อข้อมูลของสถานศึกษาที่ต้องการใช้ วางแผนการสำรวจและลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านต่างๆ ของสถานศึกษาตามหัวข้อที่กำหนด (เช่น ประวัติสถานศึกษา การก่อตั้งสถานศึกษา ทำเนียบผู้บริหารสถานศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษา ทิศทางของสถานศึกษา จำนวนบุคลากร สถิตินักเรียน) แล้วถ่ายภาพพร้อมเก็บค่าพิกัดในระบบพิกัดกริด (Grid Coordinate) ซึ่งเป็นระบบหาตำแหน่งที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ด้วยเครื่องระบุตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ (GPS) ของอาคาร สถานที่ และบริเวณโดยรอบในสถานศึกษา นำกลับมาตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล จัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูลสถานศึกษาตามที่ออกแบบไว้ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดร่วมกับสร้างแผนผังสถานศึกษาจากการแปลภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายดาวเทียม ร่วมกับข้อมูลค่าพิกัดที่ระบุที่ตั้งของอาคาร สถานที่ สิ่งก่อสร้างต่างๆ ด้วยโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) คือโปรแกรม ArcView 3.3 และ ArcGIS 9.3 ข้อมูลจากการศึกษาทั้งหมด นอกจากนำเสนอในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ยังนำเสนอทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบอินเตอร์เน็ต ผ่านเว็บไซต์ของโครงการ www.skru-slb.com โดยมีการนำเสนอ 2 แบบ คือ ไฟล์เอกสารที่สามารถโหลดไปใช้ได้ และแบบ GIS server หรือแผนที่ที่สามารถตอบคำถาม เลือกดูข้อมูลที่ต้องการได้ ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลได้ตลอดเวลา ซึ่งในเว็บไซต์ข้อมูลจะมีความทันสมัย และเป็นปัจจุบันมากกว่าในเอกสารสิ่งพิมพ์ เนื่องจากทางโครงการมีการปรับปรุงข้อมูลอยู่ตลอด -กผ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวันนี้

มทร.กรุงเทพ จับมือ เกียร์เฮด ผลิตบัณฑิตคุณภาพป้อนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย

รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)กรุงเทพ กล่าวว่า มทร.กรุงเทพ มุ่งมั่นผลิตบัณฑิตที่มีทักษะการปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมบันเทิง โดยความร่วมมือกับบริษัท เกียร์เฮด จำกัด เพื่อช่วยให้นักศึกษาในสาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้เรียนรู้เทคโนโลยีและกระบวนการผลิตภาพยนตร์อย่างครบวงจร ซึ่งจะส่งผลดีต่อคุณภาพบัณฑิตของมหาวิทยาลัย ด้าน ผศ.ดร.ครรชิต กำลังกล้า คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโน

รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลั... มทร.กรุงเทพ เปิด 3,280 ที่นั่งรับนักศึกษาปริญญาตรี ปี 68 — รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)กรุงเทพ เปิดเผยว่า ขณะนี้ มทร.ก...

รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิ... มทร.ธัญบุรี ลงนามภาคเอกชนพัฒนาศักยภาพนวัตกรรมดิจิทัล — รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ลงน...

ดร.มานะชัย? โต๊ะชูดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ... พิธีมอบเสื้อกาวน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีการศึกษา 256 — ดร.มานะชัย? โต๊ะชูดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคุณกรด โรจนเสถีย...

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอก... คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.หอการค้าไทย จัดพิธีประดับเข็มหลักสูตรสหวิทยาการ (ผู้ช่วยฟื้นฟู) — คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดกิจกรร...

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประ... วว.ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ อบรมเชิงปฏิบัติการ "การผลิตภาชนะรักษ์โลกจากเยื่อกล้วย" — สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับ คณะวิท...

อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร-คณะวิทยาศาสตร... มรภ.สงขลา เยือน "ม. UPNVJT" อินโดนีเซีย ร่วมสัมมนาด้านเทคโนโลยีอาหาร — อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร-คณะวิทยาศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา เยือน Universitas Pembangunan...