ประเทศไทย: การเปิดเสรีของภาคธนาคาร เพื่อประสานความสัมพันธ์อย่างยั่งยืน

23 Jan 2012

กรุงเทพฯ--23 ม.ค.--สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์

การรายงานประจำปี 2555 เพื่อพัฒนาศักยภาพการเติบโตของประเทศพร้อมทั้งควบคุมภาวะเงินเฟ้อ

คำบรรยายใต้ภาพ: มิส แอนเน่ ชลาเกล (ผู้อำนวยการฝ่ายต่างประเทศของโอบีจีประจำประเทศไทย), นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล (ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย), และมร.อเล็กซ์ กอร์ดี้ (ผู้จัดการกองบรรณาธิการ)

ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กล่าวว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้เปลี่ยนหลักการดำเนินงานจากปี 2554 ที่เน้นเรื่องการบริหารจัดการเงินเฟ้อ มาเน้นเรื่องการสนับสนุนการเติบโตในประเทศไทยแทน การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานจาก 1.25% เป็น 3.5% ในต้นปี 2554 ที่ผ่านมาถือเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการรักษาภาวะเงินเฟ้อให้คงที่ ในขณะที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมกัน อีกทั้งเนื่องจากแนวโน้มของเศรษฐกิจโลกที่ทรุดตัวลงและผลกระทบอย่างรุนแรงจากน้ำท่วม คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)จึงมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเป็น 3.25% ในเดือนพฤศจิกายน เพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการลงทุน

นายประสาร กล่าวกับบริษัทจัดพิมพ์รายงานการวิจัย และให้คำปรึกษาแก่นานาประเทศทั่วโลก อ๊อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป หรือ โอบีจี ว่าขณะที่การควบคุมอัตราเงินเฟ้อยังคงเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่นั้น ปัญหาทางการเงินของเศรษฐกิจโลกในบางประเทศ ก็จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่??การป้องกันการเจริญเติบโต

นายประสารกล่าว "จนกระทั้งเมื่อเร็วๆนี้เราได้เห็นว่าสินค้าภายในประเทศมีการปรับราคาสูงขึ้น" "อย่างไรก็ตามการพัฒนาในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 โดยเฉพาะในโซนยุโรปและสหรัฐอเมริกาแสดงถึงการชะลอในระบบเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรง อีกทั้งปัญหาน้ำท่วมก็ยังต้องการการกระตุ้นทางการเงิน ดังนั้นคณะกรรมการนโยบายการเงินได้จัดงบเพื่อช่วยการฟื้นฟูอีกด้วย”

พร้อมกล่าวเสริม "เราจะต้องกำหนดวิธีการว่าควรดำเนินการมากน้อยเพียงใดและจะมีผลกระทบอย่างไรต่ออัตราเงินเฟ้อ – ซึ่งนโยบายจะกำหนดออกประมาณช่วงปี 2555" การเติบโตของประเทศปี 2554 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้มากและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจยังคงมีแนวโน้มที่ต่ำอยู่เช่นกัน คณะกรรมการนโยบายการเงินจึงหันมาสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการลงทุน พร้อมพิจารณาเพิ่มปัจจัยช่วยเหลือชั่วคราวที่เกี่ยวปัญหาการขาดแคลนอาหาร ที่จะไม่ให้กิดความเสี่ยงหรือผลกระทบกับภาวะเงินเฟ้อในภายหน้า

บทสัมภาษณ์นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล จะปรากฏในรายงาน : ประเทศไทยปี 2012 รายงานล่าสุดของ โอบีจี ซึ่งเป็นคู่มือเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ และโอกาสในการลงทุน จัดทำร่วมกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) รายงานฉบับที่สามของโอบีจีในประเทศไทยยังนำเสนอรายละเอียดเป็นหมวดหมู่ให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติ ประกอบกับบทสัมภาษณ์ของผู้นำที่โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นผู้นำทางการเมือง เศรษฐกิจ และธุรกิจ รวมถึงบทสัมภาษณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุลได้เน้นเรื่องการดำเนินงานที่ประเทศไทยจะเปิดเสรีภาคธนาคารในแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับที่ 2 พร้อมกล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนาเปิดเสรีภาคธนาคารจะต้องพัฒนาไปพร้อมกับการกำหนดมาตรฐานในการทำธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ ที่เรียกว่า ASEAN Qualified Banks หรือ AQB ซึ่งจะเป็นการกำหนดมาตรฐาน การทำธุรกิจที่จะอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์จำนวนหนึ่งที่มีมาตรฐานในทุกประเทศ ของอาเซียนสามารถขยายการดำเนินธุรกิจไปยังประเทศอื่นๆในภูมิภาคได้

“ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ทางเราได้อนุญาตให้ธนาคารต่างชาติหลายแห่งเข้ามาและสามารถเข้ามาดำเนินธุรกิจแทนธนาคารท้องถิ่น อีกทั้งธนาคารต่างชาติหลายแห่งยังมีสาขาดำเนินการอยู่ที่ประเทศไทยแล้วด้วย” พร้อมกล่าว “หลังปี 2557 เราหวังว่ากลุ่มธนาคารพาณิชย์ ที่เรียกว่า ASEAN Qualified Banks หรือ AQB จะสามารถดำเนินการต่างๆและมีอำนาจให้การตัดสินใจได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายทั้งทวีปเอเชีย เรามีจุดประสงค์ที่จะสามารถดำเนินงานเปิดเสรีอย่างเต็มที่ทั่วทั้งอาเซียนภายในปี 2563

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล มีความเชื่อมั่นว่าเราจะสามารถขยายขอบเขตการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายเงินทุนไหลออกของประเทศไทยโดยที่ไม่ให้ส่งผลกระทบเสถียรภาพของระบบการเงินเรื่องค่าเงินบาทอ่อนลง พร้อมทั้งยังคงต้องประคองการเคลื่อนย?ายเงินทุนเข?าสุทธิอีกด้วย

พร้อมทั้งยังเน้นอีกว่า เงินทุนไหลเข้าจำนวนมากได้ก่อให้เกิดความเสี่ยงเช่นกัน รวมไปถึงการเพิ่มค่าของเงินในระบบอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจส่งผลกระทบด้านลบต่อการส่งออก “เงินทุนไหลเข้าก่อให้เกิดผลดีแต่ก็มักจะมากับการค่าใช้จ่ายอื่นๆเช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อเงินทุนไหลเข้ามีมากเกินไปเหมือนตอนปี2553 พร้อมทั้งกล่าวเสริม “วิธีที่ดีที่สุดคือการรวมหลายๆนโยบายเข้าด้วยกันในการส่งเสริมเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้าและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไปควบคู่กัน”

รายงาน : ประเทศไทยปี 2012 ทำการจัดพิมพ์ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ: BOI) รวมทั้งร่วมจัดทำรายงานกับบริษัทติลลิกีแอนด์กิบบินส์ บริษัทรับจัดทำและเป็นที่ปรึกษาทางด้านการบัญชีบีดีโอ และบริษัทหลักทรัพย์ธนชาต จำกัด (มหาชน)

รายงานที่จะเกิดขึ้นของโอบีจี ได้เตรียมพร้อมและทำการวิจัยในประเทศมากกว่าเก้าเดือน โดยทีมงานของนักวิเคราะห์จากโอบีจี รายงานฉบับนี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสสำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและเป็นแนวทางที่สำคัญในหลายแง่มุมของประเทศ รวมทั้งเศรษฐกิจมหภาค โครงสร้างพื้นฐาน การธนาคารและการพัฒนาภาคการผลิต นอกจากนี้ยังนำเสนอรายละเอียดเป็นหมวดหมู่ให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติ ประกอบกับบทสัมภาษณ์ของผู้นำที่โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นผู้นำทางการเมือง เศรษฐกิจ และธุรกิจ โดยรายงานฉบับนี้มีทั้งรูปแบบตีพิมพ์และออนไลน์

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมด้านข่าวประชาสัมพันธ์กรุณาติดต่อ

วารดี วสวานนท์

บริษัท สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด

อีเมล์ [email protected]

โทร. 02 653-2717-9

สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit